การศึกษาสาเหตุของเชื้อก่อโรค อาการ อาการแสดงและผลการรักษาของโรคฝีในตับในโรงพยาบาล สรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ส่องหล้า จิตแสง กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

โรคฝีในตับ, เชื้อก่อโรค, ผลการรักษา

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ฝีในตับเป็นการติดเชื้อในช่องท้องที่พบได้บ่อยพบประมาณ 48% ของการติดเชื้อในช่องท้องทั้งหมด2 ฝีในตับพบได้ทั่วภูมิภาคในโลกโดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา ถึงแม้ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาทั้งในด้านการวินิจฉัยและการรักษาที่ดีขึ้นฝีในตับก็ยังคงเป็นการติดเชื้อที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง        วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาเชื้อสาเหตุของการเกิดฝีในตับ, ศึกษาข้อมูลลักษณะทางคลินิกที่สัมพันธ์กับเชื้อก่อโรค,ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและภาพทางรังสีวิทยาที่สัมพันธ์กับเชื้อก่อโรค,ผลการรักษาและอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยผู้ใหญ่ของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์        

วัสดุและวิธีการ:การวิจัยนี้เป็นการวิจัยงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบสังเกตเชิงวิเคราะห์แบบ ย้อนหลัง ในผู้ป่วยอายุมากกว่า 15 ปี ที่มารักษาด้วยรักษาโรคฝีในตับ  ระหว่าง 1 ม.ค. พ.ศ.2555- 31 ธ.ค. 2561  ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี ซึ่งมีเกณฑ์การคัดเลือกเข้ามาศึกษา (inclusion criteria) คืออายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป,ได้รับไว้รักษาในโรงพยาบาล ได้รับ การวินิจฉัยโรคตามระบบ International Classification of Disease Tenth Revision (ICD-10) diagnostic code of K750,  A064 คือได้รับการวินิจฉัยว่าฝีในตับ, เกณฑ์ การคัดออกจากการศึกษา (exclusion criteria) คือ ข้อมูลที่ ได้ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ การรวบรวมข้อมูล (data collection) ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย ฝีในตับตามรหัส ICD-10 ข้างต้น โดยการ ทบทวนเวชระเบียนของโรงพยาบาล และทำการเก็บข้อมูล ข้อมูลพื้นฐานของประชากร ได้แก่ เพศ, อายุ, อาชีพ, โรคประจำตัว,และความเสี่ยงในการเกิดโรค ข้อมูลอาการ และอาการแสดงที่ตรวจพบ ข้อมูลการตรวจเพิ่มเติมเพื่อการวินิจฉัยได้แก่ pus culture, hemo culture,hematocrit, white blood cell count, Eosinophilic count, platelets count, FBS, BUN, Cr, Liver function test, Chest X-ray, Ultrasound abdomen, CT abdomen, MRI abdomen, ข้อมูลวันนอนโรงพยาบาล, ข้อมูลการรักษา และผลการรักษา, ข้อมูลการวินิจฉัยตามกลุ่มโรค (ICD 10)

วิเคราะห์เปรียบเทียบด้วยสถิติ chi-square test และ Fisher ศึกษาเชื้อสาเหตุของการเกิดฝีในตับ, ศึกษาข้อมูลลักษณะทางคลินิกที่สัมพันธ์กับเชื้อก่อโรค,ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและภาพทางรังสีวิทยาที่สัมพันธ์กับเชื้อก่อโรค,ผลการรักษาและอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วย

สรุป:จากการศึกษาพบว่าสาเหตุของการฝีในตับในผู้ป่วยจากการศึกษานี้ ส่วนใหญ่เกิดจาก pyogenic liver abscess ไม่พบผู้ป่วย amoebic liver abscess ซึ่งเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับการศึกษาทีผ่านมาซึ่งพบว่าแนวโน้มของฝีในตับส่วนใหญ่เกิดจากpyogenic มากขึ้นและแนวโน้มของ amoebic liver abscess ลดลง เชื้อส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรีย Gram negative โดยเชื้อที่พบบ่อย 3 อันดับแรกคือ B. pseudomallei รองลงมาคือ K. pneumoniae และ E.coli ซึ่งต่างจากข้อมูลการศึกษาในไทยที่ผ่านมาซึ่งพบเชื้อ K. pneumoniaeมากที่สุด  โดยอาการที่พบ มากที่สุด คือ Fever รองลงมา คือ Abdominal pain/ epigastrium pain และ Shaking chill ตามลำดับ ส่วนการตรวจร่างกายที่พบมากที่สุด คือ Hepatomegaly และ Right knocking pain รองลงมาคือ Jaudice โรคประจำตัวที่พบมากที่สุด คือ Diabetis mellitus รองลงมาคือ Hypertension และ S/P hepatobiliary Sx ในส่วน Extrahepatic infectionที่พบ 3 อันดับแรกคือ pneumonia, skin infection, และarthritis ส่วนใหญ่ได้รับการรักษาด้วยการให้ยาฆ่าเชื้อ สำหรับการ Percutaneous drainage และsurgery นั้นน้อย โดยพบว่าใน ในกลุ่ม B. pseudomallei มีความสัมพันธ์กับอายุที่น้อยกว่าในกลุ่มที่ไม่พบเชื้อร่วมกับมีfever, abdominal pain, septic shock, SIRS และ มีความสัมพันธ์กับโรคเบาหวานมากกว่ากลุ่มที่ไม่พบเชื้อ กลุ่มที่พบเชื้อมีอัตราการตาย, อาการไม่ดีขึ้นและมีอัตราการเสียชีวิตที่ 3 เดือนมากกว่ากลุ่มที่ไม่พบเชื้อ ซึ่งอาจเกิดจากความรุนแรงของโรค

 

 

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-16