การรั่วของถุงมือที่ใช้ในการเย็บแผลฝีเย็บจากการคลอด ระหว่างการสวมถุงมือหนึ่งชั้นและสองชั้น
คำสำคัญ:
การรั่วของถุงมือ, การสวมถุงมือสองชั้น, การสวมถุงมือหนึ่งชั้น, การเย็บแผลฝีเย็บบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการรั่วของถุงมือที่ใช้ในการเย็บแผลฝีเย็บจากการคลอด ระหว่างการสวมถุงมือหนึ่งชั้นและการสวมถุงมือสองชั้นที่ทั้งชั้นนอกและชั้นในรั่วในตําแหน่่งที่ตรงกัน
วิธีการ: สตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการเย็บแผลฝีเย็บจากการคลอดจํานวน 437 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่สวมถุงมือหนึ่งชั้น 216 คน และกลุ่มที่สวมถุงมือสองชั้น 221 คน และทําการทดสอบการรั่วของถุงมือด้วยการ บรรจุน้ํา ภายหลังจากการเย็บแผลเสร็จ
ผลการศึกษา: จากการศึกษาพบการรั่วของถุงมือที่ใช้ในการเย็บฝีเย็บในกลุ่มสวมถุงมือหนึ่งชั้น 11 คน (ร้อยละ 5.09) ในกลุ่มสวมถุงมือสองชั้นพบการรั่วของถุงมือชั้นนอก 15 คน (ร้อยละ 6.79) พบการรั่วของถุงมือชั้นใน 2 คน (ร้อยละ 0.9) และพบการรั่วของถุงมือทั้งชั้นนอกและชั้นในรั่วในตําแหน่งที่ตรงกัน 1 คน (ร้อยละ 0.45) เมื่อทดสอบทางสถิติพบว่าจํานวนการรั่วของถุงมือในการสวมถุงมือหนึ่งชั้นมากกว่าการรั่วของถุง
มือในกลุ่มที่สวมถุงมือสองชั้นที่ทั้งชั้นนอกและชั้นในรั่วในตําแหน่งที่ตรงกันอย่างมีนัยสําคัญ (P =0.002)แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญของจํานวนการรั่วระหว่างถุงมือหนึ่งชั้นและการรั่วของถุงมือชั้นนอกในกลุ่มที่สวมถุงมือสองชั้น นอกจากนั้นยังไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญของการรั่วของถุงมือกับการ รับรู็ว่าถุงมือรั่ว ระดับความลึกของแผลฝีเย็บ ระยะเวลาที่ใช้เย็บแผล และช่วงเวรที่เย็บแผล
สรุป: การสวมถุงมือสองชั้นในการเย็บแผลฝีเย็บจากการคลอดสามารถลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสเลือด ของผู้ป่วยเมื่อเปรียบเทียบกับการสวมถุงมือหนึ่งชั้นได้อย่างมีนัยสําคัญ