การศึกษาย้อนหลังผลการดูแลผู้ป่วยเท้าเบาหวานของคลินิกเท้าเบาหวาน โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • สุรัชดา วิชชุตานนท์ แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต อำ เภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

คำสำคัญ:

เบาหวานชนิดที่ 2, แผลเท้าเบาหวาน, การตัดขา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินและติดตามผลการดูแลผู้ป่วยเท้าเบาหวานหลังจากเข้ารับการรักษาในคลินิกเท้าเบาหวาน โรงพยาบาลวชิระภูเก็ตเป็นเวลา 12 เดือน 

วิธีดำ เนินการวิจัย:การศึกษาเชิงพรรณนาจากการสืบค้นข้อมูลเวชระเบียนย้อนหลังของผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกราย ที่มารับการรักษาจากคลินิกเท้าเบาหวานของโรงพยาบาลวชิระภูเก็ตในปีพ.ศ. 2561-2564 โดยเก็บข้อมูล ข้อมูล ทั่วไป ข้อมูลเกี่ยวกับโรค และ การวินิจฉัยตามแผลที่เท้า ผลลัพธ์หลักคือ ผลการรักษาเท้าเบาหวาน โดยแบ่งออก เป็น 5 กลุ่ม กลุ่ม No ulcer กลุ่ม Ongoing กลุ่ม Healed กลุ่ม New ulcer และ กลุ่ม Amputated การวิเคราะห์ ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาข้อมูลปริมาณด้วยค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลคุณภาพด้วยจำ นวนและร้อยละ 

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 118 ราย ร้อยละ 50.8 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 60.5 ปีผลการดูแลผู้ป่วยเท้าเบาหวาน หลังจากเข้ารับการรักษาในคลินิกเท้าเบาหวานเป็นเวลา 12 เดือนอันดับแรก ได้แก่กลุ่มผู้ป่วยที่มีการหายของแผล ที่เท้าร้อยละ 71.2 สองอันดับต่อมาได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่เคยเป็นแผลที่เท้าหรือไม่เกิดแผลใหม่หลังจากที่แผลที่ เท้าหายแล้วเป็นระยะ 12 เดือนร้อยละ 9.3 และกลุ่มผู้ป่วยที่แผลเท้าเบาหวานที่มีการงอกขยายของเยื่อบุผิวยังไม่ สมบูรณ์ร้อยละ 9.3 รองลงมาคือกลุ่มผู้ป่วยที่การเกิดแผลซํ้าใหม่ที่เท้าร้อยละ 5.4 ส่วนกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา โดยการตัดอวัยวะบางส่วนร้อยละ 5.1 

สรุป: ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับการรักษาจากคลินิกเท้าเบาหวานของโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ผลการดูแลผู้ป่วย เท้าเบาหวานหลังจากเข้ารับการรักษาในคลินิกเท้าเบาหวานเป็นเวลา 12 เดือน กลุ่มผู้ป่วยที่มีการหายของแผลที่ เท้ามากที่สุดร้อยละ 71.2 โดยเป็นผู้ป่วยแผลกดทับที่เกิดจากเส้นประสาทเสื่อมมีร้อยละ 41.7 และผู้ป่วยทั้งหมด ได้การรักษาโดยการใช้กายอุปกรณ์ร่วมกับการทำแผล 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-26