อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีผลให้เกิดภาวะหัวใจเต้นช้า ขณะได้รับการระงับความรู้สึกทางช่องน้ำไขสันหลัง
บทคัดย่อ
ภาวะหัวใจเต้นช้าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้หลังการระงับความรู้สึกทางช่องน้ำาไขสันหลัง และสามารถนำไปสู่ภาวะหัวใจหยุดเต้นได้ การทราบถึงอุบัติการณ์และปัจจัยที่มีผลให้เกิดภาวะหัวใจเต้นช้าเป็นสิ่งสำาคัญที่บุคลากรทางวิสัญญีควรมีความรู้เป็นอย่างดี เพื่อป้องกันอันตรายและให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยมากขึ้น จึงได้ทำาการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังในผู้ป่วยโรงพยาบาลวารินชำาราบที่ได้รับการระงับความรู้สึกทางช่องน้ำาไขสันหลังเพื่อผ่าตัด เพื่อศึกษาถึงอุบัติการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะหัวใจเต้นช้า ขณะได้รับการระงับความรู้สึกทางช่องน้ำาไขสันหลัง โดยเก็บข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย ข้อมูลการได้รับยาระงับความรู้สึก และข้อมูลการผ่าตัดจากใบบันทึกทางวิสัญญี ระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม พ.ศ. 2554 วิเคราะห์ข้อมูลโดย chi-square test และ multiple logistic regressions รายงานผลทางสถิติโดย 95% CI และ p-value พบว่ามีผู้ป่วยทั้งหมด 294 ราย อุบัติการณ์การเกิดภาวะหัวใจเต้นช้าเท่ากับร้อยละ 9.2 โดยมีภาวะหัวใจหยุดเต้นร่วมด้วย 1 ราย ระยะเวลานับตั้งแต่ได้รับยาชาจนเกิดภาวะหัวใจเต้นช้าเฉลี่ย 37.3 นาที (2-90 นาที) ปัจจัยเสี่ยงที่มีนัยสำาคัญ คือ เพศชาย อัตราการเต้นของหัวใจก่อนผ่าตัด ≤ 60 ครั้งต่อ นาที และการได้รับยากลุ่มเบนโซไดอะเซปีน