มะเร็งท่อน้ำดี

ผู้แต่ง

  • ศรัญญา ประทัยเทพ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
  • ปริญญา ชำานาญ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งท่อน้ำดีภายในตับ มะเร็งท่อน้ำดีภายนอกตับ

บทคัดย่อ

          มะเร็งท่อน้ำดี (cholangiocarcinoma) เป็นมะเร็งในระบบทางเดินอาหารที่มีความสำคัญ พบได้บ่อยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย บทความนี้กล่าวถึงนิยามของโรคและข้อมูลทางระบาดวิทยาของมะเร็งท่อน้ำดี แนวโน้มอุบัติการณ์การเกิดโรค และปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคดังกล่าว ซึ่งมะเร็งท่อน้ำดีสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามตำาแหน่งของมะเร็ง คือ มะเร็งท่อน้ำดีภายในตับ (intrahepatic cholangiocarcinoma) และมะเร็งท่อน้ำดีภายนอกตับ (extrahepatic cholangiocarcinoma) ผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีมักจะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการในระยะท้ายๆ โดยส่วนใหญ่มักมาด้วยอาการตาเหลืองตัวเหลืองและอาการแน่นท้อง การตรวจวินิจฉัยอาศัยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย การตรวจหน้าที่ของตับ และการตรวจทางรังสีวิทยา ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ว่ามีวิธีการใดมีประโยชน์ในการคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดีได้ สำาหรับการแบ่งระยะของโรคนั้นแตกต่างกันตามตำแหน่งของมะเร็ง กล่าวคือหากเป็นมะเร็งท่อน้ำดีภายในตับนั้นปัจจุบันแบ่งระยะของโรคโดยใช้เกณฑ์ของ American Joint Committee on Cancer 2010 TMN 7th Edition ส่วนการแบ่งระยะของโรคในมะเร็งท่อน้ำดีภายนอกตับนั้นใช้เกณฑ์ของ Bismuth-Corlette classification เป็นหลัก การรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดีนั้นขึ้นกับตำาแหน่งและระยะ ของโรค แต่การรักษาหลักเป็นการผ่าตัด โดยที่การผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกออกได้หมดเป็นโอกาสเดียวที่จะรักษาให้หายขาดได้ ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาเสริมที่จะทำาให้อัตรารอดชีวิตของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ส่วนผู้ป่วย ที่มะเร็งแพร่กระจายแล้วนั้นการรักษาโดยวิธีประคับประคองยังคงเป็นวิธีที่เหมาะสม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-01