การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมหลังการผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านม โดยใช้เนื้อเยื่อตัวเองในโรงพยาบาลพระจอมเกล้า

ผู้แต่ง

  • กรันต์ ยะโสธร พ.บ., โรงพยาบาลพระจอมเกล้า

คำสำคัญ:

การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมหลังผ่าตัดเอาเต้านมออกด้วยเนื้อเยื่อตนเอง, แผ่นเนื้อเยื่อปะปลูก (flap), transverse rectus abdominis musculocutaneous flap (TRAM flap), latissimus dorsi flap (LD flap)

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์: 1) เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมามีเต้านมเหมือนธรรมชาติมากที่สุด 2) มีสรีระเหมือนสตรีทั่วไป สามารถแต่งกายได้ปกติ 3) มีสภาพจิตใจดี ไม่วิตกกังวลว่าร่างกายตัวเองผิดปกติ 4) การปิดด้วยแผ่นเนื้อปะปลูก (flap) ทำให้ทนทานต่อการฉายแสง ผลการรักษาดี มีผลข้างเคียงน้อย 5) ลดภาระผู้ป่วยในการส่งต่อไปรักษาในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ 6) ไม่ต้องใส่เต้านมเทียม (ซิลิโคน) เพื่อช่วยในด้านสรีระร่างกาย

          วิธีการศึกษา: วิธีการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมที่ถูกนำมาใช้มี 2 วิธี ได้แก่ การใช้กล้ามเนื้อไขมันหน้าท้อง transverse rectus abdominis musculocutaneous flap (TRAM flap) และการใช้กล้ามเนื้อไขมันด้านหลัง latissimus dorsi flap (LD flap)

          ผลการศึกษา: พบว่าจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทั้งหมด 10 ราย รักษาผ่าตัดด้วยวิธี transverse rectus abdominis musculocutaneous flap (TRAM flap) เป็นจำนวน 7 ราย อีก 3 ราย ทำการรักษาผ่าตัดด้วยวิธี latissimus dorsi muscle flap (LD flap) ค่าเฉลี่ยอายุอยู่ในช่วง 36.5 ปี (ช่วงอายุ 29–46 ปี) มี 2 ราย ที่ขอบแผลมีชั้นผิวหนังตาย (skin gangrene) พบใน TRAM flap และพบว่า TRAM flap ให้ปริมาตรและรูปทรงเต้านมได้ดีกว่า LD flap ผู้ป่วยทั้งหมดไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่แผลบริเวณที่สร้างเต้านมซึ่งเป็นบริเวณที่ถูกฉายแสง

          สรุป: การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการริเริ่มการผ่าตัดสร้างเต้านมด้วยเนื้อเยื่อตนเองเป็นครั้งแรกในโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยและโรงพยาบาลทำให้การผ่าตัดรักษาด้านศัลยกรรมตกแต่ง ได้พัฒนาเป็นในแนวทางที่ดียิ่งขึ้น

References

McCraw JB. Perforator flaps: anatomy, technique, and clinical application. Plast Reconstr Surg 2006;118:552–3.

Slavin SA, Goldwyn RM. The midabdominal rectus abdominis myocutaneous flap: review of 236 flaps. Plast Reconstr Surg 1988;81(2):189–99. doi: 10.1097/00006534-198802000-00008.

Maxwell GP. Breast reconsrtuction following mastectomy and surgical management of the patient with high-risk breast disease. In: Grabb WC, Smith JW, editor. Grabb and Smith's Plastic surgery. 5th ed. Raven, Philadelphia-New York: Lippincott Williams & Wilkins; 1997. 763–54.

Hallock GG. Doppler sonography and color duplex imaging for planning a perforator flap. Clin Plast Surg 2003;30(3):347–57. doi: 10.1016/s0094-1298(03)00036-1.

Quillen CG, Shearin Jr JC, Georgiade NG. Use of the latissimus dorsi myocytaneous island flap for reconstruction in the head and neck area: case report. Plast Reconstr Surg 1978;62(1):113–7. doi: 10.1097/00006534-197807000-00028.

Al Talalwah W. A new concept and classification of corona mortis and its clinical significance. Chinese J Traumatol 2016;19:251–4.

Whetzel TP, Huang V. The vascular anatomy of the tendinous intersections of the rectus abdominis muscle. Plast Reconstr Surg 1996;98(1):83–9. doi: 10.1097/00006534-199607000-00013.

Ducic I, Spear SL, Cuoco F, et al. Safety and risk factors for breast reconstruction with pedicled transverse rectus abdominis musculocutaneous flaps: a 10-year analysis. Ann Plast Surg 2005;55(6):559–64. doi: 10.1097/01.sap.0000184463.90172.04.

Ariyan S. The pectolis major myocutaneous flap. A versatile flap for reconstruction in the head and neck. Plast Reconstr Surg 1979;63(1):73–81. doi: 10.1097/00006534-197901000-00012.

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

1.
ยะโสธร ก. การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมหลังการผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านม โดยใช้เนื้อเยื่อตัวเองในโรงพยาบาลพระจอมเกล้า . Reg 4-5 Med J [อินเทอร์เน็ต]. 27 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 16 เมษายน 2025];43(4):541-9. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/272881