ปัจจัยทำนายความเสี่ยงการเกิดโรค NCDs (โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง) ของผู้รับบริการกลุ่มวัยทำงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี
คำสำคัญ:
โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, ปัจจัยทำนาย, กลุ่มวัยทำงานบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงของผู้รับบริการกลุ่มวัยทำงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง (retrospective analytic study) โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากเวชระเบียนโรงพยาบาลของผู้รับบริการกลุ่มวัยทำงานที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2566 จำนวน 1,342 คน นำเสนอข้อมูลเป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลและทำนายความเสี่ยงการเกิดโรค NCDs (โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง) ด้วยสถิติอ้างอิง ได้แก่ t test independent และ chi-square test และเปรียบเทียบสัดส่วน ความเสี่ยง (odds ratio) ระหว่างกลุ่มที่เกิดกับไม่เกิดโรค NCDs ด้วยการวิเคราะห์ binary logistic regression
ผลการศึกษา: กลุ่มผู้รับบริการกลุ่มวัยทำงานมีอายุเฉลี่ย 43.69 ปี เป็นเพศชาย ร้อยละ 23.8 เพศหญิง ร้อยละ 76.2 ค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ยที่ 24.17 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ระดับค่าความดันโลหิตซิสโทลิก เฉลี่ยเท่ากับ 120.37 มิลลิเมตรปรอท ระดับค่าความดันโลหิตไดแอสโทลิก เฉลี่ยเท่ากับ 73.14 มิลลิเมตรปรอท ทั้งนี้ผู้รับบริการกลุ่มวัยทำงานส่วนใหญ่มีพฤติกรรมไม่ออกกำลังกาย ร้อยละ 96.6 มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ ร้อยละ 2.5 และมีพฤติกรรมการดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ร้อยละ 3.7 ผลการวิเคราะห์ พบว่า 1) ปัจจัยทำนายความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานของผู้รับบริการกลุ่มวัยทำงาน ประกอบด้วย 4 ปัจจัย คือ อายุ (OR = 1.107, p < .001), ดัชนีมวลกาย (OR = 1.182, p < .001), ระดับค่าความดันโลหิตซิสโทลิก (OR = 1.028, p = .033), และพฤติกรรมการออกกำลังกาย ได้แก่ พฤติกรรมไม่ออกกำลังกาย (OR = 12.657, p < .001), และพฤติกรรมออกกำลังกายเป็นบางครั้ง (OR = 8.337, p = .013); 2) ปัจจัยทำนายความเสี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตสูงของผู้รับบริการกลุ่มวัยทำงาน ประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ อายุ (OR = 1.128, p < .001), ดัชนีมวลกาย (OR = 1.097, p < .001) และระดับความดันโลหิต ได้แก่ ระดับค่าความดันโลหิตซิสโทลิก (OR = 1.061, p < .001) และ ระดับค่าความดันโลหิตไดแอสโทลิก (OR = 1.031, p = .022); และ 3) ปัจจัยทำนายความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงของผู้รับบริการกลุ่มวัยทำงาน ประกอบด้วย 4 ปัจจัย คือ อายุ (OR = 1.161, p < .001), ดัชนีมวลกาย (OR = 1.237, p < .001), ระดับค่าความดันโลหิตซิสโทลิก (OR = 1.057, p = .004), และพฤติกรรมการออกกำลังกาย ได้แก่ พฤติกรรมไม่ออกกำลังกาย (OR = 17.184, p < .001) และพฤติกรรมออกกำลังกายเป็นบางครั้ง (OR = 13.035, p = .037)
สรุป: อายุ ดัชนีมวลกาย ระดับค่าความดันโลหิต และพฤติกรรมการออกกำลังกาย สามารถทำนายความเสี่ยงการเกิดโรค NCDs (โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง) ในผู้รับบริการกลุ่มวัยทำงานได้
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.
เพชราพร วุฒิวงศ์ชัย, กัณฑพล ทับหุ่น, สุธาทิพย์ ภัทรกุลวณชย์, บรรณาธิการ. แนวทางชุมชนลดเสี่ยงลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (CBI NCDs) ขององค์กรปกครองส่งท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: อีโมชั่น อ๊าด; 2562.
ทิพมาส ชิณวงศ์. การจัดการรายกรณีผู้ที่เป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชน. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2560;30(1):148–157.
กมลาศ ทองมีสิทธิ์ โยสท์, จิตนภา วาณิชวโรตม์, กฤษณา ตรียมณีรัตน์. พัฒนารูปแบบการให้บริการวิถีใหม่ สำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (เบาหวานและความดันโลหิตสูง) [รายงานฉบับสมบูรณ์].นนทบุรี: สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2565.
กฤษดา ธีรวรชัย, ธรรมรัฐ ต่อพิพัฒน์, นงลักษณ์ ก่อวรกุล, และคณะ. รูปแบบการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) สำหรับส่งเสริมสุขภาพประชาชนเพื่อรองรับ Covid - 19 อย่างมีส่วนร่วม: กรณีศึกษา กลุ่มวัยทำงานในสถานประกอบการ [วิทยานิพนธ์ประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์สำหรับผู้บริหารระดับสูง]. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกกล้า; 2563.
อังศินันท์ อินทรกำแหง. การประเมินและการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและสุขภาวะครอบครัว กลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง: การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุทางวัฒนธรรมของ พฤติกรรมสุขภาพและโปรแกรมจิตวิทยาเชิงบวกและความรอบรู้ด้านสุขภาพ [รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์].กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2561.
นิพพาภัทร์ สินทรัพย์, จิณวัตร จันครา, บุปผา ใจมั่น. โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ: เพชฌฆาตเงียบที่ควรตระหนัก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2560;28(1):100–1.
ตวงพร พิกุลทอง, ภัทรพล มากมี. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของผู้ที่มีความเสี่ยง ในอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต]. คณะสาธารณสุขศาสตร์. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564
กระทรวงสาธารณสุข. กลุ่มรายงานมาตรฐานการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2567]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://hdcservice.moph.go.th
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566. กรุงเทพมหานคร: ศรีเมืองการพิมพ์; 2566.
แสงวุตร พรมมหา. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวานเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงหมอเมืองบ่อแตน แขวงไชยบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว[วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์; 2564
รณิตา เตชะสุวรรณา, สุทัศน์ โชตนะพันธ์, กนิษฐา จำรูญสวัสดิ์, และคณะ. ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่สองในไทย. วารสารควบคุมโรค 2563;46(3):268–277.
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. เชียงใหม่: ทริคธิงค์; 2562.
วิไลวรรณ คมขำ, กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม, นพนัฐ จำปาเทศ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงที่มีระดับความเสี่ยงสูงในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2566;5(2):44–56.
ศรีพร รอดแก้ว, อรทัย นนทเภท, เรวดี เพชรศิราสัณห์. ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกายกับความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2564;32(2):120–30.
พรพันธ์ เฉลิมรัมย์, แสวง วัชระธนกิจ. อุบัติการณ์การเกิดโรคเบาหวานในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารเภสัชกรรมไทย 2563;12(3):677–85.
ขวัญหทัย ไตรพืช, พรทิพย์ มาลาธรรม, ขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ, และคณะ. การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2553;16(2):259–78.
เสาวลักษณ์ ทาแจ้ง, จุฑารัตน์ เสาวพันธ์, รุ่งระวี ถนอมทรัพย์. การทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการลดการสัมผัสควันบุหรี่ สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 2 เรื่อง การวิจัย 4.0 เพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน; 26–27 กรกฎาคม พ.ศ. 2560; มหาวิทยาลัยราชธานี.อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี; 2560
Tasnim S, Tang C, Musini VM, et al. Effect of alcohol on blood pressure. Cochrane Database Syst Rev 2020;7(7):CD012787. doi: 10.1002/14651858.CD012787.pub2.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์