ความชุกของเชื้อก่อโรคในผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่มีภาวะไข้ร่วมกับระดับเม็ดเลือดขาวต่ำหลังได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในโรงพยาบาลราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ปริวันท์ ศรีพัฒนธาดาสกุล พ.บ., โรงพยาบาลราชบุรี

คำสำคัญ:

ไข้และภาวะเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลต่ำ, มะเร็งในเด็ก, เชื้อก่อโรค, ยาเคมีบำบัด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของเชื้อก่อโรคในผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่มีภาวะไข้ร่วมกับระดับเม็ดเลือดขาวต่ำ (febrile neutropenia; FN) หลังได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในโรงพยาบาลราชบุรี

วิธีการศึกษา: ศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนของผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่อายุน้อยกว่า 15 ปี และมีภาวะ FN หลังจากการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565

ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็ง 92 คน และมีภาวะ FN จำนวน 195 เหตุการณ์ ส่วนใหญ่เกิดในผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือด ร้อยละ 92.8 พบสาเหตุจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะมากที่สุด ร้อยละ 22.5 รองลงมาเป็นการติดเชื้อในกระแสเลือด ร้อยละ 13.8 การติดเชื้อทางเดินหายใจ ร้อยละ 13.6 และการติดเชื้อทางเดินอาหาร ร้อยละ 11.8 จากการส่งเพาะเชื้อทั้งหมด 551 ตัวอย่าง พบเชื้อก่อโรค 220 ตัวอย่าง เป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ ร้อยละ 68.4 (Escherichiae coli ร้อยละ 24.5, Klebsiella pneumoniae ร้อยละ 23.1, และ Pseudomonas aeruginosa ร้อยละ 11.9); แบคทีเรียแกรมบวก ร้อยละ 31.6 (Enterococcus faecium ร้อยละ 31.8, Staphylococcus haemolyticus ร้อยละ 19.7, coagulase negative staphylococci ร้อยละ 12.1); และพบเชื้อรา ร้อยละ 5 ผลการรักษามีอัตราการเสียชีวิต ร้อยละ 12 และพบปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระยะเวลาไข้ร่วมกับเม็ดเลือดขาวต่ำนานเกิน 7 วัน (OR 5.3, 95% CI: 1.5–18.4, p-value = .03); ใส่สายสวนหลอดเลือดดำใหญ่ (OR 55.7, 95% CI: 6.9–452.5, p-value < .001); ใส่สายสวนปัสสาวะ (OR 9.5, 95% CI: 2.1–43.7, p-value = .004); ใส่ท่อช่วยหายใจ (OR 62.7, 95% CI: 13.8–285.4, p-value < .001); และเป็นผู้ป่วยกลุ่มความเสี่ยงสูง (OR 5.3, 95% CI: 1.5–18.4, p-value = .009)

สรุป: สาเหตุการติดเชื้อในผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งหลังการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและมีภาวะ FN พบการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะมากที่สุด รองลงมาเป็นการติดเชื้อในกระแสเลือด และการติดเชื้อทางเดินหายใจ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต ได้แก่ ระยะเวลาไข้ร่วมกับเม็ดเลือดขาวต่ำนานเกินกว่า 7 วัน ใส่สายสวนต่างๆ และเป็นผู้ป่วยกลุ่มความเสี่ยงสูง สามารถนำผลการศึกษามาปรับใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะ FN ให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

 

References

Freifeld AG, Bow EJ, Sepkowit KA, et al. Clinical practice guideline for the use of antimicrobial agents in neutropenic patients with cancer: 2010 update by the Infectious Diseases Society of America. Clin Infect Dis 2011;52(4):56–93. doi: 10.1093/cid/cir073.

Hakim H, Flynn PM, Knapp KM, et al. Etiology and clinical course of febrile neutropenia in children with cancer. J pediatr Hematol Oncol 2009;31(9):623–9. doi: 10.1097/MPH.0b013e3181b1edc6.

Sanpakit K, Phuakpet K, Veerakul G, et al. Evaluation of guideline for treatment of febrile neutropenia in pediatric cancer at Siriraj Hospital. J Med Assoc Thai 2005;88(Suppl.8):124–34.

Vathana N, Thitipolpun S, Buaboonnam J, et al. Prevalence of pathogens in pediatric cancer patients with febrile neutropenia. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2017;48(suppl2):151–60.

Roongpoovapatr P, Suankratay C. Causative Pathogens of Fever in Neutropenic Patients at King Chulalongkorn Memorial Hospital. J Med Assoc Thai 2010;93(7):776–83.

Wangirapan A, Natesirinilkul R, Thanarattanakorn P, et al. Bacteremia in oncologic pediatric patients with Febrile neutropenia at Chiang Mai University Hospital between 2007 and 2009. BSCM 2012;51(3):71–8.

El-Mahallawy H, Hai RA. Chemotherapy induced febrile neutropenia and its association with nosocomial bacteremia: risk factor and prognosis. J High Inst Public Health 2008; 38(4):818–34. doi: 10.21608/JHIPH.2008.20975

Cortés JA, Cuervo S, Gómez CA, et al. Febrile neutropenia in the tropics: a description of clinical and microbiological findings and their impact on inappropriate therapy currently used at an oncological reference center in Colombia. Biomédica 2013;33(1):70–7. doi: 10.1590/S0120-41572013000100009.

Wicki S, Keisker A, Aebi C, et al. Risk prediction of fever in neutropenia in children with cancer: a step towards individually tailored supportive therapy. Pediatr Blood Cancer 2008;51(6):778–83. doi: 10.1002/pbc.21726.

Techavichit P, Thangthong J, Anugulruengkitt S, et al. Predictive factors of severe adverse events in pediatric oncologic patients with febrile neutropenia. Asian Pac J cancer Prev 2020;21(12):3487–92. doi: 10.31557/APJCP.2020.21.12.3487.

Horasan ES, Ersoz G, Tombak A, et al. Bloodstream infections and mortality-related factors in febrile neutropenic cancer patients. Med Sci Monit 2011;17(5):304–9. doi: 10.12659/msm.881773.

เผยแพร่แล้ว

2024-09-27