ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการผ่าตัดคลอดในสตรีตั้งครรภ์กลุ่ม 1 ถึง 4 ตามการแบ่งแบบร็อบสัน ในโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
การผ่าตัดคลอด, สตรีตั้งครรภ์, การแบ่งแบบร็อบสันบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการผ่าตัดคลอด และวิเคราะห์ปัจจัยกับผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ที่มีความสัมพันธ์กับการผ่าตัดคลอดในสตรีตั้งครรภ์กลุ่ม 1 ถึง 4 ตามการแบ่งแบบร็อบสัน
วิธีการศึกษา: แบบภาคตัดขวาง โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนในสตรีที่มาคลอดในโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2567 จำนวน 800 ราย เป็นข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลการคลอด และการดูแลขณะคลอด นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ด้านปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการผ่าตัดคลอดวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการถดถอยโลจิสติก ที่กำหนดความเชื่อมั่นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 95 และผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์วิเคราะห์ด้วย chi-square test
ผลการศึกษา: พบว่าสตรีตั้งครรภ์กลุ่ม 1 ตามการแบ่งแบบร็อบสันมากที่สุด เป็นร้อยละ 41.3 ได้รับการผ่าตัดคลอด ร้อยละ 40 ข้อบ่งชี้ที่พบมากที่สุด คือภาวะช่องเชิงกรานไม่ได้สัดส่วนกับขนาดของศีรษะทารก การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีสัมพันธ์กับการผ่าตัดคลอดพบว่า ดัชนีมวลกายมีความสัมพันธ์กับการผ่าตัดคลอด กลุ่มที่มีดัชนีมวลกายต่ำกว่า 18.5 กิโลกรัม/ตารางเมตร มีความเสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอดน้อยกว่า 0.61 เท่า (95% CI 0.45, 0.83; p = .002) และกลุ่มที่มีดัชนีมวลกายน้ำหนักเกิน/ภาวะอ้วน (23–50 กิโลกรัม/ตารางเมตร) มีความเสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอดน้อยกว่า 0.52 เท่า (95% CI 0.34, 0.81; p = .004) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่มีดัชนีมวลกายปกติสมส่วน ตามลำดับ สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวาน มีความเสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอดมากกว่าสตรีที่ไม่ได้เป็นโรค 6.66 เท่า (95% CI 1.06, 41.67; p = .043) และสตรีตั้งครรภ์ที่มีความกว้างของปากมดลูกขณะแรกรับ 4–5 เซนติเมตร มีความเสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอดมากกว่า 3.73 เท่า (95% CI 1.94, 7.15; p < .001) เมื่อเปรียบเทียบกับสตรีตั้งครรภ์ที่มีความกว้างของปากมดลูกขณะแรกรับน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 เซนติเมตร ส่วนผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ที่มีความสัมพันธ์กับการผ่าตัดคลอด คือน้ำหนักของทารกแรกคลอด ทารกที่ต้องเข้าหออภิบาลทารกแรกเกิด ทารกที่มีภาวะขาดอากาศหายใจจากการคลอด ทารกมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ทารกมีภาวะหายใจลำบาก และมีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในทารกแรกเกิด ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
สรุป: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการผ่าตัดคลอดในสตรีตั้งครรภ์กลุ่ม 1 ถึง 4 ตามการแบ่งแบบร็อบสัน ได้แก่ดัชนีมวลกาย สตรีตั้งครรภ์ที่มีโรคประจำตัวคือเบาหวาน และความกว้างของปากมดลูกขณะแรกรับ
References
Cunningham FG, Leveno KJ, Dashe JS, et al. Williams obstetrics. 26th ed. Columbus, OH: McGraw-Hill; 2022: 547–9.
World Health Organization Human Reproduction Programme, 10 April 2015. WHO Statement on caesarean section rates. Reprod Health Matters 2015;23(45):149–50. doi: 10.1016/j.rhm.2015.07.007.
World Health Organization. Robson classification: Implementation manual [Internet]. 2017 [cited 2024 Sep 13]; Available from: URL: https://www.who.int/publications/i/item/9789241513197
โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ. Policy Brief: ฉบับที่ 139: แนวโน้มการผ่าคลอดในไทยเพิ่มสูง: ถึงเวลาต้องพูดคุยอย่างจริงจังแล้วหรือไม่ ? [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2567]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://www.hitap.net/documents/184063
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. ประกาศจุดยืนเรื่อง การผ่าตัดคลอด ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2567]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://www.rtcog.or.th/news/view/54
กองบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. อัตราการผ่าท้องคลอด [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2567]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://cmi.moph.go.th/isp/sp_obs/index?menu_id=6
Anekpornwattana S, Yangnoi J, Jareemit N, et al. Cesarean section rate in Siriraj Hospital according to the Robson classification. Thai J Obstet Gynaecol 2020;28(1):6–15. doi: 10.14456/tjog.2020.2
Khornwong S, Kovavisarach E. Cesarean section rate based on the Robson 10-group classification at Rajavithi Hospital from 2015–2018. Thai J Obstet Gynaecol 2021;29(4):191–7. doi: 10.14456/tjog.2021.23
Ngamthong P, Boriboonhirunsarn D. Cesarean section rate and associated risk factors in group 1 Robson classification. Thai J Obstet Gynaecol 2023;31(1):11–20. doi: 10.14456/tjog.2023.2
Charoonwatana T, Suwanbamrung C, Saengow U. Cesarean section according to Robson classification in tertiary hospital, southern Thailand. J Obstet Gynecol Cancer Res 2021;7(3):213–20. doi: 10.30699/jogcr.7.3.213
First and second stage labor management: ACOG clinical practice guideline no. 8. Obstet Gynecol 2024;143(1):144–62. doi: 10.1097/AOG.0000000000005447
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์