อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของการล้มเหลวในการรักษาแบบไม่ผ่าตัด ในผู้ป่วยโรคนิ้วล็อค โรงพยาบาลชะอำ
คำสำคัญ:
นิ้วล็อค, ล้มเหลวในการรักษาแบบไม่ผ่าตัด, ปัจจัยเสี่ยงบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของการล้มเหลวในการรักษาแบบไม่ผ่าตัดในผู้ป่วยโรคนิ้วล็อคที่โรงพยาบาลชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลผู้ป่วยนิ้วล็อคจากเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ป่วยโรงพยาบาลชะอำ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558–30 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ผู้ป่วยทุกรายได้รับการวินิจฉัยโรคนิ้วล็อคโดยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบบันทึกข้อมูล ประกอบด้วย อายุ, เพศ, อาชีพ, ดัชนีมวลกาย, โรคประจำตัว, โรคร่วมพังผืดข้อมืออักเสบรัดเส้นประสาท (CTS), จำนวนนิ้วที่เป็นโรคนิ้วล็อค, นิ้วที่เป็นนิ้วล็อค, จำนวนครั้งในการฉีดสเตียรอยด์, และการได้รับการกายภาพบำบัด นำเสนอข้อมูลเป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงของการล้มเหลวในการรักษาแบบไม่ผ่าตัดในผู้ป่วยโรคนิ้วล็อค ด้วยการวิเคราะห์ t test independent, chi-square test เปรียบเทียบสัดส่วนความเสี่ยง (odds ratio) ระหว่างกลุ่มที่ล้มเหลวในการรักษาแบบไม่ผ่าตัด กับกลุ่มที่ไม่ล้มเหลวในการรักษาแบบไม่ผ่าตัดด้วยการวิเคราะห์ binary logistic regression และการประมาณค่าขอบเขตความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (95% confidence interval: 95% CI)
ผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 214 ราย อุบัติการณ์ของการล้มเหลวในการรักษาแบบไม่ผ่าตัด ในผู้ป่วยโรคนิ้วล็อค คือ ร้อยละ 35.5 พบว่าผู้ป่วยที่เป็นนิ้วโป้ง การไม่ได้รับการฉีดสเตียรอยด์ และการไม่ได้รับการกายภาพบำบัด มีความสัมพันธ์กับการล้มเหลวในการรักษาแบบไม่ผ่าตัดในผู้ป่วยโรคนิ้วล็อค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และพบว่า ผู้ป่วยที่เป็นนิ้วล็อคที่นิ้วโป้ง มีโอกาสเกิดการล้มเหลวในการรักษาแบบไม่ผ่าตัด สูงกว่าถึง 2.30 เท่า และผู้ที่ไม่ได้รับการกายภาพบำบัดมีโอกาสเกิดการล้มเหลวในการรักษาแบบไม่ผ่าตัด สูงกว่าถึง 10.38 เท่า ส่วนปัจจัยอื่น ได้แก่ อายุ, เพศ, อาชีพ, ดัชนีมวลกาย, โรคประจำตัว, โรคร่วม CTS, และจำนวนนิ้วที่เป็นโรคนิ้วล็อค ไม่มีความสัมพันธ์กับการล้มเหลวในการรักษาแบบไม่ผ่าตัดในผู้ป่วยโรคนิ้วล็อค
สรุป: อุบัติการณ์ของการล้มเหลวในการรักษาแบบไม่ผ่าตัดในผู้ป่วยโรคนิ้วล็อค คือ ร้อยละ 35.5 ผู้ป่วยที่เป็นนิ้วล็อคที่นิ้วโป้ง และการไม่ได้รับการกายภาพบำบัด เป็นปัจจัยเสียงของการล้มเหลวในการรักษาแบบไม่ผ่าตัดในผู้ป่วยโรคนิ้วล็อค ดังนั้นควรส่งเสริมให้มีการรักษาโดยการกายภาพบำบัดในผู้ป่วยนิ้วล็อคทุกราย และผู้ที่เป็นนิ้วล็อคโดยเฉพาะที่นิ้วโป้ง ควรได้รับทราบถึงการดำเนินโรคว่ามีโอกาสที่จะล้มเหลวจากการรักษาแบบไม่ผ่าตัดมากกว่านิ้วอื่น
References
Carlson CS Jr, Curtis RM. Steroid injection for flexor tenosynovitis. J Hand Surg Am 1984;9(2):286–7. doi: 10.1016/s0363-5023(84)80165-3.
Wolf SW. Tendinopathy. In: Wolfe SW, Hotchkiss RN, Pederson W, et al., editors. Green’s operative hand surgery. 7th ed. Philadelphia: Elsevier; 2017. 1903–25.
Gorsche R, Wiley JP, Renger R, et al. Prevalence and incidence of stenosing flexor tenosynovitis (trigger finger) in a meat-packing plant. J Occup Environ Med 1998;40(6):556–60. doi: 10.1097/00043764-199806000-00008.
Verdon ME. Overuse syndromes of the hand and wrist. Prim Care 1996;23(2):305–19. doi: 10.1016/s0095-4543(05)70278-5.
Fahey JJ, Bollinger JA. Trigger-finger in adults and children. J Bone Joint Surg Am 1954;36-A(6):1200–18.
Stahl S, Kanter Y, Karnielli E. Outcome of trigger finger treatment in diabetes. J Diabetes Complications 1997;11(5):287–90. doi: 10.1016/s1056-8727(96)00076-1.
Chammas M, Bousquet P, Renard E, et al. Dupuytren’s disease, carpal tunnel syndrome, trigger finger, and diabetes mellitus. J Hand Surg Am 1995;20:109–14. doi: 10.1016/S0363-5023(05)80068-1.
Kang HP, Vakhshori V, Mohty K, et al. Risk factors associated with progression to surgical release after injection of trigger digits. J Am Acad Orthop Surg Glob Res Rev 2021;5(7):e20.00159. doi: 10.5435/JAAOSGlobal-D-20-00159.
Lewis J, Seidel H, Shi L, et al. National benchmarks for the efficacy of trigger finger and the risk factors associated with failure. J Am Acad Orthop Surg Glob Res Rev 2023;7(2):e22.00198. doi: 10.5435/JAAOSGlobal-D-22-00198.
Katzman BM, Steinberg DR, Bozentka DJ, et al. Utility of obtaining radiographs in patients with trigger finger. Am J Orthop (Belle Mead NJ) 1999;28(12):703–5.
Ryzewicz M, Wolf JM. Trigger digits: principles, management, and complications. J Hand Surg Am 2006;31(1):135–46. doi: 10.1016/j.jhsa.2005.10.013.
Gil JA, Hresko AM, Weiss APC. Current concepts in the management of trigger finger in adults. J Am Acad Orthop Surg 2020;28(15):e642–50. doi: 10.5435/JAAOS-D-19-00614.
Panghate A, Panchal S, Prabhakar A, et al. Outcome of percutaneous trigger finger release technique using a 20-gauge hypodermic needle. J Clin Orthop Trauma 2020;15:55–59. doi: 10.1016/j.jcot.2020.10.043
Anderson BC. Office orthopedics for primary care: diagnosis and treatment. Philadelphia: WB Saunders Company; 1999.
Lapidus PW, Guidotti FP. Stenosing tenovaginitis of the wrist and fingers. Clin Orthop Relat Res 1972;83:87–90. doi: 10.1097/00003086-197203000-00015.
Patel MR, Bassini L. Trigger fingers and thumb: when to splint, inject, or operate. J Hand Surg Am 1992;17(1):110–13. doi: 10.1016/0363-5023(92)90124-8.
Wiznia D. What is the role of the thumb in hand anatomy? Medical news today [internet]. 2023 [cited 2024 Oct 25]; Available form: URL: https://www.medicalnewstoday.com/articles/is-a-thumb-a-finger#:~:text=Thumb%20function%20and%20purpose,movements%20for%20precise%20tool%20use.
Watanabe H, Hamada Y, Toshima T, et al. Conservative treatment for trigger thumb in children. Arch Orthop Trauma Surg 2001;121(7):388–90. doi: 10.1007/s004020000249.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์