ความชุกและการวิเคราะห์ปัจจัยของการเกิดรอยโรคในช่องปากโดยใช้ PRECEDE Model ในเด็กปฐมวัยโรงเรียนอนุบาลสังขละบุรี อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • เมธ์ ชวนคุณากร ท.บ., โรงพยาบาลสังขละบุรี

คำสำคัญ:

รอยโรคในช่องปาก, เด็กปฐมวัย, PRECEDE Model, ปัจจัยนำ, ปัจจัยเสริม, ปัจจัยเอื้อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยการเกิดรอยโรคในช่องปากในเด็กปฐมวัยโดยใช้ PRECEDE Model              

วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบภาคตัดขวาง                                                                      ผลการศึกษา: พบรอยโรคในช่องปากในเด็ก 86 คน (ร้อยละ 47.5) ลิ้นมีฝ้าขาวบาง ร้อยละ 17.6 ลิ้นมีฝ้าขาวหนา ร้อยละ 15.5 ลิ้นแผนที่และลิ้นผิวเรียบอย่างละ ร้อยละ 3.4 และอื่นๆ ผู้ปกครองที่มีความรู้สูง ผู้ที่มีรายได้พอเพียง-มีเหลือเก็บ/ไม่เหลือเก็บ จะพบรอยโรคในช่องปากเด็กต่ำกว่ากลุ่มที่มีความรู้ปานกลาง/ต่ำและมีรายได้ไม่พอเพียง-มีหนี้สินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เด็กหญิงพบรอยโรคได้มากกว่าเด็กชาย และเด็กที่ชอบกินเครื่องดื่มรสหวานพบรอยโรคในช่องปากมากกว่าเด็กที่ไม่ชอบกิน ส่วนปัจจัยนำอื่นๆ ของผู้ปกครอง คือ เพศ อายุ ความสัมพันธ์กับเด็ก อาชีพ ระดับการศึกษา ปัจจัยนำของเด็กคือ อายุ การเจ็บป่วยในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา โรคประจำตัว พฤติกรรมการกินขนมหวาน (ประเภทแป้ง ประเภทที่อมน้ำตาลอยู่ในปากหลายนาที ประเภทติดร่องฟันง่าย) การชอบกินผักผลไม้ และการแปรงฟัน ปัจจัยเสริมคือ ช่องทางการรับความรู้ข้อมูลข่าวสารสุขภาพช่องปาก และปัจจัยเอื้อคือ การตรวจฟันโดยผู้ปกครองและการรับบริการทันตกรรม ปัจจัยเหล่านี้ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดรอยโรคช่องปาก                                                             

สรุป:  การบริโภคเครื่องดื่มรสหวานทุกประเภท และเพศหญิง มีความเสี่ยงต่อการเกิดรอยโรคในช่องปาก

References

de Arruda JAA, Silva LVO, Kato CNAO, et al. A multicenter study of malignant oral and maxillofacial lesions in children and adolescents. Oral Oncol 2017;75(1):39–45. doi: 10.1016/j.oraloncology.2017.10.016.

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการส่งเสริมคุณภาพสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านสุขภาพ (4D) ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564]; เข้าถึงได้จาก: URL: https://nich.anamai.moph.go.th/th/childhood-development2/download?id=85762&mid=36768&mkey=m_document&lang=th&did=27745. 3. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. คู่มือแนวทางการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก ภายใต้วิถีชีวิตใหม่ (New nomal). กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2563.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. รอยโรคในช่องปาก สัญญาณอันตราย [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 11 มกราคม 2564]; เข้าถึงได้จาก: URL: https://www.thaihealth.or.th/รอยโรคในช่องปาก-สัญญาณอ/.

Mortazavi H, Safi Y, Baharvand M et al. Peripheral exophytic oral lesions: a clinical decision tree. Int J Dent 2017;17(5):1–19. doi:10.1155/2017/9193831.

Fuoad SAA, Shatty SR. Oral mucosal lesions in children. Inter Ped Dent Open Acc 2018;1(1): 12–4. doi: 10.32474/IPDOAJ.2018.01.000103

Yao H, Song Q, Zhang Q, et al. Prevalence of oral mucosal lesions in children in Xiangyun of Yunnan, China: a cross-sectional study. Ital J Pediatr 2022;48(1):1–7. doi: 10.1186/s13052-022-01209-6 8. Zahid E, Bhatti O, Zahid MA, et al. Overview of common oral lesions. Malays Fam Physician 2022;17(3):9–21. doi: 10.51866/rv.37

Aleksijević LH, Prpic J, Urek MM, et al. Oral mucosal lesions in childhood. Dent J (Basel) 2022; 10(11):214. doi: 10.3390/dj10110214

World Health Organization. ICD-10 version:2019 [internet]. 2019 [cited 2021 January 11]; Available from: URL: https://icd.who.int/browse10/2019/en#/XI

Bettegaa PVC, Navarro LB, Bendo CB, et al. Oral lesions of higher clinical frequency in children – literature review. RFO-POA 2019;60(2):66–82. doi: 10.22456/2177-0018.90274

González-Álvarez L, García-Pola MJ, Garcia-Martin JM. Geographic tongue: predisposing factors, diagnosis and treatment. A systematic review. Rev Clin Esp (Barc) 2018;218(9):481–8. doi: 10.1016/j.rce.2018.05.006

Erriu M, Pili FMG, Cadoni S, et al. Diagnosis of lingual atrophic conditions: associations with local and systemic factors. A descriptive review. Open Dent J 2016;10:619–35.

doi: 10.2174/1874210601610010619

สถาบันพัฒนาอนามัยแห่งชาติ กรมอนามัย. คู่มือการพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านสุขภาพ (4D) ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. 2564 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2564]; เข้าถึงได้จาก: URL: https://nich.anamai.moph.go.th/th/kpi65/download?id=96185&mid=36391&mkey=m_document&lang=th&did=29659 .

นรลักขณ์ เอื้อกิจ, ลัดดาวัลย์ เพ็ญศรี. การประยุกต์ใช้แนวคิด PRECEDE MODEL ในการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2562;12(1):38–48.

TSIS Team. การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูป [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563]; เข้าถึงได้จาก: URL: https://www.thetsis.com/post/research-tips-sampling

ปาริฉัตร ถาวรวงษ์. พฤติกรรมการดูแลช่องปากของผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสุขภาพและการศึกษา 2564;1(2):69–82.

ณัฐธิดา พันพะสุก, อัชชาวดี สักกุนัน, อรวรรณ นามมนตรี, และคณะ. การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครองกับสภาวะสุขภาพช่องปาก เด็ก 3–5 ปี ในอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตภิบาล 2561;29(2):13–26.

กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจ สภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร: สามเจริยพาณิชย์; 2561.

กองบรรณาธิการ นิตยสารฉลาดซื้อ. ผลทดสอบปริมารพลังงาน น้ำตาล และข้อมูลโภชนาการอื่นๆ ในเครื่องดื่ม “ชานมไข่มุก”. ฉลาดซื้อ [นิตยสารออนไลน์] 2562 [วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564]; 220. เข้าถึงได้จาก: URL: https://www.chaladsue.com/article/3171.

Van der Waal I. Potentially malignant disorders of the oral and oropharyngeal mucosa; terminology, classification and present concepts of management. Oral Oncol 2009;45(4–5):317–323. doi: 10.1016/j.oraloncology.2008.05.016.

Damm DD, Bouquot JE, Neville B, et al. Oral & maxillofacial pathology. 2nd ed. Philadelphia: W.B. Saunders; 2001: 677–9.

เจียรไน ตั้งติยะพันธ์, นิตยา เพ็ญศิรินภา, ธีระวุธ ธรรมกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับบริการส่งเสริมสุขภาพช่องปากกับพฤติกรรมทันตสุขภาพและฟันผุในเด็กอายุ 2–3 ปี อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2561;23(2):28–37.

เผยแพร่แล้ว

2024-09-27