ความชุกของผลเชิงลบที่ได้จากการตรวจด้วย เครื่องถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

ผู้แต่ง

  • ศิวัช ธรรมาภิวันท์ นักศึกษาแพทย์. ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี.
  • ภัสรา สังฆมณี นักศึกษาแพทย์. ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี.
  • สุรำาพันธ์ สุรำาไพ นักศึกษาแพทย์. ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี.
  • ศศิพัชร์ แต้ภักดี นักศึกษาแพทย์. ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี.
  • ประภัสสร ขุขันธิน นักศึกษาแพทย์. ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี.
  • นิตยา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นักรังสีการแพทย์. กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ผลเชิงลบ เครื่องถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ (CT) โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

บทคัดย่อ

          การใช้บริการเครื่องถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ (computed tomography, CT) ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์มีจำานวนเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ หากเทียบกับโรงพยาบาลตติยภูมิระดับใกล้เคียงกันพบว่ามีการใช้บริการสูงกว่าประมาณ 2.55 เท่า ซึ่งส่งผลต่อภาระงาน ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยอาจได้รับเกินความจำาเป็น งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลังเพื่อศึกษาความชุกของผลเชิงลบที่ได้จากการตรวจผู้ป่วยด้วยเครื่องถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ที่มีผลอ่านโดยรังสีแพทย์ ณโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้แบบบันทึกทางการแพทย์ บันทึกข้อมูลผลภาพทางรังสีจากการตรวจด้วยเครื่องถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ที่มีผลอ่านจากรังสีแพทย์ ในผู้ป่วยที่มาตรวจระหว่าง วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 30 เมษายน 2558 จำานวน 426 ครั้ง จากการสุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อหาความชุก ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ 95%CI รวมทั้ง ใช้ Pearson chi-square และ Fisher’s exact test ในการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและผลเชิงลบ จากการตรวจดังกล่าว พบว่าความชุกของผลเชิงลบมีร้อยละ 21.1 (95%CI: 17.4-25.4) ผลผิดปกติ ได้ผล เหมือนและสอดคล้องกับเหตุผลที่ส่งตรวจ เป็นผลอ่านส่วนใหญ่ (ร้อยละ 67.6) สำาหรับข้อมูลที่มีความ สัมพันธ์ทางสถิติอย่างมีนัยสำาคัญต่อผลเชิงลบได้แก่ แผนกที่ส่ง ตรวจอายุของผู้ป่วย อวัยวะที่ต้องตรวจเหตุผลในการส่งตรวจ และการวินิจฉัยเบื้องต้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-01