การอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกของโรงพยาบาลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

การอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกของโรงพยาบาลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ณัชชารีย์ ศิรพงษ์รัตน์ โสต ศอ นาสิกแพทย์ กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลวารินชำราบ

คำสำคัญ:

Deep neck infection

บทคัดย่อ

หลักการ : การติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกเป็นภาวะฉุกเฉิน การวินิจฉัยที่ถูกต้อง จะทำให้รักษาถูกต้องรวดเร็ว แม้ว่า
ปัจจุบันจะมีอุบัติการณ์และความรุนแรงลดลง เพราะยาปฏิชีวนะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ยังพบผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน
วิธีการศึกษา : เก็บข้อมูลผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกที่โรงพยาบาลวารินชำราบ ได้แก่ ลักษณะทั่วไปของ
ผู้ป่วย ลักษณะที่เกี่ยวกับโรค วิธีการรักษา ระยะเวลานอนโรงพยาบาล และ ภาวะแทรกซ้อน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิง
พรรณนา เปรียบเทียบความสัมพันธ์ปัจจัยเสี่ยงกับ ระยะเวลานอนโรงพยาบาล โดยใช้ independent sample t-test
(p-value < 0.05) และวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยวิธี Logistic regression
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยทั้งหมด 126 ราย เป็นเพศชาย ร้อยละ 57.1 โรคประจำตัวที่พบมากที่สุด คือ เบาหวาน ร้อยละ 31
ตำแหน่งที่พบการติดเชื้อมากที่สุดคือ submandibular space ร้อยละ 44.4 พบการติดเชื้อหลายตำแหน่ง ร้อยละ 14.3
สาเหตุหลักเกิดจากฟันผุ ร้อยละ 49.2 พบภาวะแทรกซ้อน คือ sepsis ร้อยละ 7.1 Upper airway obstruction ร้อยละ
2.4 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลานอนโรงพยาบาล คือ เบาหวาน (p = 0.02) การติดเชื้อหลายตำแหน่ง (p = 0.03)
และการมีภาวะแทรกซ้อน (p = 0.008) ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อน คือ การติดเชื้อหลายตำแหน่ง
ORadj = 9.24, 95%CI: 0.02-0.41, p = 0.02 และผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ORadj = 5.3, 95%CI: 0.03-0.75,
p = 0.02
สรุปผล : การติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกของโรงพยาบาลวารินชำราบ ส่วนใหญ่เกิดจาก ฟันผุ การส่งเสริมสุขภาพช่อง
ฟันจะช่วยป้องกันได้ การวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องรวดเร็วโดยเฉพาะกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ผู้ป่วยที่มีอายุมาก และ
มีการติดเชื้อหลายตำแหน่ง อาจช่วยลดภาวะแทรกซ้อน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-09