การเกิดภาวะแทรกซ้อนเลือดออกหลังการผ่าตัดไซนัสด้วยกล้องเอ็นโดสโคปในผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง
คำสำคัญ:
โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง, การผ่าตัดไซนัสด้วยกล้องเอ็นโดสโคป, ภาวะแทรกซ้อนเลือดออกหลังผ่าตัดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: ศึกษาหาความชุกและปัจจัยเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนเลือดออกหลังการผ่าตัดไซนัสด้วยกล้องเอ็นโดสโคป ในผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง ตั้งแต่ พ.ศ. 2560–2566 ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา โดยใช้ข้อมูลจากการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังที่ได้รับการผ่าตัดไซนัสด้วยกล้องเอ็นโดสโคป ตั้งแต่ พ.ศ. 2560–2566 ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติในการวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์คือ odds ratio (OR) ด้วยวิธีของ Mantel-Haenszel และใช้ Fisher’s exact test ในการทดสอบสมมติฐาน
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังที่ได้รับการผ่าตัดไซนัสด้วยกล้องเอ็นโดสโคป ตั้งแต่ปี 2560–2566 ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 จำนวน 82 ราย พบผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนเลือดออกหลังการผ่าตัดที่ต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติมจำนวน 4 ราย ความชุกของการเกิดภาวะแทรกซ้อนเลือดออกหลังผ่าตัดไซนัสด้วยกล้องเอ็นโดสโคปในผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง ร้อยละ 4.9 ปัจจัยที่พบร่วมกับการเกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง, Lund-Mackay score ≥ 12, และริดสีดวงจมูก แต่ไม่พบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: ภาวะเลือดออกหลังผ่าตัดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดในการผ่าตัดไซนัสด้วยกล้องเอ็นโดสโคป จากการศึกษาพบความชุกของการเกิดภาวะแทรกซ้อนเลือดออกหลังผ่าตัดไซนัสด้วยกล้องเอ็นโดสโคปในผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังเท่ากับ ร้อยละ 4.9 ผู้ป่วยทุกรายได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมทันท่วงทีและไม่เกิดผลเสียร้ายแรงต่อผู้ป่วย
References
ปารยะ อาศนะเสน. การผ่าตัดโพรงจมูกและไซนัสด้วยกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscopic sinus surgery: ESS) [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 14 มีนาคม 2567]; เข้าถึงได้จาก: URL: https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=449
Halderman AA, Sindwani R, Woodard TD. Hemorrhagic complication of endoscopic sinus surgery. Otolaryngol Clin North Am 2015;48(5):783–93. doi: 10.1016/j.otc.2015.05.006.
May M, Levine HL, Mester SJ, et al. Complications of endoscopic sinus surgery: analysis of 2108 patients--incidence and prevention. Laryngoscope 1994;104(9):1080–3. doi: 10.1288/00005537-199409000-00006.
Hopkins C, Braune T, Slack R, et al. Complications of surgery for nasal polyposis and chronic rhinosinusitis: the results of a national audit in England and Wales. Laryngoscope 2006;116(8):1494–9. doi: 10.1097/01.mlg.0000230399.24306.50.
Siedek V, Pilzweger E, Betz C, et al. Complications in endonasal sinus surgery: a 5-year retrospective study of 2,596 patients. Eur Arch Otorhinolaryngol 2013;270(1):141–8. doi: 10.1007/s00405-012-1973-z.
Stankiewicz JA, Lal D, Connor M, et al. Complications in endoscopic sinus surgery for chronic rhinosinusitis: a 25-year experience. Laryngoscope 2011;121(12):2684–701. doi: 10.1002/lary.21446.
Ramakrishnan VR, Kingdom TT, Nayak JV, et al. Nationwide incidence of major complications in endoscopic sinus surgery. Int Forum Allergy Rhinol 2012;2(1)34–9. doi: 10.1002/alr.20101.
Fokkens WJ, Lund VJ, Hopkins C, et al. European position paper on rhino¬sinusitis and nasal polyps 2020. Rhinology 2020;58(Suppl S29):1–464. doi: 10.4193/Rhin20.600.
Wormald PJ. Endoscopic Sinus Surgery. 4th ed. New York: Thieme; 2018: 6–12.
Metson RB, Gliklich RE. Clinical outcomes in patients with chronic sinusitis. Laryngoscope 2000;110(3 Pt 3):24–8. doi: 10.1097/00005537-200003002-00007.
Chou T-W, Chen P-S, Lin H-C, et al. Multiple analyses of factors related to complications in endoscopic sinus surgery. J Chin Med Assoc 2016;79(2):88–92. doi: 10.1016/j.jcma.2015.11.001.
Suzuki S, Yasunaga H, Matsui H, et al. Complication rates after functional endoscopic sinus surgery: analysis of 50,734 Japanese patients. Laryngoscope 2015;125(8):1785–91. doi: 10.1002/lary.25334.
Koizumi M, Suzuki S, Matsui H, et al. Trends in complications after functional endoscopic sinus surgery in Japan: A comparison with a previous study (2007–2013 vs. 2013–2017). Auis Nasus Larynx 2020;47(5):814–9. doi: 10.1016/j.anl.2020.04.003.
Qin X, Sun Q, Chen G, et al. Risk factors for postoperative bleeding after endoscopic sinus surgery to treat chronic rhinosinusitis. Acta Otolaryngol 2021;141(4):392–6. doi: 10.1080/00016489.2021.1878276.
Hopkins C, Browne JP, Slack R, et al. The Lund-Mackay staging system for chronic rhinosinusitis: how is it used and what does it predict? Otolaryngol Head Neck Surg 2007;137(4):555–61. doi: 10.1016/j.otohns.2007.02.004.
Mortuaire G, Bahij J, Maetz B, et al. Lund-Mackay score is predictive of bleeding in ethmoidectomy for nasal polyposis. Rhinology 2008;46(4):285–8.
Asaka D, Nakayama T, Hama T, et al. Risk factor for complication of endoscopic sinus surgery for chronic rhinosinusitis. Am J Rhinol Allergy 2012;26(1):61–4. doi: 10.2500/ajra.2012.26.3711.
Orlandi RR, Lanza DC. Is nasal packing necessary following endoscopic sinus surgery? Laryngoscope 2004;114(9):1541–4. doi: 10.1097/00005537-200409000-00007.
Van Aken H, Miller ED. Deliberate Hypotension. In: Miller RD, ed. Anesthesia Vol.2. New York, NY: Churchill livingstone; 1994: 1481–503.
Wormald PJ, van Renen G, Perks J, et al. The effect of the total intravenous anesthesia compared with inhalational anesthesia on the surgical field during endoscopic sinus surgery. Am J Rhinol 2005:19(5):514-520.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์