อุบัติการณ์ของการเกิดภาวะไตวายของผู้ป่วยหลังได้รับสารทึบรังสีชนิด Low Osmolar ในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ในโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
ไตวายหลังได้รับสารทึบรังสี, สารทึบรังสีชนิด low osmolar, ครีเอทินีน, โรคNCDบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของค่า creatinine ในเลือดก่อนและหลังการได้รับสารทึบรังสีชนิด low osmolar ทางหลอดเลือดดำในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของผู้ป่วยนอก ในโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี อุบัติการณ์การเกิดไตวายหลังได้รับสารทึบรังสี และค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงของ creatinine ในผู้ป่วยที่มีโรค NCD จำแนกตามจำนวนโรค เพื่อปรับปรุงแนวทางการเตรียมผู้ป่วยก่อนได้รับสารทึบรังสีทางหลอดเลือดดำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง (descriptive cross-sectional study) เก็บข้อมูลย้อนหลังจากระหว่าง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2567 โดยกลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยนอกที่มาเข้ารับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และได้รับการฉีดสารทึบรังสีทางหลอดเลือดดำ โดยมีการตรวจค่า creatinine ในเลือดก่อนและหลังฉีดสารทึบรังสี แล้วนำมาเปรียบเทียบความสัมพันธ์ทางสถิติโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติอนุมาน ได้แก่ chi-square, ANOVA, และ Fischer exact test
ผลการศึกษา: พบว่ามีอุบัติการณ์ไตวายหลังได้รับสารทึบรังสี ร้อยละ 0.6 จากกลุ่มตัวอย่าง 155 ราย โดยที่การเปลี่ยนแปลงของค่า creatinine ไม่มีความสัมพันธ์กันทางสถิติระหว่างผู้ป่วยที่ไม่มีโรค NCD กับมีโรค NCD (p = .293) และค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงของค่า creatinine ในเลือดหลังได้รับสารทึบรังสีไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างผู้ป่วยไม่มีกับมีโรค NCD (p = 1.12) โดยมีค่าลดลงอยู่ในช่วง 0.07–1.14 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
สรุป: การใช้สารทึบแสงชนิด low osmolar นั้นก็สามารถใช้ได้อย่างมั่นใจว่าพบอุบัติการณ์การเกิดไตวายหลังได้รับสารทึบรังสีน้อย หากมีการเตรียมตัวผู้ป่วยที่ดีโดยการให้ normal saline เพื่อป้องกันการเกิดภาวะไตวายหลังได้รับสารทึบรังสี โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีโรค NCD มากกว่า 4 โรค หรืออายุมากกว่า 70 ปี
References
สรุป
การใช้สารทึบแสงชนิดความหนืดต่ำ (low osmolar contrast media) ร่วมกับมีการเตรียมตัวผู้ป่วยโดยการให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำสำหรับการตรวจเอกเรย์คอมพิวเตอร์กรณีผู้ป่วยนอกสามารถป้องกันการเกิดภาวะไตวายหลังได้รับสารทึบรังสีและมีอุบัติการณ์การเกิดไตวายหลังได้รับสารทึบรังสีทางหลอดเลือดดำที่ต่ำแม้ผู้ป่วยจะมีโรคไตเรื้อรังระยะ 3–4 ร่วมกับมีโรคประจำตัวชนิด NCD
ทว่ารังสีแพทย์ควรมีแนวทางเฝ้าระวังเพิ่มเติมสำหรับผู้ป่วยอายุมากกว่า 70 ปี และมีโรค NCD หลายโรคโดยเฉพาะรายที่มีมากกว่า 4 โรค เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะเกิดไตวายหลังได้รับสารทึบรังสีทางหลอดเลือดดำได้มากกว่า และอาจพิจารณาใช้สารทึบแสงชนิดความหนืดเท่าเลือด (iso-osmolar contrast media) ในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว
เอกสารอ้างอิง
Jorgensen AL. Contrast-induced nephropathy: pathophysiology and preventive strategies. Crit Care Nurse 2013;33(1):37–46. doi: 10.4037/ccn2013680.
Owen RJ, Hiremath S, Myers A, et al. Consensus guidelines for the prevention of contrast induced nephropathy [internet]. 2011 [cited 2024 May 1st]; Available from: URL: https://car.ca/wp-content/uploads/Prevention-of-Contrast-Induced-Nephropathy-2011.pdf
Balemans CE, Reichert LJ, van Schelven BI, et al. Epidemiology of contrast material-induced nephropathy in the era of hydration. Radiology 2012;263(3):706–13. doi: 10.1148/radiol.12111667.
Rundback JH, Nahl D, Yoo V. Contrast-induced nephropathy. J Vasc Surg 2011;54(2):575–9. doi: 10.1016/j.jvs.2011.04.047.
McDonald JS, McDonald RJ, Comin J, et al. Frequency of acute kidney injury following intravenous contrast medium administration: a systematic review and meta-analysis. Radiology 2013;267(1):119–28. doi: 10.1148/radiol.12121460.
คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ, คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญแห่งชาติด้านการคัดเลือกยา สาขารังสีวินิจฉัย, บัณฑิต เจ้าปฐมกุล. สารช่วยการวินิจฉัยโรคด้านรังสีวินิจฉัย. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มนโยบายแห่งชาติด้านยา สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา; 2560.
Lewington A, MacTier R, Hoefield R, et al. Prevention of contrast induced acute kidney injury (CI-AKI) in adult patients. Kidney 2021;9(1),58–60. doi: 10.22141/2307-1257.9.1.2020.196918
Ngamjarus C, Pattanittum P. n4Studies: application for sample size calculation in health science research Version 2.3 [Application]. 2024 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2567]; เข้าถึงได้จาก: App store: n4Studies.
Wayne WD. Biostatistics: a foundation of analysis in the health sciences. 6th ed. John Hoboken, New Jersey: Wiley & Sons; 1995: 180.
เชษฐา งามจรัส. การคำนวณขนาดตัวอย่าง สำหรับงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: ศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2564.
Hossain MA, Costanzo E, Cosentino J, et al. Contrast-induced nephropathy: pathophysiology, risk factors, and prevention. Saudi J Kidney Dis Transpl 2018;29(1):1–9. doi: 10.4103/1319-2442.225199.
McDonald RJ, McDonald JS, Bida JP, et al. Intravenous contrast material-induced nephropathy: causal or coincident phenomenon? Radiology 2013;267(1):106–18. doi: 10.1148/radiol.12121823.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์