การศึกษาและทบทวนโรคไข้เดงกี่และไข้เลือดออกเดงกี่ 5 ปี ย้อนหลัง หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลยโสธร
คำสำคัญ:
ไข้เดงกี่, ไข้เลือดออกเดงกี่บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล ไข้เดงกี่และไข้เลือดออกเดงกี่ เป็นโรคที่พบบ่อยเป็นอันดับต้นๆและยังคงเป็นปัญหาสำคัญอย่าง ต่อเนื่อง ของกลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลยโสธร งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอาการ อาการแสดง ผลการตรวจเบื้องต้นทางห้องปฏิบัติการ และลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยไข้เดงกี่ และไข้เลือดออกเดงกี่
วัสดุและวิธีการ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาและเชิงวิเคราะห์ซึ่งศึกษาจากเวชระเบียนประกอบด้วยข้อมูลประวัติส่วน บุคคล อาการทางคลินิก และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไข้เดงกี่ (Dengue fever) ไข้เลือดออกเดงกี่ (Denguehemorrhagic fever)และไข้เลือดออกเดงกี่ที่ช็อค(Dengueshock syndrome) ในผู้ป่วยที่มีอายุ 1 เดือน – 15 ปีที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลยโสธร ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 – 30 กันยายน 2563 จำ นวน 462 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ
ผลการศึกษา พบว่าไข้เดงกี่ (DF) จำ นวน 218 ราย ไข้เลือดออกเดงกี่ (DHF) จำ นวน 229 รายในจำ นวนนี้มี ผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกี่ที่มีภาวะช็อค (Dengue shock syndrome) จำ นวน 15 รายโดยพบมากที่สุดในช่วงเดือน กรกฎาคม สัดส่วนเพศชายและหญิงใกล้เคียงกัน กลุ่มอายุที่พบมากที่สุดคือ 10-15 ปีพบร้อยละ 50.65 ทุกรายมี อาการไข้สูง ระยะเวลาของไข้3 - 9 วัน เฉลี่ย 5.14 วัน ในผู้ป่วยไข้เดงกี่ (DF) และ 5.17 วัน ในผู้ป่วยไข้เลือดออก เดงกี่ (DHF) ส่วนผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกี่ที่มีภาวะช็อค (DSS) ระยะเวลาของไข้4 - 9 วัน เฉลี่ย 6.07 วัน อาการ ปวดศีรษะ อาการปวดเมื่อยตามตัวอาการปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน อาการกดเจ็บที่ลิ้นปี่หรือใต้ชายโครงขวา และ อาการตับโต ระยะไข้ลงพบผื่นขึ้นร่วมกับมีอาการคันตามผิวหนัง (Convalescent rash) พบในผู้ป่วยไข้เลือดออก เดงกี่ที่มีภาวะช็อค (DSS) รองลงมาไข้เลือดออกเดงกี่ (DHF) และไข้เดงกี่ (DF) ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการตรวจ CBC 1 วันก่อนไข้ลด พบว่าผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกี่ (DHF) และไข้เลือดออกเดงกี่ที่มีภาวะช็อค (DSS) ทุกรายมีHemoconcentration โดยที่ Hct เพิ่มขึ้น ≥ 20 % และมีWBC ≤ 5,000 cell/mm3 ร้อยละ 97.8 และ 86.7 ตามลำดับ และผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกี่ที่มีภาวะช็อค (DSS) ทุกรายมีPlatelet < 50,000 cell/mm3
สรุป ไข้เลือดออกมีแนวโน้มเพิ่มจำ นวน มากขึ้นพบมากในช่วงอายุ10-15 ปีพบมากช่วงเดือนกรกฎาคม ถึงเดือน ตุลาคม แต่สามารถพบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปีแพทย์ผู้รักษาจึงต้องคิดถึงโรคนี้ไว้ด้วยเสมอในผู้ป่วยที่มีไข้สูงยังหาสาเหตุ อื่นไม่พบ