ประสิทธิผลของการนวดไทย ร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพมาตรฐานต่อความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง: การวิจัยนำร่อง
คำสำคัญ:
โรคหลอดเลือดสมอง, นวดไทย, ฟ้นฟูสมรรถภาพ, การดูแลระยะกลาง, Barthel index, FMA, NIHSSบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการนวดไทย ร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพมาตรฐาน เทียบกับการฟื้นฟูสมรรถภาพมาตรฐานเพียงอย่างเดียว ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง โดยมีผลลัพธ์หลัก คือความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน ผลลัพธ์รอง คือ การฟื้นตัวของการทำงานแขนและขา และระดับความรุนแรงของโรค
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม และปกปิดผู้ประเมิน คัดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางที่มารับบริการแบบผู้ป่วยนอกที่แผนกเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 20 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง จำนวน 10 คน รักษาด้วยการนวดไทยร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพมาตรฐาน โดยแยกการรักษาอย่างละ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ รวมได้รับการรักษา 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และกลุ่มควบคุม จำนวน 10 คน รักษาด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพมาตรฐานเพียงอย่างเดียว จำนวน 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ทั้ง 2 กลุ่มได้รับการรักษาต่อเนื่องจนครบ 3 เดือน และประเมินด้วยแบบประเมิน Barthel index (BI); Fugl-Meyer motor assessment scale (FMA-motor); และ National Institute of Health Stroke Scale, Thai version (NIHSS-T) เปรียบเทียบก่อน และหลังการรักษา 3 เดือน
ผลการศึกษา: ข้อมูลพื้นฐานของผู้เข้าร่วมวิจัย ได้แก่ เพศ, อายุ, ชนิดของโรคหลอดเลือดสมอง, ข้างที่อ่อนแรง, คะแนน BI, FMA-motor, และ NIHSS-T ก่อนการรักษา ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เมื่อเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการรักษา 3 เดือน พบว่า ทั้ง 2 กลุ่ม ต่างมีคะแนน BI, FMA-motor เพิ่มขึ้น และมีคะแนน NIHSS-T ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงคะแนนของแบบประเมินทั้ง 3 เดือน ก่อนและหลังการรักษา พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในทุกแบบประเมิน
สรุป: การวิจัยนำร่องในครั้งนี้ ไม่พบหลักฐานว่า การนวดไทยร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพมาตรฐานดีกว่าการฟื้นฟูสมรรถภาพมาตรฐานเพียงอย่างเดียว ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดมากเพียงพอ เพื่อยืนยันผลการศึกษาที่แน่ชัดยิ่งขึ้น
References
สมศักดิ์ เทียมเก่า. สถานการณ์ โรคหลอดเลือดสมอง. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย 2564;37(4): 54–60.
สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ (สวค.). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย: การประเมินผลระบบการให้บริการการดูแลระยะกลาง (intermediate Care). นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กระทรวงสาธารณสุข; 2562.
คณะกรรมการพัฒนาแนวทางเวชปฏิบัติการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก เขตสุขภาพที่ 3. แนวทางเวชปฏิบัติการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกเขตสุขภาพที่ 3 [อินเทอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2566]; เข้าถึงได้จาก: URL: http://www.ppho.go.th/webppho/dl_strat/F20181018140227.pdf
มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ และโรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. หัตถเวชกรรมแผนไทย (การนวดไทยแบบราชสำนัก) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2: การนวดพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ศุภวินิชการพิมพ์; 2554.
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์การเลือก. คู่มือแนวทางเวชปฏิบัติ (clinical practice guideline) การดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (intermediate care) ด้านการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก. กรุงเทพมหานคร: สามเจริญพาณิชย์; 2564.
Thanakiatpinyo T, Suwannatrai S, Suwannatrai U, et al. The efficacy of traditional Thai massage in decreasing spasticity in elderly stroke patients. Clin Interv Aging 2014;9:1311–9. doi: 10.2147/CIA.S66416.
จิรายุ ชาติสุวรรณ, พรระวี เพียรผดุงรัชต์, อรุณพร อิฐรัตน์, และคณะ. เปรียบเทียบประสิทธิผลการทำกายภาพบำบัดกับการทำกายภาพบำบัดร่วมกับการนวดไทย ต่อความสามารถในการฟื้นฟูร่างกายและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมองตีบ. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2560;17(3):356–363.
van der Riet P, Maguire J, Dedkhard S, et al. Are traditional Thai therapies better than conventional treatment for stroke rehabilitation? A quasi-experimental study. Eur J Integr Med 2015;7(1):16–22. doi: 10.1016/j.eujim.2014.01.011
Cabanas-Valdés R, Calvo-Sanz J, Serra-Llobet P, et al. The effectiveness of massage therapy for improving sequelae in post-stroke survivors. A systematic review and meta-analysis. Int J Environ Res Public Health 2021;18(9):4424. doi: 10.3390/ijerph18094424.
Sibbritt D, van der Riet P, Dedkhard S, et al. Rehabilitation of stroke patients using traditional Thai massage, herbal treatments and physical therapies. Zhong Xi Yi Jie He Xue Bao 2012;10(7):743–50. doi: 10.3736/jcim20120704.
อรรัตน์ จันทร์เพ็ญ, ยศพล เหลืองโสมนภา, พาณี วสนาท, และคณะ. ผลของการฟื้นฟูตามโปรแกรมการผสมผสานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกต่อระดับกำลังกล้ามเนื้อและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2558;26:60–71.
Korjedee P, Wongtao C, Maungthaitut P. The effect of Thai massage on activities of daily living, anxiety and depress in stroke patients. J Nurs Sci Health 2019;42(2):106–14.
วิเชียร ชนะชัย. ประสิทธิผลและความปลอดภัยของการนวดแบบราชสำนักในการฟื้นฟูผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองตีบระยะกึ่งเฉียบพลัน ในหน่วยบริการสาธารณสุขภาครัฐ. สรรพสิทธิเวชสาร 2565;43(1):13–20.
Kasner SE, Chalela JA, Luciano JM, et al. Reliability and validity of estimating the NIH stroke scale score from medical records. Stroke 1999;30(8):1534–7. doi: 10.1161/01.str.30.8.1534.
Nilanont Y, Phattharayuttawat S, Chiewit P, et al. Establishment of the Thai version of national institute of health stroke scale (NIHSS) and a validation study. J Med Assoc Thai 2010;93(Suppl 1):S171–8.
ปิยะภัทร เดชพระธรรม, รัตนา มีนะพันธ์, ประเสริฐพร จันทร, และคณะ. ความน่าเชื่อถือของแบบประเมินบาร์เธลฉบับภาษาไทยในผู้ป่วยโรคอัมพาตหลอดเลือดสมอง. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2549;16(1):1–9.
Sullivan KJ, Tilson JK, Cen SY, et al. Fugl-Meyer assessment of sensorimotor function after stroke: standardized training procedure for clinical practice and clinical trials. Stroke 2011;42(2):427–32. doi: 10.1161/STROKEAHA.110.592766.
Heart and Stroke Foundation EBRSR. The Efficacy of Stroke Rehabilitation [Internet]. 2018 [cited 2023 Dec 1]; Available from: URL: http://www. ebrsr.com /evidence-review/5-efficacy-stroke-rehabilitation
Heart and Stroke Foundation EBRSR. Background concepts in stroke rehabilitation [Internet]. 2018 [cited 2023 Dec 1]; Available from: URL: http://www.ebrsr .com /evidence-review/3-background-concepts-stroke-rehabilitation
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์