ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันสุขภาพตนเองจากควันบุหรี่ของสตรีตั้งครรภ์

ผู้แต่ง

  • อัจฉโรบล แสงประเสริฐ พย.ม., วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
  • จิราจันทร์ คณฑา พย.ม., วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
  • วิลาสินี บุตรศรี ส.ด., วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
  • พรวิไล คล้ายจันทร์ พย.ม., วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันสุขภาพตนเองจากควันบุหรี่, สตรีตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันสุขภาพตนเองจากควันบุหรี่ของสตรีตั้งครรภ์และปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันสุขภาพตนเองจากควันบุหรี่ของสตรีตั้งครรภ์

วิธีการศึกษา: แบบความสัมพันธ์เชิงทำนาย กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลประจำจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 161 ราย ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างเป็นระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติการถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐาน

ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันสุขภาพตนเองจากควันบุหรี่อยู่ในระดับปานกลาง (mean = 22.96, SD = 5.76) อายุของสตรีตั้งครรภ์ ระดับการศึกษา การรับรู้ความสามารถในการป้องกันสุขภาพตนเองจากควันบุหรี่ การรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันสุขภาพตนเองจากควันบุหรี่ การรับรู้อุปสรรคในการป้องกันสุขภาพตนเองจากควันบุหรี่ ทัศนคติต่อการป้องกันสุขภาพตนเองจากควันบุหรี่ สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันสุขภาพตนเองจากควันบุหรี่ของสตรีตั้งครรภ์ ได้ร้อยละ 54.9 (adjusted R2 = .543, F6,167 = 47.322, p < .001)

สรุป: สตรีตั้งครรภ์จะมีพฤติกรรมการป้องกันสุขภาพตนเองจากควันบุหรี่ พยาบาลผดุงครรภ์ควรสนับสนุนให้สตรีตั้งครรภ์ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ที่มีทัศนคติเชิงบวกกับการป้องกันสุขภาพตนเองจากควันบุหรี่ ร่วมกับส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง และการรับรู้อุปสรรคในการป้องกันสุขภาพตนเองจากควันบุหรี่ เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์เกิดแรงจูงใจที่จะปรับพฤติกรรมให้ถูกต้องเหมาะสมเพิ่มขึ้น

 

References

Ozpinar S, Demir Y, Yazicioglu B, et al. Pregnant women belief about third-hand smoke and exposure to tobacco smoke. Cent Eur J Public Health 2022:30(3):154–159. https://doi.org/10.21101/cejph.a7063

World Health Organization. WHO report on the global tobacco epidemic, 2023 protect people from tobacco smoke [internet]. 2023 [cited 2023 August 2]; Available from: URL: https://www.who.int/publications/i/item/9789240077164.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. การสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร พ.ศ. 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 2 สิงหาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: URL: https://www.trc.or.th/th/attachments/article/618/สถิติบุหรี่%202564.pdf

กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ. สถานการณ์การบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบตามเขตบริการสุขภาพ ในปี พ.ศ. 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 9 กันยายน 2566]; เข้าถึงได้จาก: URL: https://otpc.ddc.moph.go.th/screening/province/category/3

สำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจ. สศช. เปิดข้อมูลน่าตกใจ คนไทยตายจาก ‘ควันบุหรี่มือ 2’ 6,000 รายต่อปี ในปี พ.ศ. 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 9 กันยายน 2566]; เข้าถึงได้จาก: URL: https://www.bangkokbiznews.com/business/1007331

Tarasi B, Cornuz J, Clair C, et al. Cigarette smoking during pregnancy and adverse perinatal outcomes: a cross-sectional study over 10 years. BMC Public Health 2022; 22(1):2403. doi: 10.1186/s12889-022-14881-4.

Hamadneh SM, Al-Shdayfat N, Al-Omari O, et al. Sudden infant death syndrome in the middle east: An exploration of the literature on rates, risk factors, high risk groups and intervention programs. RJMS 2016;10(4):199–204.

Prince PM, Umman M, Fathima FN, et al. Secondhand smoke exposure during pregnancy and its effect on birth outcomes: Evidence from a retrospective cohort study in a tertiary care hospital in Bengaluru. Indian J Community Med 2021;46(1):102–6. doi:10.4103/ijcm.IJCM_464_20.

Sonthon P, Sonthon A. Association between secondhand smoke exposure in the home during pregnancy and low birth weight. Thai J Public Health 2021;51(2):92–100.

Yang Y, Zhang M, Bo H-X, et al. Secondhand smoking exposure and quality of life among pregnant and postnatal women: a network approach. BMJ Open 2022;12(9):e060635. doi:10.1136/bmjopen-2021-060635.

Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health promotion in nursing practice. 7th ed. Boston, MA: Pearson education; 2015.

Wahabi HA, Massis A, Fayed AA, et al. Effectiveness of health education in reducing secondhand smoke exposure among pregnant women visiting the antenatal clinic in Saudi Arabia: a randomized controlled trial. Indian J Public Health 2020;64(2):102–8. doi: 10.4103/ijph.IJPH_63_19.

นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์, ญาดา นภาอารักษ์. การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*POWER. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ 2562;5(1):496–507. doi: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/svittj/article/view/181958/136948

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย: คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.

กัลยา วานิชย์บัญชา. การวิเคราะห์สถิติ:สถิติเพื่อการตัดสินใจ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.

Best JW. Research in Education. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hell; 1997.

ปราณี หลำเบ็ญสะ. การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผล โครงการบริการวิชาการ ท่าสาบโมเดล [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 2 สิงหาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: URL: https://edu.yru.ac.th/evaluate/attach/1465551003_เอกสารประกอบการอบรม.pdf

เบญจวรรณ จันทรซิว, ทิพย์วรรณ บุณยาภรณ์, จารุวรรณ ศุภศรี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันควันบุหรี่มือสอง ของหญิงตั้งครรภ์ในจังหวัดตรัง. วารสารพยาบาล 2564;70(4):28–33.

ศิริวรรณ ผูกพันธ์, ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี, สุพิศ ศิริอรุณรัตน์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากควันบุหรี่ของหญิงตั้งครรภ์. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2564;32(1):76–89.

บุญชณัฎฐา พงษ์ปรีชา, จุฑารัตน์ รักประสิทธ์. พฤติกรรมและปัจจัยทำนายพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงควันบุหรี่มือสองในบ้าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท. วารสารควบคุมโรค 2564;47(2):257–66. doi: 10.14456/dcj.2021.23.

Hamadneh J, Hamadneh S, Amarin Z, et al. Knowledge, attitude and smoking patterns among pregnant women: a Jordanian perspective. Ann Glob Health 2021;87(1):36. doi: 10.5334/aogh.3279.

Mahmoodabad SSM, Karimiankakolaki Z, Kazemi A, et al. Self-efficacy and perceived barriers of pregnant women regarding exposure to second-hand smoke at home. J Educ Health Promot 2019;8:139. doi: 10.4103/jehp.jehp_334_18.

Kondrack AJ. Prevalence and patterns of cigarette smoking before and during early and late pregnancy according to maternal characteristics: the first national data based on the 2003 birth certificate revision, United States, 2016. Reprod Health 2019;16(1):142. doi: 10.1186/s12978-019-0807-5.

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30