การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยขณะคาท่อระบายทรวงอก โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ในหอผู้ป่วยอายุรกรรม

ผู้แต่ง

  • ศิริธร ศิริแก้ว พยาบาลวิชาชีพ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธาน

คำสำคัญ:

ท่อระบายทรวงอก, ผู้ป่วยอายุรกรรม, แนวปฏิบัติการพยาบาล, การพยาบาลผู้ป่วยที่ใส่ท่อระบาย, ทรวงอก

บทคัดย่อ

          การใส่ท่อระบายทรวงอก (intercostal chest drain, ICD) เป็นหัตถการสำาคัญเพื่อระบายเลือด ลมนำ้า หรือหนอง ออกจากช่องเยื่อหุ้มปอด สถิติในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 4 ระหว่างปี พ.ศ. 2556-2558 มีการทำาหัตถการนี้เพิ่มมากขึ้น จากการวิเคราะห์ข้อมูลการปฏิบัติงานพบว่า 1) หน่วยงานไม่มีแนวทางปฏิบัติการพยาบาลที่ชัดเจน 2) พบอุบัติการณ์ขณะผู้ป่วยใส่ท่อระบายทรวงอก 3) บุคลากรมีการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ใส่ท่อระบายทรวงอกที่แตกต่างกัน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยขณะคาท่อระบายทรวงอกในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ โดยใช้กรอบแนวคิดของ “ซูคัพ” ในการพัฒนา หลักฐานเชิงประจักษ์ที่นำามาใช้ในการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลประกอบด้วยงานวิจัยและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 9 เรื่อง โดยคำานึงถึงคุณภาพของการศึกษา การนำาไปใช้ และบริบทของการทำางาน การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อเสนอแนะที่ได้จากงานวิจัยนำาไปยกร่างเป็นแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยขณะใส่ท่อระบายทรวงอกในหอผู้ป่วยอายุรกรรม ได้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยขณะใส่ท่อระบายทรวงอกทั้งหมด 2 กิจกรรมใหญ่ คือ กิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยขณะใส่ท่อระบายทรวงอกเพื่อการระบายที่มีประสิทธิภาพ 18 ข้อ และกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดและการป้องกันภาวะแทรกซ้อน 8 ข้อ หลังจากนั้นนำาแนวปฏิบัติการพยาบาลไปตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน โดย ใช้เกณฑ์ AGREE II พบว่าการประเมินคุณภาพได้ค่าคะแนน ร้อยละ 85-90 การนำาแนวปฏิบัติไปใช้ในหอผู้ป่วยกับผู้ป่วย 10 ราย พบว่าช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนและผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูสภาพปอดได้ดี ขณะที่พยาบาลผู้ปฏิบัติเกือบทั้งหมดลงความเห็นว่าสามารถให้การพยาบาลตามแนวทางปฏิบัตินี้ได

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-15