การส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองและผลการตรวจทางรังสี ในผู้ป่วยจากงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
คำสำคัญ:
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์, กลาสโกว์โคมาสเกล, ภาพรังสีสมองบทคัดย่อ
การใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์มีเป็นจํานวนมาก และเพิ่มขึ้นทุกปี ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยมาจากงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน ซึ่งการส่งตรวจขึ้นอยู่กับอาการทางคลินิก และคะแนน Glasgow coma scaleของผู้ป่วย การศึกษาย้อนหลังครั้งนี้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองกับผลการตรวจทางรังสีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง และศึกษากลุ่มอาการทางคลินิกหรือข้อบ่งชี้ที่สําคัญของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ และมีคะแนน GCS =15 ที่สัมพันธ์ กับผลเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์สมองที่ผิดปรกติโดยการทบทวนบัตรผู้ป่วยนอก ใบส่งตัวผู้ป่วย ใบขอตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง และภาพทางรังสีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองของผู้ป่วย ที่ส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองจากงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม พ.ศ. 2549 จํานวนผู้ป่วยทั้งหมด 454 ราย อายุเฉลี่ย 43.08± 13.30 ปี เพศชายร้อยละ 69.16 พบมีผู้ป่วยที่ผลการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองผิดปรกติมากกว่าที่ปรกติได้แก่กลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินทั่วไป (118 รายต่อ 93 ราย , P=0.07 ) และผู้ป่วยบาดเจ็บที่ GCS ต่ํากว่า 14 ( 64 ราย ต่อ 32 ราย , P < 0.05 ) ในขณะที่ผู้ป่วยบาดเจ็บ GCS 15 จํานวน 131 รายมีผลที่ผิดปรกติน้อยกว่าปรกติ (14 รายต่อ 117 ราย , P < 0.001) อาการทางคลินิก และข้อบ่งชี้ที่มีความสัมพันธ์กับเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองผิดปรกติได้แก้ ปวดศีรษะ อาการของกะโหลกส่วนฐานสมองแตก กะโหลกศีรษะแตก คลื่นไส้/อาเจียน ซึมลง และ จําเหตุการณ์ไม่ได้ (P< 0.01) การศึกษาในครั้งนี้ให้ผลทั้งที่สอดคล้อง และขัดแย้งกับการศึกษาอื่นๆ ที่ผ่านมา ทั้งที่เป็นงานวิจัยทั่วไปและงานวิจัยที่พัฒนาออกมาเป็นคู่มือ ดังนั้นการนําคู่มือใดๆ มาใช้จึงควรทําการทดสอบก่อนว่า เหมาะสมที่จะนํามาใช้ในหน่วยรักษาพยาบาลนั้นๆหรือไม