ผลการรักษาภาวะหักร่วมกับมีกระดูกสูญหายของกระดูก tibia ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

ผู้แต่ง

  • วุฒิ กวีวรญาณ กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

กระดูกหน้าแข้งหักร่วมกับมีภาวะเนื้อกระดูกสูญหาย, กระดูกทดแทน, ระยะเวลาในการติดของกระดูก

บทคัดย่อ

บทนำ: ภาวะหักของกระดูก tibia ร่วมกับมีกระดูกสูญหายเป็นภาวะที่พบเจอได้บ่อย การหายไปของเนื้อกระดูกส่งผลให้มีภาวะแทรกซ้อนต่อการหายของกระดูก การรักษาด้วยการใช้กระดูกหรือวัสดุทดแทนกระดูกในบริเวณที่มีการขาดหายไปของเนื้อกระดูกสามารถช่วยให้กระดูกติดได้ดีขึ้น การศึกษานี้ต้องการผลการรักษาภาวะหักร่วมกับมีการสูญหายของเนื้อกระดูก tibia ด้วยการใช้ autogenous bone graft และ freeze-dried allograft ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
วิธีดำเนินการวิจัย: การศึกษานี้เป็นแบบย้อนหลังซึ่งได้รวบรวมผู้ป่วยทั้งหมด 12 รายที่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยว่ามีภาวะหักร่วมกับมีเนื้อกระดูกสูญหายของกระดูก tibia แบ่งเป็นชาย 7 คน และหญิง 5 คน อายุเฉลี่ย 43 ปี การศึกษาได้วิเคราะห์ถึงระยะเวลาในการติดของกระดูกหลังจากการผ่าตัดรักษาและใส่กระดูกทดแทน ระหว่างการใช้กระดูกทดแทน autogenous bone graft และ freeze-dried bone allograft
ผลการศึกษา: ระยะเวลาในการหายของกระดูก tibia ด้วยการใช้ autogenous bone graft เท่ากับ 6.5 (3.9-9.9) เดือน ส่วนระยะเวลาในการหายของกระดูก tibia ด้วยการใช้ freeze-dried bone allograft เท่ากับ 4.1(2.2-5.0) เดือน พบว่าทั้ง 2 กลุ่มของการรักษาไม่พบมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: การรักษาภาวะหักร่วมกับมีเนื้อกระดูกสูญหายของกระดูก tibia ด้วยการใช้ freeze-dried allograft ได้ผลดีเทียบเท่ากันกับการใช้ autogenous bone graft ในแง่ของระยะเวลาที่ใช้ในการติดของกระดูก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-22