อุบัติการณ์ของภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันและกึ่งเฉียบพลันของผู้ป่วยโรค กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST segment ยกสูง ที่ได้รับการรักษาโรค หัวใจและหลอดเลือดผ่านสายสวนในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ โดยการศึกาาย้อนหลังเชิงพรรณนา 5 ปี
คำสำคัญ:
ภาวะแทรกซ้อน, การขยายหลอดเลือดโดย ใช้บอลลูน, โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST segment ยกสูงบทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST segment ยกสูง (STEMI) เป็นปัญหาทางระบบ สาธารณะสุขที่สําคัญของประเทศไทย แนวทางการรักษาหลักของโรค STEMI คือการเปิดหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งใน ปัจจุบันแนะนําให้รักษาด้วยการขยายหลอดเลือดโดยใช้บอลลูน (PPCI) มากกว่าการรักษาโดยการใช้ยาละลาย ลิ่มเลือดเนื่องจากมีอัตราการตายและภาวะแทรกซ้อนที่ต่ํากว่า อย่างไรก็ตามจากการศึกษาในอดีตหลายการศึกษา พบว่าการรักษา STEMI ด้วย PPCI ยังคงพบภาวะแทรกซ้อนภายหลังการรักษาด้วย PPCI ได้หลายอย่าง
วัสดุและวิธีการ: ศึกษาข้อมูลของอุบัติการณ์ของภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันและกึ่งเฉียบพลันของผู้ป่วยโรค STEM ที่ได้รับการรักษาด้วย PPCI ได้แก่ Mechanical complication ภาวะเลือดออกผิดปกติ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันใน ขตเลือดยันหลอดเลือดแดงของหัวใจ และภาวะไตวายเฉียบพลันจากการได้รับสารทึบแสงขณะทํา PCI (CIN)
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยในการศึกษานี้มีทั้งหมด 804 คน พบ Mechanical complication 3 คน (ร้อยละ 0.4) ซึ่งพบว่าเสียชีวิตจากภาวะ Mechanical complication ชนิดผนังกล้ามเนื้อหัวใจฉีกขาดทั้งหมด พบ Bleeding complication 17 คน (ร้อยละ 2.1) โดยส่วนใหญ่เป็น Gastrointestinal hemorrhage (11 คน คิดเป็นร้อยละ 64.7) พบ Stent thrombosis 3 คน (ร้อยละ 0.4) และพบ CIN 68 คน (ร้อยละ 9.8)
สรุป: งานวิจัยนี้พบว่าอุบัติการณ์ของภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันและกึ่งเฉียบพลันของผู้ป่วยโรค STEMI ที่ได้รับ การรักษาด้วย PPCI ต่ํากว่าการศึกษาก่อนหน้า ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้เป็นอุปสรรคที่สําคัญต่อการรักษาผู้ป่วย โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST segment ยกสูง ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น รวมไปถึงเป็นข้อมูลพื้นฐาน ที่สําคัญต่อการนําไปศึกษาเพิ่มเติมในอนาคต