ประสิทธิภาพของการใช้ยาทา lidocaine prilocaine cream เปรียบเทียบกับการฉีดยาเฉพาะที่ 2% lidocaine ในการลดความเจ็บปวดของแผลฝีเย็บหลังการคลอดบุตร: การศึกษาทดลองแบบสุ่มมีกลุ่มเปรียบเทียบ

ผู้แต่ง

  • มัลลิกา ตั้งจิตเสถียรกุล กลุ่มงานสูตินรีเวช โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
  • ปิยวดี วุฒิกรสัมมากิจ กลุ่มงานสูตินรีเวช โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
  • ปริญญา ชำนาญ กลุ่มวิจัยโรคทางคาร์ดิโอเมตาบอลิก กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

Lidocaine ชนิดฉีด, แผลฝีเย็บ, การบรรเทาปวดหลังคลอด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการใช้ยาทาเฉพาะที่ Lidocaine-Prilocaine cream และการฉีด 2% Lidocaine HCL ในการลดความเจ็บปวดแผลฝีเย็บหลังการคลอดบุตร

วัสดุและวิธีการ:ในช่วง 24 กันยายน 2022 ถึง 4 ธันวาคม 2022 พบหญิงตั้งครรภ์จำนวน 779 รายมาที่ห้องคลอดโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ด้วยอาการเจ็บครรภ์คลอด หลังจากการคัดออก หญิงตั้งครรภ์จำนวน 42ราย เข้าสู่การศึกษา และถูกแบ่งเป็นสองกลุ่มโดยสุ่ม เพื่อให้ได้รับ 1) 2%Lidocaine HCL ชนิดฉีด (N=21) หรือ2) lidocaine prilocaine creamชนิดทาเฉพาะที่ โดยอาสาสมัครที่ได้เข้ากลุ่ม 2%Lidocaine HCL ชนิดฉีด จะได้รับการฉีดยาที่ฝีเย็บตามแนวของแผลฝีเย็บที่จะตัดด้วย 10 มิลลิลิตรของ2%Lidocaine HCL 5 นาทีก่อนการตัดฝีเย็บ และอีก 10 มิลลิลิตรฉีดที่แผลฝีเย็บหลังการคลอดบุตร ส่วนอาสาสมัครในกลุ่ม lidocaine prilocaine cream จะได้รับการทายา10กรัมด้านนอกของบริเวณฝีเย็บเป็นพื้นที่10ตารางเซ็นติเมตรขณะปากมดลูกเปิดตั้งแต่9เซ็นติเมตรเป็นต้นไป และทายาอีกครั้งด้วย10 กรัม lidocaine prilocaine cream ตามแนวของแผลที่ช่องคลอดด้านในและผิวหนังที่แผลฝีเย็บทางด้านนอกหลังการตัดฝีเย็บและคลอดบุตร ลักษณะพื้นฐานของประชากรและข้อมูลทางคลินิกของอาสาสมัครจะถูกบันทึก ผลการศึกษาเช่นคะแนนความเจ็บปวดจะถูกประเมิณด้วย มาตรวัดความเจ็บปวดด้วยสายตา(VAS)ขนาด10เซ็นติเมตร ทันทีหลังจากการเย็บแผลฝีเย็บ และที่6, 12, 18 และ24ชั่วโมงหลังคลอด รวมถึงความต้องการยาแก้ปวดเพิ่มเติม ระยะเวลาหลังคลอดที่เริ่มขอยาแก้ปวดครั้งแรก และระดับของการรบกวนชีวิตประจำวัน ระดับของความวิตกกังวล และระดับของความพึงพอใจเพื่อนำมาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม

ผลการศึกษา: อาสาสมัครทั้งหมดเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่เคยคลอดบุตรมาแล้วอย่างน้อย 1 ครั้งจำนวน 42 ราย อายุครรภ์ตั้งแต่37-42สัปดาห์ เป็นครรภ์เดี่ยว ทารกอยู่ในท่าศีรษะ ที่นำเข้ามาศึกษานั้น พบว่าลักษณะทางคลินิก ลักษณะทางสูติศาสตร์ และความก้าวหน้าของการคลอดไม่แตกต่างกันในอาสาสมัครทั้งสองกลุ่ม โดยอาสาสมัครทุกรายคลอดทางช่องคลอด ได้รับการตัดฝีเย็บแบบ mediolateral เพื่อช่วยในการคลอดศีรษะทารก และมีการฉีกขาดของแผลฝีเย็บระดับที่สอง พบว่าระดับคะแนนความเจ็บปวดในกลุ่มlidocaine prilocaine cream มีคะแนนต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับยาฉีด lidocaine ที่เวลา 6, 18 และ 24ชั่วโมงหลังคลอด แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ เวลาหลังสิ้นสุดการเย็บซ่อมแผลทันที และที่ 12 ชั่วโมงหลังคลอด. ทั้งนี้ไม่รายงานของภาวะตกเลือดหลังคลอด, การติดเชื้อแผลฝีเย็บ หรือผลข้างเขียงจากยาที่ใช้ในการศึกษา ไม่พบว่ามีความแตกต่างกันของน้ำหนักทารกแรกคลอด และApgar scoreที่1, 5, 10 นาทีของทารกระหว่างสองกลุ่ม รวมถึงไม่พบว่ามีการรายงานการเกิดภาวะแทรกซ้อนของทารกที่เกี่ยวข้องกับยาที่ใช้ในการศึกษา

สรุป :การใช้ยา lidocaine prilocaine creamชนิดทาเฉพาะที่บริเวณแผลฝีเย็บมีประสิทธิภาพในการลดความเจ็บปวดของแผลฝีเย็บถึง 24 ชั่วโมงหลังคลอดโดยไม่พบภาวะแทรกซ้อนอย่างมีนัยสำคัญต่อมารดาและทารก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-16