ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดพังผืดในผู้ป่วยไขมันเกาะตับ โรงพยาบาลสมุทรสาคร: การศึกษานำร่อง
คำสำคัญ:
โรคไขมันเกาะตับ, พังผืดในตับบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของการเกิดพังผืดและระดับไขมันที่สะสมที่ตับ รวมทั้งค้นหาปัจจัยเสี่ยงในการมีไขมันสะสมและการเป็นพังผืดในผู้ป่วยไขมันเกาะตับ โรงพยาบาลสมุทรสาคร
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบนำร่อง (pilot study) โดยเก็บข้อมูลจากแบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยไขมันเกาะตับที่มาทำการตรวจด้วยเครื่อง FIbroScan ณ คลินิกโรคตับ ภายในโรงพยาบาลสมุทรสาคร ในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2567 โดยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่า mean, median, mode, range, odds ratio, 95% CI, และ p-value
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยไขมันเกาะตับ มีอายุเฉลี่ย 51.3 ± 11.7 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 48 ราย (ร้อยละ 61.5) BMI เฉลี่ย 28.8 ± 5.3 มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30 มากที่สุด จำนวน 32 ราย (ร้อยละ 41) มีประวัติการสูบบุหรี่ จำนวน 15 ราย (ร้อยละ 19.2) นอกจากนี้ ส่วนใหญ่มีรอบเอวมากกว่า 90 เซนติเมตร จำนวน 50 ราย (ร้อยละ 64.1) และพบอัตราส่วนรอบเอวต่อความสูง มากกว่าหรือเท่ากับ 0.5 จำนวน 69 ราย (ร้อยละ 88.5) นอกจากนี้ พบมีโรคร่วมมากที่สุด คือ โรคไขมันในเลือดสูง จำนวน 33 ราย (ร้อยละ 42.3) รองมา คือ พบมีโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 27 ราย (ร้อยละ 34.6) มีโรคเบาหวาน จำนวน 18 ราย (ร้อยละ 23.1)
เมื่อตรวจผู้ป่วยไขมันเกาะตับด้วยเครื่อง FibroScan พบมีภาวะไขมันสะสมระดับ S0 จำนวน 41 ราย (ร้อยละ 52.6), S1 จำนวน 10 ราย (ร้อยละ 12.8), S2 จำนวน 5 ราย (ร้อยละ 6.4), S3 จำนวน 22 ราย (ร้อยละ 28.2) และมีภาวะพังผืดในตับระดับ F0–F1 จำนวน 61 ราย (ร้อยละ 78.2), ระดับ F1–F2 จำนวน 6 ราย (ร้อยละ 7.7), ระดับ F2–F3 จำนวน 3 ราย (ร้อยละ 3.8), และระดับ F3–F4 จำนวน 8 ราย (ร้อยละ 10.3)
สรุป: ตรวจพบภาวะไขมันสะสมในตับร้อยละ 47.4 และพบภาวะพังผืดในตับระดับ F1–4 ร้อยละ 21.8 ของผู้ป่วยไขมันเกาะตับ นอกจากนี้ ผู้ที่มีรอบเอวมากกว่า 80 และ 90 เซนติเมตร เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดไขมันสะสมในตับของผู้ป่วยไขมันเกาะตับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .01) และผู้ที่มีรอบเอว >90 เซนติเมตร หรือมีไขมันสะสมระดับ S3 เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดพังผืดในตับระดับ F2–4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05) และผู้ที่สูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดพังผืดในตับระดับ F2–4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .01)
References
Younossi ZM, Koenig AB, Abdelatif D, et al. Global epidemiology of nonalcoholic fatty liver disease-meta-analytic assessment of prevalence, incidence, and outcomes. Hepatology 2016;64(1):73–84. doi: 10.1002/hep.28431
Alkhouri N, Feldstein AE. Noninvasive diagnosis of nonalcoholic fatty liver disease: are we there yet? Metabolism 2016;65(8):1087–95. doi: 10.1016/j.metabol.2016.01.013
Rinella ME, Sanyal AJ. Management of nafld: a stage-based approach. Nat Rev Gastroenterol Hepatol 2016;13(4):196–205. doi: 10.1038/ nrgastro. 2016.3
Quek J, Chan KE, Wong ZY, et al. Global prevalence of non-alcoholic fatty liver disease and non-alcoholic steatohepatitis in the overweight and obese population: a systematic review and meta-analysis. Lancet Gastroenterol Hepatology 2023;8(1):20–30. doi: 10.1016/S2468-1253(22)00317-X
European Association for the Study of the Liver (EASL), European Association for the Study of Diabetes (EASD), European Association for the Study of Obesity (EASO). EASL-EASD-EASO clinical practice guidelines for the management of non-alcoholic fatty liver disease. J Hepatol 2016;64(6):1388–402. doi: 10.1016/j.jhep.2015.11.004
Buday B, Pach PF, Literati-Nagy B, et al. Sex influenced association of directly measured insulin sensitivity and serum transaminase levels: Why alanine aminotransferase only predicts cardiovascular risk in men? Cardiovasc Diabetol 2015;14:55. doi: 10.1186/s12933-015-0222-3.
Boonchai P, Kositamongkol C, Jitrukthai S, et al. Clinical differences and non-alcoholic fatty liver disease-related factors of lean and non-lean patients with metabolic syndrome. J Clin Med 2022;11(9):2445. doi: 10.3390/jcm11092445.
Summart U, Thinkhamrop B, Chamadol N, et al. Gender differences in the prevalence of nonalcoholic fatty liver disease in the Northeast of Thailand: a population-based cross-sectional study. F1000Res 2017;6:1630. doi: 10.12688/f1000research.12417.2
Phisalprapa P, Prasitwarachot R, Kositamongkol C, et al. Economic burden of non-alcoholic steatohepatitis with signifcant fibrosis in Thailand. BMC Gastroenterol 2021;21:135. doi: 10.1186/s12876-021-01720-w
Wong VW, Vergniol J, Wong GL, et al. Diagnosis of fibrosis and cirrhosis using liver stiffness measurement in nonalcoholic fatty liver disease. Hepatology 2010;51(2):454–62. doi: 10.1002/hep.23312
Siddiqui MS, Vuppalanchi R, Van Natta ML, et al. Vibration controlled transient elastography to assess fibrosis and steatosis in patients with nonalcoholic fatty liver disease. Clin Gastroenterol Hepatol 2019;17(1):156–63. doi: 10.1016%2Fj.cgh.2018.04.043.
Karlas T, Petroff D, Sasso M, et al. Individual patient data meta-analysis of controlled attenuation parameter (CAP) technology for assessing steatosis. J Hepatol 2017;66(5):1022–30. doi: 10.1016/j.jhep.2016.12.022.
Eddowes PJ, Sasso M, Allison M, et al. Accuracy of fibroscan controlled attenuation parameter and liver stiffness measurement in assessing steatosis and fibrosis in patients with nonalcoholic fatty liver disease. Gastroenterology 2019;156(6):1717–30. doi: 10.1053/j.gastro.2019.01.042
Boursier J, Zarski J-P, de Ledinghen V, et al. Determination of reliability criteria for liver stiffness evaluation by transient elastography. Hepatology 2013;57(3):1182–91.
doi: 10.1002/hep.25993.
Jinjuvadia R, Antaki F, Lohia P, et al. The association between nonalcoholic fatty liver disease and metabolic abnormalities in The United States Population. J Clin Gastroenterol 2017;51(2):160–6. doi: 10.1097/MCG.0000000000000666
Goyal A, Arora H, Arora S. Prevalence of fatty liver in metabolic syndrome. J Family Med Prim Care 2020;9(7):3246–50. doi: 10.4103/jfmpc.jfmpc_1108_19
Shaikh MA, Bhanuprakash P. Study of non-alcoholic fatty liver disease in metabolic syndrome. Int J Adv Med 2018;5(6):1465–69. doi: 10.18203/2349-3933.ijam20184758
Ramirez-Mejia MM, Mendez-Sanchez N. What is in a name: from NAFLD to MAFLD and MASLD – Unraveling the complexities and implications. Current Hepatology reports 2023;22(4):221–7. doi: 10.1007/s11901-023-00620-9
Shon H, Lei S, Yiwei H, et al. From NAFLD to MASLD: when metabolic comorbidity matters. Ann Hepatol 2024;29(2):101281. doi: 10.1016/j.aohep.2023.101281
Rui S, Zhao L, Yingzhi Z, et al. Comparison of NAFLD, MAFLD and MASLD characteristics and mortality outcomes in United states adults. Liver Int 2024;44(4):1051–60. doi: 10.1111/liv.15856.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์