ความชุกของโรคทางจิตเวชในผู้ป่วยชาวไทยและต่างชาติและลักษณะผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดรักษา คลินิกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
โรคทางจิตเวช, ความชุกบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของโรคทางจิตเวชที่มารับบริการที่คลินิกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสมุทรสาคร และเพื่อเปรียบเทียบลักษณะผู้ป่วยจิตเวชในกลุ่มคนไทยและต่างชาติที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสมุทรสาคร
วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลัง (retrospective descriptive study) เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่มารับบริการที่แผนกจิตเวช โรงพยาบาลสมุทรสาคร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม–31 ธันวาคม 2566 จำนวน 5,705 ราย ข้อมูลประกอบด้วย เพศ อายุ สัญชาติ การวินิจฉัยโรค สถานภาพการสมรส
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 5,705 ราย แบ่งเป็นเพศชาย 2,652 ราย เพศหญิง 3,053 ราย สถานภาพการสมรสพบว่าโสด ร้อยละ 51.4 รองลงมาคือคู่ ร้อยละ 46.1 เมื่อแยกตามสัญชาติพบเป็นคนไทย 5,446 ราย ต่างชาติ 259 ราย อายุส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 25–64 ปี กลุ่มโรคที่พบมากที่สุดคือ กลุ่มโรคทางอารมณ์ (F30–39) รองลงมาคือ กลุ่มอาการทางกายที่เกิดจากจิตใจและความเครียด (F40–49) และโรคจิตเภท (F20–29) คิดเป็นร้อยละ 22.9, 17.8, และ 15.9 ตามลำดับ โดยความชุกมากสุดในเพศหญิงคือ กลุ่มโรคทางอารมณ์ (F30–39) รองลงมาคือ กลุ่มอาการทางกายที่เกิดจากจิตใจและความเครียด (F40–49) และกลุ่มอาการด้านพฤติกรรม ที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางสรีรวิทยาและปัจจัยทางร่างกาย (F50–59) คิดเป็น 7.78, 5.18, และ 4.33 ต่อ 1,000 ตามลำดับ ส่วนในเพศชายความชุกที่พบมากที่สุดได้แก่ ความผิดปกติทางจิตใจและพฤติกรรมเนื่องจากการใช้วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท (F10–19) พบ 6.31 ต่อ 1,000 รองลงมาคือ จิตเภท พฤติกรรมแบบจิตเภทและความหลงผิด (F20–29) และกลุ่มโรคทางอารมณ์ (F30–39) โดยมีความชุก 4.79 และ 2.75 ต่อ 1,000 ตามลำดับ ส่วนในกลุ่มคนต่างชาติพบว่าความชุกมากที่สุดคือกลุ่มความผิดปกติทางจิตใจและพฤติกรรมเนื่องจากการใช้วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท (F10–19) พบ 0.46 ต่อ 1,000 รองลงมาคือรองลงมาคือ F40–49 (ความชุก 0.299 ต่อ1,000) และ F20–29 (ความชุก 0.24 ต่อ 1,000) ตามลำดับ
สรุป: จากการศึกษาพบว่าในจังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มโรคทางจิตเวชในเพศชายที่ควรมีการเฝ้าระวังมากที่สุดคือ ความผิดปกติทางจิตใจและพฤติกรรมเนื่องจากการใช้วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ส่วนในเพศหญิงเป็นกลุ่มโรคทางอารมณ์ แต่ในชาวต่างชาติกลับพบโรคทางอารมณ์น้อยที่สุดมาเป็นลำดับที่ 6 แต่พบโรคจากสารเสพติดมาเป็นอันดับที่ 1 ดังนั้นจึงควรจัดบริการเพื่อเฝ้าระวังการใช้สารเสพติดในชาวต่างชาติ โดยในการจัดบริการที่ให้แก่ประชาชนในอำเภอเมืองจังหวัดสมุทรสาคร ควรเน้นการส่งเสริมป้องกันการนำกลุ่มผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา โดยอ้างอิงจากการศึกษาที่ได้เป็นแนวทางการบริหารจัดการการให้บริการที่เหมาะสมต่อไปตามเชื้อชาติและกลุ่มโรคที่พบ
References
Reed GM, Correia JM, Esparza P, et al. The WPA-WHO global survey of psychiatrists’ attitudes towards mental disorders classification. World Psychiatry 2011;10(2):118–31. doi: 10.1002/j.2051-5545.2011.tb00034.x
The Lancet Commission on Global Mental Health and Sustainable Development. Inaction on mental health crisis will cost world $16 trillion by 2030 [internet]. 2018 [cited 2019 May 24]. Available from: URL: https://globalmentalhealthcommission.org/wp-content/uploads/2018/10/Lancet-Commission-on-Global-Mental-Health-Press-Release.pdf
อภันตรี สาขากร. ความรู้เบื้องต้นโรคจิตเวช [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2567]; เข้าถึงได้จาก: URL: https://psychiatry.or.th/ JOURNAL/61-1/07 Sinngern.pdf
American Psychiatric Association. Diagnostic and statistical manual of mental disorders. 4thed. Washington, DC: American Psychiatric Assocication; 1994.
World Health Organization. The ICD-10 classification of mental and behavioral disorder. Geneva: World Health Organization; 1992.
ดารินทร์ อารีย์โชคชัย, ปณิธี ธัมมวิจยะ. การวัดทางระบาดวิทยา [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2567]; เข้าถึงได้จาก: URL: http://elearningboe.moph.go.th/moodle/pluginfile.php/300/mod_resource/content/2/ep2_measure1_of_epid.pdf.
เอก อัศวโรจน์พงษ์. ความชุกของโรคความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมในโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช
องค์ที่ 17. วารสารแพทย์เขต 4–5 2563;39(1):99–108.
กลุ่มศูนย์สุขภาพจิต MPIS. ฐานข้อมูลป้องกันปัญหาสุขภาพจิต: ความชุกของโรคจิตเวชที่พบบ่อยในคนไทย [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567]; เข้าถึงได้จาก: URL: http://mpis.srithanya.go.th/mhc/prevalence.aspx
เบ็ญจมาส พฤกษ์กานนท์, ธีระ ศิริสมุด, สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, และคณะ. การสำรวจระบาดวิทยาปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช: โครงการสนับสนุนและส่งเสริมการบริการครบวงจร สำหรับผู้ป่วยจิตเวชในพื้นที่เป้าหมายเร่งรัด ภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า. นนทบุรี: สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ กรมสุขภาพจิต; 2556. 1–159.
United Nations Office on Drugs and Crime. World drug report 2022: executive summary policy implications. New York: United Nations; 2022.
ภารณี นิลกรณ์, และคณะ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การประเมินผลรูปแบบการป้องกันการใช้สารเสพติดรายใหม่ในเยาวชนโดยความร่วมมือของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จังหวัดนครปฐม. สงขลา: ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2563.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์