The การศึกษาระดับรังสีอ้างอิงและการประเมินปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการตรวจ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

ผู้แต่ง

  • ชัยชนะ ละดาดก กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลสรรพสรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

CTDIvol, DLP, ค่าปริมาณรังสียังผล, ระดับรังสีอ้างอิง, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ในปัจจุบันการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วทำให้จำนวนการตรวจมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น และการได้รับปริมาณรังสีจะเพิ่มความเสี่ยงแบบแปรผันตรงต่อการเกิดมะเร็งในอนาคต จึงควรมีการสำรวจและเฝ้าระวังการใช้ปริมาณรังสีให้เหมาะสมขณะที่ยังคงคุณภาพของภาพที่ดี งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองกับระดับรังสีอ้างอิงตามคำแนะนำของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และหน่วยงานสากล

วัสดุและวิธีการ: เก็บข้อมูลชนิดย้อนหลังจากผู้ป่วยตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง จำนวน 210 คน ช่วงวันที่ 1 – 31 ธันวาคม 2565 จากเครื่อง MDCT 128 slices ยี่ห้อ GE รุ่น Optima 660 และยี่ห้อ Cannon 32 slices รุ่น Aquilion Lightning แล้วบันทึกข้อมูลค่า CTDIvol ค่า DLP และประเภทของการสแกน จากนั้นคำนวณหาค่าปริมาณรังสียังผล (Deff) แล้วนำค่าตำแหน่งเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 75 เทียบกับค่าปริมาณรังสีอ้างอิงของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และหน่วยงานสากล

ผลการศึกษา: พบว่า ค่า CTDIvol , DLP และ ED ที่ตำแหน่งเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 75 จากการตรวจ CT Brain (NC) มีค่า  CTDIvol 37.6 mGy, DLP 700.9 mGy.cm และ Deff  1.61 mSv ซึ่งต่ำกว่าค่าปริมาณรังสีอ้างอิง ส่วนการตรวจ CT Brain (NC, C) มีค่า CTDIvol (58.8, 58.8) mGy, DLP (total) 1948.2 mGy.cm และปริมาณรังสียังผล (Deff) 4.48 mSv ทั้งนี้จะพบว่าค่าปริมาณรังสีอ้างอิงของการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองฉีดสารทึบรังสีจะมีค่า CTDIvol  ที่สูงกว่าค่าปริมาณรังสีอ้างอิง

สรุป: ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองตามโปรโตคอลการตรวจของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์มีค่าต่ำกว่าระดับรังสีอ้างอิง  ส่วนการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองฉีดสารทึบรังสีควรมีการปรับแก้ไขพารามิเตอร์เพื่อให้ค่าปริมาณรังสีลดลง

คำสำคัญ: ค่า CTDIvol, ค่า DLP, ค่าปริมาณรังสียังผล, ระดับรังสีอ้างอิง, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-16