การกระทำผิดต่อเด็กและการทารุณกรรมทางเพศต่อเด็ก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี ปี พ.ศ. 2555-2557

ผู้แต่ง

  • พึงเนตร สฤษดิ์นิรันดร์ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี
  • จิรวัฒน์ มูลศาสตร์ กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี
  • นันท์นภัส คันธจันทร์ กลุ่มงานสวัสดิการสังคม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การกระทำาผิดต่อเด็ก การละเลย/ทอดทิ้งเด็ก การทารุณกรรมเด็ก การทารุณกรรมทางเพศ ต่อเด็ก

บทคัดย่อ

          การศึกษาข้อมูลย้อนหลังในเด็กที่ได้รับการการวินิจฉัยว่าถูกกระทำาผิด ทั้งการละเลย/ทอดทิ้งและการทารุณกรรม และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย จากบันทึกข้อมูลของศูนย์ช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกกระทำารุนแรง โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ระหว่างปี พ.ศ.2555-2557 เพื่อศึกษาสภาพของปัญหาข้อมูลของเด็กที่ถูกกระทำา และความสัมพันธ์ของผู้กระทำากับเด็ก พบมีผู้ป่วยเด็กที่ถูกกระทำาผิด จำานวน 232 ราย ในจำานวนนี้เกือบทั้งหมดเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 93.97) โดยในภาพรวมนั้นส่วนใหญ่เป็นการทารุณ
กรรมทางเพศมากที่สุด ร้อยละ 77.16 และเกือบทั้งหมดเป็นเพศหญิงที่ถูกกระทำา (177 : 2 ราย) รองลงมา เป็นการทารุณกรรมทางร่างกาย ซึ่งพบได้ ร้อยละ 19.40 และก็ยังพบในเพศหญิงมากกว่าเช่นกัน (34 : 11 ราย) ในขณะที่การทารุณกรรมทางจิตใจและการละเลย/ทอดทิ้งพบได้ในสัดส่วนที่น้อยกว่ามาก โดยพบ เพียงร้อยละ 3.02, 0.43 ตามลำาดับ อายุของเด็กที่ถูกกระทำานั้นส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุมากกว่า 10 ปี ถึง อายุ 18 ปี ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 82.33 ของเด็กที่ถูกกระทำาทั้งหมด รวมทั้งในเด็กที่ถูกทารุณกรรมทางเพศและทาง
ร่างกาย ในด้านความสัมพันธ์ของผู้กระทำาผิดกับตัวเด็กนั้นมีความแตกต่างกันไปตามประเภทของการกระทำาผิดต่อเด็ก สำาหรับการทารุณกรรมทางจิตใจต่อเด็กนั้นส่วนใหญ่พบว่าบิดาหรือมารดาของเด็กเป็นผู้กระทำขณะที่การทารุณกรรมทางร่างกายพบว่าผู้กระทำาเป็นบิดา แฟน และคนแปลกหน้า มากที่สุด ส่วนของการ ทารุณกรรมทางเพศจะพบว่าผู้กระทำามากที่สุดเป็นแฟน คนรู้จัก คนแปลกหน้า และญาติ ตามลำาดับคำสำคัญ การกระทำาผิดต่อเด็ก การละเลย/ทอดทิ้งเด็ก การทารุณกรรมเด็ก การทารุณกรรมทางเพศต่อเด็ก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-01