ประสิทธิผลและความปลอดภัยของการนวดแบบราชสํานักในการฟื้นฟูผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองตีบระยะกึ่งเฉียบพลัน ในหน่วยบริการสาธารณสุขภาครัฐ

ผู้แต่ง

  • วิเชียร ชนะชัย กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

คำสำคัญ:

นวดไทยแบบราชสํานัก, โรคหลอดเลือดสมองตีบ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การนวดไทยแบบราชสํานักใช้ร่วมกับการรักษาแบบมาตรฐานในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ทําให้ผู้ป่วยมีแนวโน้มในการฟื้นตัวของความสามารถในการทํากิจวัตรประจําวัน และคุณภาพชีวิตที่ดี การศึกษานี้ ต้องการวัดประสิทธิผลและความปลอดภัยของการนวดไทยแบบราชสํานัก ในการฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบ ระยะกึ่งเฉียบพลัน

วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบเชิงทดลอง (Experimental Design) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น โรคหลอดเลือดสมองชนิดหลอดเลือดตีบหรืออุตตัน อายุระหว่าง 30 - 75 ปีไม่มีการเปลี่ยนแปลงการรักษาภายใน 48 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีระยะเวลาหลัง attack 14 - 30 วัน มีระดับความรุนแรงของโรค 4 15 คะแนน ตามเกณฑ์ เครื่องมือวัดระดับความรุนแรงของโรค (National Institute of Health Stroke Scale) จํานวน 140 คน แบ่งเป็นก ลุ่มทดลอง 70 คน กลุ่มควบคุม 70 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม - ธันวาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ เชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานใช้ Independent T test เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลการรักษาระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม วิเคราะห์ข้อมูลความปลอดภัยของการนวตจากรายงานการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจําวัน และคุณภาพชีวิต แตกต่างจาก กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (Xทดลอง = 15.92, Xควบคุม = 14.21 , P-value = 0.001 และ X ทดลอง = 0.74, Xควบคุม = 0.61 , P-value = 0.001 ตามลําดับ) และกลุ่มทดลองที่ได้รับการนวดไทยแบบราชสํานัก ไม่พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการนวด สรุป: การนวดไทยแบบราชสํานักร่วมกับการรักษามาตรฐาน ฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบระยะกึ่งเฉียบพลัน ให้มี ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจําวัน และคุณภาพชีวิตที่ดี และการนวดไทยที่ถูกวิธี ไม่ทําให้เกิดเหตุการณ์ ไม่พึงประสงค์

Author Biography

วิเชียร ชนะชัย, กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

 

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-09