การศึกษาระยะเวลานัดตรวจติดตามอาการหลังออกจากโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันต่อการมารับการรักษาด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูแบบผู้ป่วยนอก ณ คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลนครปฐม
คำสำคัญ:
ระดับความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง, ความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวันดัชนีบาร์เธล, การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกทวิหนึ่งตัวแปร, การวิเคราะห์โลจิสติกหลายตัวแปรแบบถอยหลังบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: (1) เพื่อศึกษาผลของระยะเวลานัดตรวจติดตามอาการหลังออกจากโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน (acute stroke) ต่อการมารับการรักษาด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูแบบผู้ป่วยนอก (outpatient rehabilitation); (2) เพื่อศึกษาอัตราการเข้ารับการรักษาด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูแบบผู้ป่วยนอกของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันหลังออกจากโรงพยาบาล; และ (3) เพื่อศึกษาปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการมารับการรักษาด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูแบบผู้ป่วยนอกของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน
วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบวิเคราะห์ย้อนหลัง (retrospective cohort study) สืบค้นและเก็บรวบรวมข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันออกจากโรงพยาบาลนครปฐม ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2566–31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ทุกราย บันทึกข้อมูลลงในแบบบันทึกข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย (case record form) โดยเก็บข้อมูล (1) จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน (2) จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันที่มารักษาด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูแบบผู้ป่วยนอกหลังออกจากโรงพยาบาล เพื่อนำมาคำนวณอัตราการเข้ารับการรักษาด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูแบบผู้ป่วยนอกของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันหลังออกจากโรงพยาบาล (3) ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการมารักษาด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูแบบผู้ป่วยนอกหลังออกจากโรงพยาบาล ได้แก่ ระยะเวลานัดตรวจติดตามอาการ อายุ เพศ ประเภทของโรคหลอดเลือดสมอง (type of stroke) ข้างของสมองที่เป็นโรค (side of hemispheric affectation) ระดับความรุนแรงของโรค (NIHSS) แรกรับนอนโรงพยาบาล และความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวันดัชนีบาร์เธล (BI) ขณะจำหน่ายจากโรงพยาบาล นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสถิติ SPSS 26 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูล ใช้การทดสอบทางสถิติคือ การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกทวิหนึ่งตัวแปร (univariate binary logistic regression) และนำปัจจัยที่น่าจะเกี่ยวข้องคือปัจจัยที่มีค่า p ≤ .20 ร่วมกับปัจจัยที่สนใจ มาวิเคราะห์ต่อด้วยการวิเคราะห์โลจิสติกหลายตัวแปรแบบถอยหลัง (multivariate analysis backward selection method) กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติ คือ p < .05
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันออกจากโรงพยาบาลนครปฐม ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2566–31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ทั้งหมด 1,324 ราย ผู้ป่วยที่มีนัดมารักษาด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูแบบผู้ป่วยนอกหลังออกจากโรงพยาบาล ณ คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟู 292 ราย ในจำนวนนี้มาตามนัด 170 ราย คิดเป็นอัตราการเข้ารับการรักษาด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูแบบผู้ป่วยนอก ร้อยละ 58.2
การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมารักษาด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูแบบผู้ป่วยนอกของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันหลังออกจากโรงพยาบาล ด้วยการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกทวิหนึ่งตัวแปร (univariate binary logistic regression) และการวิเคราะห์โลจิสติกหลายตัวแปรแบบถอยหลัง (multivariate analysis backward selection method) พบว่าระยะเวลานัดตรวจติดตามอาการ (RR 1.00, p = .73) ไม่ส่งผลต่อการมารักษาด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูแบบผู้ป่วยนอกของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันหลังออกจากโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ระยะเวลานัด 26 วัน ผู้ป่วยมาตรวจตามนัดหลังออกจากโรงพยาบาลได้ดีที่สุด โดยพบความไว (sensitivity) ร้อยละ 51 และ ความจำเพาะ (specificity) ร้อยละ 49 และประเภทของโรคหลอดเลือดสมอง (RR 2.27, p = .01) ส่งผลต่อการมารักษาด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูแบบผู้ป่วยนอกหลังออกจากโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผู้ป่วยหลอดเลือดสมองแตกเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการมารักษาด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูแบบผู้ป่วยนอกหลังออกจากโรงพยาบาล ส่วนปัจจัยอื่น ได้แก่ อายุ (RR 0.99, p = .50); เพศ (RR 1.23, p = .39); ข้างของสมองที่เป็นโรค (RR 1.21, p = .44); ระดับความรุนแรงของโรคแรกรับนอนโรงพยาบาล (RR 0.98, p = .87); และความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวันดัชนีบาร์เธลขณะจำหน่ายจากโรงพยาบาล (RR 1.02, p = .93) ไม่ส่งผลต่อการมารักษาด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูแบบผู้ป่วยนอกของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันหลังออกจากโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: ระยะเวลานัดตรวจติดตามอาการไม่ส่งผลต่อการมารักษาด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูแบบผู้ป่วยนอกของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันหลังออกจากโรงพยาบาล แต่พบว่าประเภทของโรคหลอดเลือดสมอง ชนิดหลอดเลือดสมองแตกเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการมารักษาด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูแบบผู้ป่วยนอกหลังออกจากโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และอัตราการเข้ารับการรักษาด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูแบบผู้ป่วยนอก ณ คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลนครปฐม ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เท่ากับร้อยละ 58.2
References
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ. จำนวนและอัตราป่วย/ตายด้วย 5 โรคไม่ติดต่อ ปี 2559–2562 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567]; เข้าถึงได้จาก: URL: https://www.ddc.moph.go.th/dncd/news.php?news=39911
วสุวัฒน์ กิติสมประยูรกุล, กฤษณา พิรเวช. การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke rehabilatation). ใน: วสุวัฒน์ กิติสมประยูรกุล, ภัทรพล ยศเนืองนิตย์, สิริขวัญ ปัญญาศรีวณิช, บรรณาธิการ. ตำราเวชศาสตร์ฟื้นฟู. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560. 179.
Mlambo N, Hlongwana K. Factors associated with stroke survivors inconsistent uptake of physiotherapy intenventions at Turton Community Health Centre, KwaZulu-Natal. S Afr J Physiotherapy 2020;76(1):1475. doi: 10.4102/sajp.v76i1.1475.
Ogwumike OO, Badaru UM, Adeniyi AF. Barriers to treatment adherence among stroke survivors attending outpatient physiotherapy clinics in North-western Nigeria. Clin Health Promot 2015;5(1):4–10. doi: 10.29102/clinhp.15002.
Ntamo NP, Buso D, Longo-Mbenza B. Factors affecting poor attendance for outpatient physiotherapy by patients discharged from Mthatha general hospital with a stroke. S Afr J physiotherapy 2013;69(3):19–24. doi: 10.4102/sajp.v69i3.29.
Stein J, Brandstater ME. Stroke rehabilitation. In: Frontera WR, Delisa JA, Gans BM, et al., editors. Delisa’s physical medicine and rehabilitation. 5th ed. Philadelphia: Lippincott Williams and Wilkins; 2010. 560–61.
Peduzzi P, Concato J, Kemper E, et al. A simulation study of the number of event per variable in logistic regression analysis 1996;49(12):1373–9. doi: 10.1016/s0895-4356(96)00236-3.
Teasell R, Hussein N, Longval M. Brain reorganization, recovery and organized care. In: Teasell R, Hussein N, Iruthayarajah J, et al., editors. Stroke rehabilitation clinician handbook 2020. Ontario: Earthlore Communications; 2020. 6–8.
Jin J, Sklar GE, Min Sen OH V, et al. Factors affecting therapeutic compliance: a review from the patient’s perspective 2008;4(1):269–86. doi: 10.2147/tcrm.s1458
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์