ผลการให้บริการกายภาพบําบัดในคลินิกชะลอไตเสื่อมของ หน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

ผู้แต่ง

  • นิจกานต์ ตันอุ่นเดช นักกายภาพบําบัด กลุ่มงานกายภาพบําบัด โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
  • ปิยพร วริสาร นักกายภาพบําบัด กลุ่มงานกายภาพบําบัด โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
  • สุทธิกานต์ จินตะเวช นักกายภาพบําบัด กลุ่มงานกายภาพบําบัด โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
  • วนัชพร สุภเสถียร นักกายภาพบําบัด กลุ่มงานกายภาพบําบัด โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

กายภาพบําบัต, ไตเสื่อม, ออกกําลังกาย

บทคัดย่อ

          โรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease, CKD) เป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลกรวมทั้งประเทศไทย ผู้ป่วยจะเหนื่อยง่าย การเคลื่อนไหวร่างกายสดลง ส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง สมรรถภาพร่างกายและคุณภาพชีวิต ลดลง นักกายภาพบําบัดเป็นหนึ่งในทีมสหวิชาชีพที่คลินิกชะลอไตเสื่อมในหน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล สรรพสิทธิประสงค์ คณะผู้วิจัยได้มีการพัฒนาโปรแกรมกายภาพบําบัตและโปรแกรมการออกกําลังกายให้สอดคล้อง กับปัญหาของผู้ป่วย แต่ยังไม่ได้มีการประเมินผลการดําเนินงาน ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของการให้บริการทางกายภาพบําบัดต่อการเปลี่ยนแปลงของสมรรถภาพร่างกายของผู้ป่วยคลินิกชะลอไตเสื่อม

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการเป็นการวิจัยกึ่งทตลอง (Quasi-Experimental) ในอาสาสมัครเป็นผู้ป่วย โรคไต เรื้อรังในคลินิกซะลอไตเสื่อมระยะที่ 2-3 ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ ผู้ป่วยจะได้รับการซักประวัติ ตรวจประเมิน สมรรถภาพร่างกาย ให้โปรแกรมกายภาพบําบัตและการออกกําลังกายเป็นรายบุคคล รวมทั้งให้แผ่นพับประกอบ เพื่อกลับไปทําต่อเนื่องที่บ้านเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์และมีการประเมินผลการศึกษาพบว่าอาสาสมัครจํานวน 56 คน อายุเฉลี่ย 72 +7 เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ร้อยละ 91 เป็นโรคไตเสื่อมระยะที่ 3 โรคประจําตัวที่พบ 3 อันดับแรกในอาสาสมัครกลุ่มนี้ คือโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือตสูงและเบาหวาน ผลการประเมินความ แข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนโดยใช้วิธีนั่งยกน้ําหนัก 30 วินาที พบว่าหลังจากได้รับโปรแกรมการออกกําลังกายมีความ แข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิตที่ P< 0.0001 (จํานวนครั้งในการยกน้ําหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2. 4 2.1 ครั้ง) ด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาประเมินโดยใช้วิธีสุกนั่ง 5 ครั้ง พบว่าความแข็งแรงกล้ามเนื้อขา เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ P < 0.0001 (เวลาที่ใช้ทดสอบลตลงเฉลี่ย 1.4 + 1.4 วินาที) และในด้านการ ทรงตัวประเมินโดยใช้วิธีเดินและกลับตัว 3 เมตร พบว่าอาสาสมัครมีการทรงตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ P < 0.0001 เช่นเดียวกัน (เวลาที่ใช้ทดสอบสตลงเฉลี่ย 1.3+1.6 วินาที) ดังนั้นการพัฒนาบริการกายภาพบําบัดและ การปรับปรุงโปรแกรมการออกกําลังกายให้สอดคล้องกับปัญหาในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 2-3 และให้กลับไปทํา ต่อเนื่องที่บ้านเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ สามารถเพิ่มการทรงตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและกล้ามเนื้อแขน ได้โดยไม่พบรายงานการเกิดอันตรายต่อผู้ป่วย จะส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถคงสภาพสมรรถภาพของร่างกายและดํารง ชีวิตในสังคมได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-09