การพัฒนารูปแบบการเสริมพลังอำนาจเพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตจังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
เกณฑ์คุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ, การเสริมพลังอำนาจ, บริการสุขภาพปฐมภูมิ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: ศึกษาความต้องการเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พัฒนารูปแบบการเสริมพลังอำนาจฯ และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเสริมพลังอำนาจเพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
วิธีการศึกษา: การวิจัยและพัฒนาแบบผสานวิธีที่ใช้ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงสำรวจเพื่อสำรวจความต้องการเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 113 คน 2) ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมพลังอำนาจเพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 13 คน และ 3) ระยะที่ 3 เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเสริมพลังอำนาจเพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ ประกอบด้วย (1) การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลัง ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 35 คน (2) ใช้แบบสรุปคะแนนตรวจประเมินตามเกณฑ์คุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ ในการเก็บข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 35 แห่ง และ (3) ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 20–80 ปี จำนวน 400 คน
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด ทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติ independent sample t test, one-way ANOVA, และ paired t test กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการศึกษา: ความต้องการเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 49.6 (mean = 179.68, SD = 41.32) 2) รูปแบบการเสริมพลังอำนาจเพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ คือ SER-SIA Model ประกอบด้วย S: support to receive work opportunities การสนับสนุนให้ได้รับโอกาสในงาน, E: encouragement support การเสริมสร้างขวัญกำลังใจ R: resource support การสนับสนุนทรัพยากร, S: support for self-motivation การสนับสนุนให้เกิดแรงจูงใจในตนเอง, I: information support การสนับสนุนข้อมูลข่าวสาร, และ A: appreciating the value of work การทำให้เห็นคุณค่าในงาน และ 3) ประสิทธิผลของรูปแบบการเสริมพลังอำนาจเพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พบว่า (1) ศักยภาพในการบริหารจัดการการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ จากคะแนนเฉลี่ย 169.20 คะแนน (SD = 34.79) เพิ่มขึ้นเป็น 211.91 คะแนน (SD = 25.81) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p-value < .001) (2) ผลการประเมินตนเองตามเกณฑ์คุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ จากคะแนนเฉลี่ย 227.60 คะแนน (SD = 8.44) เพิ่มขึ้นเป็น 243.57 คะแนน (SD = 6.73) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p-value < .001) และประชาชนมีความพึงพอใจต่อคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 90.3 (mean = 108.85, SD = 12.36)
สรุป: ควรนำ SER-SIA Model ที่ผู้วิจัยค้นพบไปใช้เสริมพลังอำนาจผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิต่อไป
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว ปีงบประมาณ 2560. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน; 2561.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. เกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary care award).กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2552.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์; 2559.
ประสิทธิ์ชัย มั่งจิตร. คุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2566]; เข้าถึงได้จาก: URL: http://gishealth.moph.go.th/pcu/download/document2.pdf
สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2566. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2565.
หทัยรัตน์ คงสืบ, วิไลลักษณ์ เรืองรัตนตรัย. ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ 2562;5(1):72–84.
นิลุบล ลือชาเกียรติศักดิ์. ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว เครือข่ายโรงพยาบาลศูนย์สุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2565;36(2):37–49.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม. รายงานผลการประเมินตามเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ ปีงบประมาณ 2566 จังหวัดนครปฐม [เอกสารอัดสำเนา]. นครปฐม: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม; 2567.
ไพจิตร์ วราชิต, ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล, นิทัศน์ รายยวา, และคณะ, บรรณาธิการ. คู่มือบริหารจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2555.
Gibson CH. A concept analysis of empowerment. J Adv Nurs 1991;16(3):354–61. doi: 10.1111/j.1365-2648.1991.tb01660.x.
Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educ Psychol Meas 1970;30(3):607–10. doi: 10.1177/001316447003000308.
อัจศรา ประเสริฐสิน. เครื่องมือการวิจัยทางการศึกษาและสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2563.
Best JW, Kahn JV. Research in education. 3rd ed. New Jersey: Prentice hall; 1986.
Cronbach LJ. Educational Psychology. New York: Harcourt Brace Jevanovich; 1977.
Crabtree BF, Miller WL. Doing qualitative research: multiple strategies. Thousand Oaks, CA: Sage; 1992.
Rovinelli RJ, Hambleton RK. On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity: Paper presented at the annual meeting of the American Educational Research Association. AERA 1976;5(3):1–37.
สุทิศา อาภาเภสัช. ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2563;6(3):86–95.
อรพรรณ จันทรา, พรทิพย์ กีระพงษ์, นิตยา เพ็ญศิรินภา. การเสริมสร้างพลังอำนาจเชิงโครงสร้างและการปฏิบัติของทันตบุคลากรตามแนวทางการควบคุมการติดเชื้อทางทันตกรรมในโรงพยาบาลรัฐสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2564;15(37):298–311.
ไพโรจน์ กวินเลิศวัฒนา. การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 ของบุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตจังหวัดนครนายก. วารสารแพทย์เขต 4–5 2567;43(1):157–70.
จํารัส พรมบุญ, จีระศักดิ์ เจริญพันธ์, สุรพร ลอยหา. การพัฒนากระบวนการบริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลตามเกณฑ์คุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลตูม อําเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2558;12(1):23–30.
วัฒนา สว่างศรี, อดิศักดิ์ โทแก้ว. การพัฒนาคุณภาพบริการตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาดพัฒนา อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม.
วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2558;12(1):123–30.
กรรณิการ์ ฮวดหลี. ผลการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ (คปสอ.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) โดยใช้เกณฑ์การประเมินผลแบบติดดาว (คปสอ.ติดดาว และ รพ.สต.ติดดาว) จังหวัดอุดรธานี.
วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2560;25(1):76–84.
สิทธิชัย สารพัฒน์, ยุทธชัย นพพิบูลย์. รูปแบบการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขตำบลให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมาตรฐาน 5 ดาวในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม 2564;1(2):33–48.
สมัย ลาประวัติ. การพัฒนารูปแบบการจัดระบบบริการปฐมภูมิโดยใช้กลไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ 2566;2(1):104–12.
อนุ เอี่ยมทอง, เสน่ห์ แสงเงิน. การพัฒนากระบวนการเพิ่มศักยภาพในการจัดการขยะติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตจังหวัดสุโขทัย. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 2562;2(2):1–14.
มณีรัตน์ ปัจจะวงษ์, ปิยะนุช พรหมสาขา ณ สกลนคร. ประเมินผลการให้บริการของหน่วยบริการปฐมภูมิ ที่ผ่านเกณฑ์ประเมินมาตรฐานหน่วยบริการปฐมภูมิตามการรับรู้ของประชาชนที่เคยใช้บริการ.
วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2563;28(3):295–05.
ปราณี พระโรจน์. การพัฒนาระบบเครือข่ายบริการสุขภาพปฐมภูมิ จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2563;13(2):186–95.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์