การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานแก้ไขปัญหาสาเหตุการตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองในจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • กิตติพงษ์ อยู่สุวรรณ พ.บ., สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การดำเนินงานแก้ไขปัญหาการตาย, โรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์แบบแผนและแนวโน้มการตายก่อนวัยอันควรด้วยโรคหลอดเลือดสมองของประชากรในจังหวัดสุพรรณบุรี และพัฒนารูปแบบการดำเนินงานแก้ไขปัญหาสาเหตุการตายด้วยโรคหลอดเลือดสมอง

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ตามกระบวนการ PAOR (planning, action, observation, reflection) โดยขั้นตอน (1) การวางแผน (P) เป็นการศึกษาเชิงปริมาณใช้ข้อมูลทุติยภูมิ จากทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทย และกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2557–2566 เพื่อศึกษาแบบแผนและแนวโน้มการตายก่อนวัยอันควรด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และการศึกษาเชิงคุณภาพใช้การระดมสมอง เพื่อค้นหาปัญหาและสภาพการดำเนินงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแนวคำถามแบบกึ่งมีโครงสร้าง (2) ขั้นปฏิบัติการ (A) เป็นการกำหนดรูปแบบวิธีการแก้ไขปัญหาโดยการอภิปรายกลุ่ม เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานโดยประยุกต์ตัวแบบระบบสุขภาพโลกขององค์การอนามัยโลก ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเดียวกันกับขั้นตอนการวางแผน จากนั้นนำตัวแบบไปใช้ในพื้นที่นำร่อง อำเภอเดิมบางนางบวช (3) การสังเกตการณ์ (O) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการปฏิบัติงาน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสังเกต และแบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบที่พัฒนาขึ้น และ (4) การสะท้อนผลการปฏิบัติ (R) ผู้วิจัย ผู้รับผิดชอบงาน และร่วมกับทีมปฏิบัติการประเมินผลการดำเนินงาน และสะท้อนความคิดเห็นต่อรูปแบบที่ดำเนินงาน สถิติที่ใช้เป็นสถิติเชิงพรรณนา แบบจำลองตารางชีพ การวิเคราะห์จำนวนปีที่สูญเสียจากการตายก่อนวัยอันควร และการวิเคราะห์เนื้อหา         

ผลการศึกษา: 1) แบบแผนและแนวโน้มการตายก่อนวัยอันควรด้วยโรคหลอดเลือดสมองพบอัตราตายมีแนวโน้มสูงขึ้น สัดส่วนการตายในเพศชายมากกว่าหญิง การตายเริ่มมีแนวโน้มพบในกลุ่มอายุน้อย ผลจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรทำให้อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดลดลง 1.06 ปี และจำนวนปีที่สูญเสียจากการตายก่อนวัยอันควรเพิ่มขึ้น และ 2) ตัวแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย (1) ด้านรูปแบบบริการ เน้นการสร้างความรอบรู้ การคัดกรองให้ครอบคลุม และการพัฒนาระบบบริการให้สอดคล้องกับปัญหา (2) ด้านบุคลากร เน้นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องในทุกระดับเน้นเนื้อหาตามบริบทของปัญหา (3) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดให้มีฐานข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลเพียงพอต่อการนำไปใช้วางแผนแก้ไขปัญหา (4) การเข้าถึงยาและบริการที่จำเป็น จัดให้มีแนวปฏิบัติเกี่ยวกับ stroke alert, stroke fast track, fast pass, EMS 1669, 24 hour consulting system, และระบบ refer back (5) ระบบการเงินการคลัง จัดให้มีแผนงบลงทุนที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาระบบริการ และ (6) ภาวะผู้นำและการอภิบาลระบบ จัดให้แผนการควบคุมกำกับติดตามและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยผลลัพธ์จากการดำเนินงานส่งผลให้จำนวนผู้ป่วย hemorrhage stroke ลดลง อัตราการเข้าถึงบริการ stroke ภายใน 2 ชั่วโมงเพิ่มขึ้น และอัตราการเข้าถึงยา rt-PA ภายใน 60 นาที เป็นร้อยละ 100

สรุป: รูปแบบการดำเนินงานแก้ไขปัญหาสาเหตุการตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองจังหวัดสุพรรณบุรีที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้จริงในพื้นที่ โดยสามารถลดการป่วยและเสียชีวิตจาก hemorrhage stroke ได้ และประชาชนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานในระดับมากที่สุด

References

The World Bank Group. "Life expectancy at birth, total" [Internet].

[cited 2024 June 29]; Available from: URL: https://databank.worldbank.org/source/world-development-indicators/Series/SP.DYN.LE00.IN.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด พ.ศ. 2553–2566 ข้อมูลสถิติและตัวชี้วัดที่สำคัญ

[อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 15 สิงหาคม 2567]; เข้าถึงได้จาก URL:

https://www.nso.go.th/nsoweb/nso/statistics_and_indicators?impt_branch=300.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ

พ.ศ. 2561. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2561: 15–6.

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. “การสูญเสียปีสุขภาวะ” รายงานภาระโรคและการ

บาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2562. นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ แผนงาน พัฒนาดัชนีภาระโรคแห่งประเทศไทย; 2566.

National Heart, Lung, and Blood Institute (NHLBI). Stroke. Health topics [Internet].

[cited 2024 July 29]; Available from: URL: https://www.nhlbi.nih.gov/health/stroke/causes.

กนกศรี สมินทรปัญญา. สาเหตุการเสียชีวิตของโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย 2564;37(3):6–14.

Yuan MZ, Li F, Fang Q, et al. Research on the cause of death for severe stroke patients. J Clin Nurs 2018;27(1–2):450–60. doi: 10.1111/jocn.13954.

สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ . 29 ต.ค. วันหลอดเลือดสมองโลก ร่วมมือกันป้องกัน ลดเสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาต [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 15 สิงหาคม 2567]; เข้าถึงได้จาก URL:

https://ddc.moph.go.th/odpc11//news.php?news=38037&deptcode=odpc11.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. เอกสารสรุปการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ ระดับ

กระทรวงสาธารณสุข รอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2567. สุพรรณบุรี: กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข; 2567.

Kemmis S, McTaggart R. The action research planer. 3rded. Victoria: Deakin University;

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ระบบฐานข้อมูลการเกิด-ตาย ณ วันที่

ธันวาคม 2566 [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 15 สิงหาคม 2567]; เข้าถึงได้จาก URL:

https://deathbirthrepo.dcs.moph.go.th/login.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข 2565 [อินเทอร์เน็ต].

[เข้าถึงเมื่อ วันที่ 15 สิงหาคม 2567]; เข้าถึงได้จาก URL:

https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2023/11/Hstatistic65.pdf

ขนิษฐา กู้ศรีสกุล, ณัฐพัชร์ มรรคา, กนิษฐา บุญธรรมเจริญ. การศึกษาสถานการณ์และพยากรณ์การตายก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อตามเป้าหมายระดับโลก พ.ศ. 2543–2573. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2566;17(2):228–41.

นิรันตา ไชยพาน, สุจิตรา บุญกล้า, กฤษกร คนหาญ, และคณะ, บรรณาธิการ. คู่มือกระบวนการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: อาร์ เอ็น พี พี วอเทอร์ จำกัด; 2564.

นฤมล ละครสี. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอด

เลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะเสี่ยงสูง. วารสารสหเวชศาสตร์และสุขภาพชุมชน 2567;

(1):44–58.

ฐาวรัตน์ ภู่ทัศนะ. ผลของการพัฒนาทักษะการประเมินอาการโรคหลอดเลือดสมองของอาสาสมัคร

สาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อการเข้าถึงระบบบริการ Stroke fast track ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง.

วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน 2567;9(1):690–8.

รัฐพล เวทสรณสุธี, จริยา ละมัยเกศ. ผลของการพัฒนาระบบ GPS mapping เพื่อการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง stroke and STEMI ของจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 ราชบุรี 2563;4(2):66–78.

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

1.
อยู่สุวรรณ ก. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานแก้ไขปัญหาสาเหตุการตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองในจังหวัดสุพรรณบุรี. Reg 4-5 Med J [อินเทอร์เน็ต]. 27 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 10 เมษายน 2025];43(4):513-28. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/272879