ความชุกของแอลลีล HLA-B*58:01 ของผู้ป่วยในโรงพยาบาลราชบุรี

ผู้แต่ง

  • สุมงคล แตงกลับ พ.บ., โรงพยาบาลราชบุรี

คำสำคัญ:

แอลลีล HLA-B*58:01, ความชุก, อัลโลพูรินอล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของแอลลีล HLA-B*58:01 ในผู้ป่วยที่มารับบริการในโรงพยาบาลราชบุรี และศึกษาข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยที่มีผลตรวจแอลลีล HLA-B*58:01 เป็นบวกเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่มีผลตรวจแอลลีล HLA-B*58:01 เป็นลบ

วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบรวบรวมข้อมูลย้อนหลัง โดยศึกษาในผู้ป่วยที่มารับบริการในโรงพยาบาลราชบุรี และได้รับการตรวจเลือดเพื่อส่งตรวจหาแอลลีล HLA-B*58:01 ทุกราย ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 จนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยรวมถึงผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง และใช้โปรแกรมทางสถิติสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยโดยการระบุจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยการใช้วิธีทดสอบไคสแควร์

ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยในการศึกษาทั้งสิ้น 144 ราย อายุเฉลี่ย 62.2 ± 14.6 ปี มีผู้ป่วยตรวจพบ   แอลลีล HLA-B*58:01 ทั้งสิ้น 25 ราย คิดเป็นความชุกของแอลลีล HLA-B*58:01 ในผู้ป่วย ร้อยละ 17.4 และพบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ตรวจพบแอลลีล HLA-B*58:01 มีอายุมากกว่า มีค่าดัชนีมวลกายต่ำกว่า และมีภาวะกรดยูริกในเลือดสูงโดยไม่มีอาการ เป็นข้อบ่งชี้ในการใช้ยาอัลโลพูรินอล มากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ตรวจไม่พบแอลลีล HLA-B*58:01 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในทางตรงกันข้ามพบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ตรวจพบแอลลีล HLA-B*58:01 มีโรคเกาต์เป็นโรคร่วมและเป็นข้อบ่งชี้ในการใช้ยาอัลโลพูรินอล น้อยกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ตรวจไม่พบแอลลีล HLA-B*58:01 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป: ความชุกของผู้ป่วยที่มีแอลลีล HLA-B*58:01 ในผู้ป่วยที่มารับบริการในโรงพยาบาลราชบุรีอยู่ที่ ร้อยละ 17.4

References

สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคเกาต์: Guideline for management of gout. กรุงเทพมหานคร: สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย; 2555.

FitzGerald JD, Dalbeth N, Mikuls T, et al. 2020 American College of Rheumatology guideline for the management of gout. Arthritis Care Res (Hoboken) 2020;72(6):744–60.

doi: 10.1002/acr.24180.

ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ. เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2567. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 141, ตอนพิเศษ 53 ง. (วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2567).

ศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ประจำปี 2565 (Spontaneous report of adverse drug reaction 2022). กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2566.

Limkobpaiboon S, Panomvana Na Ayudhya D, Dhana N, et al. Prevalence and mortality rate of severe cutaneous adverse reactions at Siriraj Hospital. Chula Med J 2010;54(5):467–77.

Saksit N, Tassaneeyakul W, Nakkam N, et al. Risk factors of allopurinol-induced severe cutaneous adverse reactions in a Thai population. Pharmacogenet Genomics 2017;27(7):255–63. doi: 10.1097/FPC.0000000000000285.

Do MD, Mai TP, Do AD, et al. Risk factors for cutaneous reactions to allopurinol in Kinh Vietnamese: results from a case-control study. Arthritis Res Ther 2020;22(1):182. doi: 10.1186/s13075-020-02273-1.

Fricke-Galindo I, LLerena A, López-López M. An update on HLA alleles associated with adverse drug reactions. Drug Metab Pers Ther 2017;32(2):73–87. doi: 10.1515/dmpt-2016-0025.

Sukasem C, Puangpetch A, Medhasi S, et al. Pharmacogenomics of drug-induced hypersensitivity reactions: challenges, opportunities and clinical implementation. Asian Pac J Allergy Immunol 2014;32(2):111–23.

Tassaneeyakul W, Jantararoungtong T, Chen P, et al. Strong association between HLA-B*5801 and allopurinol-induced Stevens-Johnson syndrome and toxic epidermal necrolysis in a Thai population. Pharmacogenet Genomics 2009;19(9):704–9. doi: 10.1097/FPC.0b013e328330a3b8.

Nguyen DV, Vida C, Chu HC, et al. Validation of a rapid, robust, inexpensive screening method for detecting the HLA-B*58:01 allele in the prevention of allopurinol-induced severe cutaneous adverse reactions. Allergy Asthma Immunol Res 2017;9(1):79–84. doi: 10.4168/aair.2017.9.1.79.

Ke CH, Chung WH, Wen YH, et al. Cost-effectiveness analysis for genotyping before allopurinol treatment to prevent severe cutaneous adverse drug reactions. J Rheumatol 2017;44(6):835–43. doi: 10.3899/jrheum.151476.

Nakkam N, Konyoung P, Kanjanawart S, et al. HLA pharmacogenetic markers of drug hypersensitivity in a Thai population. Front Genet 2018;9:277. doi: 10.3389/fgene.2018.00277.

Saokaew S, Tassaneeyakul W, Maenthaisong R, et al. Cost-effectiveness analysis of HLA-B*5801 testing in preventing allopurinol-induced SJS/TEN in Thai population. PLoS One 2014;

(4):e94294. doi: 10.1371/journal.pone.0094294.

Sukasem C, Jantararoungtong T, Kuntawong P, et al. HLA-B (*) 58:01 for allopurinol-induced cutaneous adverse drug reactions: implication for clinical interpretation in Thailand. Front Pharmacol 2016;7:186. doi: 10.3389/fphar.2016.00186.

Gonzalez-Galarza FF, McCabe A, Santos EJ, et al. Allele*Frequencies in Worldwide Populations. B*58:01 Thailand [Internet]. 2024 [cited 2024 April 11]; Available from: URL: https://www.allelefrequencies.net/hla6006a.asp?hla_locus_type=Classical&hla_locus=&hla_allele1=B*58%3A01&hla_allele2=B*58%3A01&hla_selection=&hla_pop_selection=&hla_population=&hla_country=Thailand&hla_dataset=&hla_region=&hla_ethnic=&hla_study=&hla_order=order_1&hla_sample_size_pattern=equal&hla_sample_size=&hla_sample_year_pattern=equal&hla_sample_year=&hla_level_pattern=equal&hla_level=&standard=a&hla_show=

Puangpetch A, Koomdee N, Chamnanphol M, et al. HLA-B allele and haplotype diversity among Thai patients identified by PCR-SSOP: evidence for high risk of drug-induced hypersensitivity. Front Genet 2015;5:478. doi: 10.3389/fgene.2014.00478.

เผยแพร่แล้ว

2024-09-27