ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะปริชานบกพร่องเล็กน้อยกับภาวะซีดในผู้สูงอายุของชุมชนห้วยพลู อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
ภาวะปริชานบกพร่องเล็กน้อย, ภาวะซีด, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: 1. เพื่อศึกษาความชุกของภาวะปริชานบกพร่องเล็กน้อยกับภาวะซีดในผู้สูงอายุของชุมชนห้วยพลู อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะปริชานบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุกลุ่มนี้ และ 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะปริชานบกพร่องเล็กน้อยกับภาวะซีดในผู้สูงอายุกลุ่มนี้
วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มหลายขั้นตอน ตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 368 คน เก็บข้อมูลในช่วง เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบไคสแควร์และการวิเคราะห์การถดถอยแบบลอจิสติกพหุคูณเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและภาวะปริชานบกพร่องเล็กน้อย
ผลการศึกษา: พบว่าความชุกของภาวะปริชานบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุของชุมชนห้วยพลูเป็น ร้อยละ 37.8 ความชุกของภาวะซีดในผู้สูงอายุของชุมชนห้วยพลูเป็น ร้อยละ 36.9 ไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างภาวะปริชานบกพร่องเล็กน้อยและภาวะซีดในการศึกษานี้ อย่างไรก็ตามพบว่าภาวะปริชานบกพร่องเล็กน้อยมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับระดับการศึกษา (Adj OR = 1.975; 95% CI = 1.020–3.823) พฤติกรรมการรับประทานอาหารจานด่วน (Adj OR = 2.872; 95% CI = 1.441–5.724) และ พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง (Adj OR 1.749; 95% CI = 1.033–2.961) ของผู้สูงอายุหลังจากการปรับด้วยอิทธิพลอิทธิพลของปัจจัยอื่น ๆ แล้ว
สรุป: ความชุกของภาวะปริชานบกพร่องเล็กน้อยในการศึกษานี้เท่ากับ ร้อยละ 37.8 ความชุกของภาวะซีดในผู้สูงอายุในการศึกษานี้เท่ากับ ร้อยละ 36.9 ไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างภาวะปริชานบกพร่องเล็กน้อยและภาวะซีดในการศึกษานี้ แต่พบว่าระดับการศึกษา พฤติกรรมการรับประทานอาหารจานด่วน พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงมีความสัมพันธ์กับภาวะปริชานบกพร่องเล็กน้อยของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
ภรัญวิทย์ อนันต์ดิลกฤทธิ์. ภาวะปริชานบกพร่องเล็กน้อย (Mild cognitive impairment or mild neurocognitive disorder). วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2566;17(1):392–8.
ปณิตา ลิมปะวัฒนะ, มัญชุมาส มัญจาวงษ์. ภาวะสูญเสียการรู้คิดเล็กน้อย. วารสารอายุรศาสตร์ ม.ขอนแก่น 2563;1:25–35.
ปิยะภร ไพรสนธิ์, พรสวรรค์ เชื้อเจ็ดตน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุ จังหวัดเชียงราย. วารสารสภาการพยาบาล 2560;32(1):64–80.
Griffiths J, Thaikruea L, Wongpakaran N, et al. Prevalence of mild cognitive impairment in rural Thai older people, associated risk factors and their cognitive characteristics. Dement Geriatr Cogn Dis Extra 2020;10(1):38–45. doi: 10.1159/000506279.
Kung WM, Yuan SP, Lin MS, et al. Anemia and the risk of cognitive impairment: an updated systematic review and meta-analysis. Brain Sci 2021;11(6):777. doi: 10.3390/brainsci11060777
Dlugaj M, Winkler A, Weimar C, et al. Anemia and mild cognitive impairment in the German general population. J Alzheimers Dis 2016;49(4):1031–42. doi: 10.3233/JAD-150434.
Kim HB, Park B, Shim JY. Anemia in association with cognitive impairment: a systematic review and meta-analysis. J Alzheimers Dis 2019;72(3):803–14. doi: 10.3233/JAD-190521.
World Health Organization. Prevalence of anemia in older people [internet]. 2024 [cited 2024 August 11]; Available from: URL: https://www.who.int/data/gho/indicator-metadata-registry/imr-details/prevalence-of-anemia-in-older-people
ปิยะภร ไพรสนธิ์, พรสวรรค์ เชื้อเจ็ดตน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุ จังหวัดเชียงราย. วารสารสภาการพยาบาล 2560;32(1):64–80.
Karoopongse E, Srinonprasert V, Chalermsri C, et al. Prevalence of anemia and association with mortality in community-dwelling elderly in Thailand. Sci Rep 2022;12(1):7084. doi: 10.1038/s41598-022-10990-7.
Beghé C, Wilson A, Ershler WB. Prevalence and outcomes of anemia in geriatrics: a systematic review of the literature. Am J Med 2004;116(Suppl 7A):3S–10S. doi: 10.1016/j.amjmed.2003.12.009.
Gomes Gonçalves N, Vidal Ferreira N, Khandpur N, et al. Association between consumption of ultraprocessed foods and cognitive decline. JAMA Neurol 2023;80(2):142–50. doi:10.1001/jamaneurol.2022.4397
Henney AE, Gillespie CS, Alam U, et al. High intake of ultra-processed food is associated with dementia in adults: a systematic review and meta-analysis of observational studies. J Neurol 2024;271(1):198–210. doi: 10.1007/s00415-023-12033-1.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์