ภาวะอุดกั้น หลอดดำซูพีเรียร์วีนาคาวา ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • พงษ์พัฒน์ พิมพ์สะ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี
  • ศรัณย์ กิจศรัณย์ กลุ่มงานอายุรกรรม รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี
  • ฐิติมา กลมเกลียว กลุ่มงานอายุรกรรม รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลัง เพื่อศึกษาสาเหตุ แนวทางในการวินิจฉัย ผลของการรักษา ระยะเวลาการรอดชีวิต และ ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยภาวะอุดกั้นหลอดเลือดดำาซูพีเรียร์เวนาคาวา (superior vena cava syndrome, SVCS) โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยในที่มารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยใน กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่าง 1 มกราคม 2556 ถึง 31 ธันวาคม 2558 พบมีผู้ป่วยทั้งหมด 42 ราย เป็นเพศชาย 29 ราย เพศหญิง 13 ราย อายุระหว่าง 22-84 ปี อาการสำาคัญของผู้ป่วย คือ หอบเหนื่อย แขนบวม หน้าและคอบวม ส่วนอาการแสดงที่พบได้มาก คือ แขนบวม หน้าและคอบวม และหลอดเลือดดำาชั้นตื้นที่ทรวงอกโป่งพอง ลักษณะภาพถ่ายรังสีผิดปกติที่พบ คือ การขยายของช่องทรวงอก ก้อนภายในปอด ก้อนที่ขั้วปอด และนำ้าในเยื่อหุ้มปอด การวินิจฉัยโดยการ ตัดหรือเจาะต่อมนำ้าเหลือง และการส่องกล้องทางหลอดลมปอด โดยไม่พบการเจาะชิ้นเนื้อผ่านช่องอกด้วยเข็ม สาเหตุของภาวะ SVCS เกิดจากโรคมะเร็งปอดมากที่สุด ภาวะแทรกซ้อนที่พบ คือ ภาวะทางเดินหายใจ ส่วนบนอุดกั้นฉับพลัน และภาวะนำ้าในเยื่อหุ้มหัวใจ การรักษาส่วนใหญ่เป็นการฉายรังสีรักษา ส่วนสาเหตุ การเสียชีวิตจากภาวะอุดตันหลอดเลือดดำาซูพีเรียร์เวนาคาวา การติดเชื้อในกระแสเลือด และความดันตำ่า
จากหัวใจบีบตัวไม่ได้ การติดตามระยะเวลาการรอดชีวิต (median overall survival) พบว่าอยู่ที่ 110 วัน โดยสรุปแล้ว สาเหตุส่วนใหญ่ของภาวะอุดกั้นหลอดเลือดดำาซูพีเรียร์เวนาคาวาเป็นจากโรคมะเร็งปอด ซึ่งการ วินิจฉัยสาเหตุของภาวะดังกล่าวจากผลทางพยาธิวิทยาจะมีผลต่อแนวทางการรักษา ภาวะแทรกซ้อน และ ผลการรักษา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-10