ผลการรักษาโรคเกล็ดเลือดต่ำจากภูมิคุ้มกันในเด็กในโรงพยาบาลราชบุรี
คำสำคัญ:
โรคเกล็ดเลือดต่ำจากภูมิคุ้มกันในเด็ก, ระยะเวลาตอบสนองต่อการรักษา, โรคเกล็ดเลือดต่ำจากภูมิคุ้มกันเรื้อรังบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการรักษาโรคเกล็ดเลือดต่ำจากภูมิคุ้มกัน (newly diagnosed immune thrombocytopenia; nITP) และอุบัติการณ์การเกิดโรคเกล็ดเลือดต่ำจากภูมิคุ้มกันเรื้อรัง (chronic ITP; cITP) ในผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ
วิธีการศึกษา: ศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนในผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยโรค nITP ที่มีอายุ 3 เดือน ถึง 15 ปี ในโรงพยาบาลราชบุรี ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรค nITP ทั้งหมด 86 ราย อายุมัธยฐาน 4 ปี 5 เดือน (0.3–13.3 ปี) เป็นเพศชายต่อเพศหญิง 1.3:1 มีปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรค ITP ได้แก่ การติดเชื้อร้อยละ 20.9 และการได้รับวัคซีน ร้อยละ 8.1 ส่วนใหญ่มีเลือดออกเล็กน้อยระดับ 1 ถึง 2 ร้อยละ 53.5 ค่ามัธยฐานปริมาณเกล็ดเลือดเมื่อแรกวินิจฉัย 7 x 109/ลิตร (2–98 x 109/ลิตร) ผู้ป่วยได้รับการรักษาต่างกันแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับการสังเกตอาการ (Observation) ร้อยละ 7; กลุ่มที่ได้รับเพรดนิโซโลนขนาด 1–2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน (Pred 2) ร้อยละ 20.9; กลุ่มที่ได้รับเพรดนิโซโลนขนาด 4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน (Pred 4) ร้อยละ 11.6; กลุ่มที่ได้รับเมทิลเพรดนิโซโลนแบบ pulse (MP) ร้อยละ 48.8; และกลุ่มที่ได้รับ intravenous immunoglobulin (IVIg) ร้อยละ 11.6; พบว่ากลุ่มที่ได้รับ IVIg ตอบสนองต่อการรักษาเร็วกว่ากลุ่ม Observation อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = .008) แต่ไม่พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่ม Observation กับกลุ่ม Pred 2, Pred 4, และ MP (p-value = .061, .487, และ .250 ตามลำดับ) เมื่อติดตามหลังการรักษา 1 ปี มีผู้ป่วย ร้อยละ 19.8 ได้รับการวินิจฉัยเป็น cITP โดยเป็นกลุ่ม Observation ร้อยละ 50, Pred 2 ร้อยละ 33.3, Pred 4 ร้อยละ 20, MP ร้อยละ 11.9, และ IVIg ร้อยละ 10 โดยไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = .079) ระหว่างกลุ่มรักษา
สรุป: ผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยโรค nITP มีระยะเวลาตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ แตกต่างกัน ผู้ที่ได้รับ IVIg มีแนวโน้มตอบสนองต่อการรักษาเร็วกว่าวิธีอื่น และอุบัติการณ์การเกิด cITP พบในผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการสังเกตอาการมากกว่ากลุ่มอื่น สามารถนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมมาปรับใช้ในผู้ป่วยที่มีสภาวะแตกต่างกันได้
References
คณะอนุกรรมการจัดทำแนวทางการรักษาโรค immune thrombocytopenia ในเด็ก. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการวินิจฉัยและรักษา โรคเกล็ดเลือดต่ำจากภูมิคุ้มกันในเด็ก. กรุงเทพมหานคร: สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย และราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย; 2562: 1–19.
Neunert CE. Management of newly diagnosed immune thrombocytopenia: can we change outcomes?. Blood Adv 2017;1(24):2295–7. doi: 10.1182/asheducation-2017.1.400.
Jung JY, O AR, Kim JK, et al. Clinical course and prognostic factors of childhood immune thrombocytopenia: single center experience of 10 years. Korean J Pediatr 2016;59(8):335–40. doi: 10.3345/kjp.2016.59.8.335
Neunert CE, Terrell DR, Arnold DM, et al. American society of hematology 2019 guidelines for immune thrombocytopenia. Blood Adv 2019;3(23):3829–66. doi: 10.1182/bloodadvances.2019000966.
Provan D, Arnold DM, Bussel JB, et al. Updated international consensus report on the investigation and management of primary immune thrombocytopenia. Blood Adv 2019;3(22):3780–817. doi: 10.1182/bloodadvances.2019000812.
Beck CE, Nathan PC, Parkin PC, et al. Corticosteroids versus intravenous immune globulin for the treatment of acute immune thrombocytopenic purpura in children: a systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. J Pediatr 2005;147(4):521–7. doi: 10.1016/j.jpeds.2005.04.032.
Pongtanakul B, Titaram Y, Vathana N, et al. Treatment outcomes of children with newly diagnosed immune thrombocytopenia in a tertiary care hospital. J Hematol Transfus Med 2019;29(3):223–30.
Haroun M, Afifi R, Habib N. Outcome of different treatment regimens used in newly diagnosed ITP pediatric patients. Gaz Egypt Paediatr Assoc 2018;66(2):39–42. doi:10.1016/j.epag.2018.04.001
Zafar H, Anwar S, Faizan M, et al. Clinical features and outcome in paediatric newly diagnosed immune thrombocytopenic purpura in a tertiary care centre. Pak J Med Sci 2018;34(5):1195–9. doi: 10.12669/pjms.345.15687
Akbayram S, Dogan M, Ustyol L, et al. The Clinical Outcome of 260 Pediatric ITP Patients in one center. Clin Appl Thromb Hemost 2011;17(6):E30–5. doi: 10.1177/1076029610379849.
ศุภสุตา ศรัทธาวิสุทธิ์, สมใจ กาญจนาพงศ์กุล. การศึกษาย้อยหลัง 12 ปีของโรค immune thrombocytopenic purpura (ITP) ในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต 2012;22(4):259–67.
Heitink-Polle KMJ, Uiterwaal CSPM, Porcelijn L, et al. Intraveneous immunoglobulin vs observation in childhood immune thrombocytopenia: a randomized controlled trial. Blood 2018;132(9):883–91. doi: 10.1182/blood-2018-02-830844.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์