การรักษากระดูกต้นขาส่วนปลายหักด้วยการใช้แกนดามยึดตรึง ในโพรงกระดูกต้นขาแบบใส่ย้อนจากข้อเข่า (retrograde femoral nail)

ผู้แต่ง

  • เกื้อกูล พิทักษ์ราษฎร์ กลุ่มงานศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลยโสธร

คำสำคัญ:

กระดูกต้นขาส่วนปลายหัก, การใช้แกนดามยึดตรึงในโพรงกระดูกต้นขาแบบใส่ย้อนจากข้อเข่า

บทคัดย่อ

          การรักษากระดูกต้นขาส่วนปลายหักมีความยุ่งยากและภาวะแทรกซ้อนสูง การรักษาด้วยวิธีดั้งเดิม เช่นการยึดตรึงกระดูกด้วยแผ่นเหล็ก dynamic condylar screw (DCS) หรือ condylar blade plate จำเป็นต้องเปิดแผลขนาดใหญ่ และมีการรบกวนเนื้อเยื่ออ่อนรอบบริเวณกระดูกหักมาก ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา ได้แก่ กระดูกติดช้า กระดูกไม่ติด การติดเชื้อหลังผ่าตัด รวมทั้งข้อเข่าติด เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าวจึงได้ปรับเปลี่ยนวิธีการรักษากระดูกต้นขาส่วนปลายหักเป็นการผ่าตัดใส่เหล็กแกนยึดตรึงในโพรงกระดูกแบบใส่ย้อนขึ้นไปจากข้อเข่า (retrograde femoral nail) รายงานนี้ได้ทำาการศึกษา ย้อนหลังในผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาด้วยวิธีนี้ในโรงพยาบาลยโสธรระหว่างปี พ.ศ. 2551-2554 จำนวน ทั้งหมด 32 ราย ซึ่งได้ติดตามการรักษาเฉลี่ย 16 เดือน (9.4-24.2 เดือน) อายุผู้ป่วยเฉลี่ย 53 ปี (25-73 ปี) พบว่ามีระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัดเฉลี่ย 70 นาที (50-110 นาที) ระยะเวลาที่กระดูกติดเฉลี่ย 14.4 สัปดาห์ (12-30 สัปดาห์) ผู้ป่วยกระดูกติดตั้งแต่การผ่าตัดครั้งแรกจำานวน 31 ราย (ร้อยละ 96.88) ผู้ป่วยทั้งหมด หลังผ่าตัดพบแนวกระดูกปกติจำานวน 29 ราย (ร้อยละ 90.64) พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อเข่าปกติ (135º) จำนวน 23 ราย (ร้อยละ 71.88) และไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อหลังการผ่าตัด จะเห็นได้ว่าการ รักษากระดูกต้นขาส่วนปลายหักด้วยวิธี retrograde femoral nail ให้ผลการรักษาดี กระดูกติดเร็ว ภาวะแทรกซ้อนต่ำา เหมาะสำาหรับกระดูกหักตำาแหน่งนี้ โดยเฉพาะชนิด A1, 2, 3 และ C1, 2 บางราย ตาม AO/ OTA classification

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-01