การศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติด้านความเสี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของ ประชาชนเขตเทศบาลตำบลบ้านเหลื่อม อำเภอบ้านเหลื่อม จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, พฤติกรรมและทัศนคติด้านความเสี่ยงในการใช้บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติต่อความเสี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของประชาชนเขตเทศบาลตำบลบ้านเหลื่อม อำเภอบ้านเหลื่อม จังหวัดนครราชสีมา จากกลุ่มตัวอย่าง 324 คน รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากกรอบประเด็นของกระทรวงสาธารณสุข ในเดือนมีนาคม 2561 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 35-39 ปี ซึ่งเป็นวัยทำงานและมีโอกาสสัมผัสกับสารเคมีมากที่สุด กลุ่มตัวอย่าง มีความรู้เกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับดี กลุ่มตัวอย่างมากกว่าร้อยละ 80 มีพฤติกรรมและทัศนคติในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ในระดับดีมาก อาทิ ไม่รับประทานอาหาร/ดื่มน้ำในบริเวนที่ฉีดพ่นสารเคมี ก่อนการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะอ่านฉลากที่ภาชนะบรรจุทุกครั้ง สวมรองเท้าและเสื้อผ้าที่ปิดมิดชิดทุกครั้งเมื่อต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำความสะอาดร่างกายหลังจากทำงานหรือล้างผิวหนังที่สัมผัสสารเคมีทันทีทุกครั้ง ล้างผลไม้และผักทุกครั้งก่อนการบริโภค และกลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชว่าควรลดให้น้อยลงหรือไม่ใช้เลยเพื่อสุขภาพของตนเองและผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัย กลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับบริการตรวจคัดกรองความเสี่ยงมีอาการทางสุขภาพจากพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในระดับความเสี่ยงต่ำ (Low Risk) ไม่มีอาการผิดปกติหลังจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาร้อยละ77.20 รองลงมามีอาการปวดศีรษะ ร้อยละ 5.90 นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 100 ต้องการเข้ารับบริการการตรวจคัดกรอง (Lab screen) ความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างยังมีข้อเสนอแนะต่อส่วนราชการว่าควรส่งเสริมหรือการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน มีมาตรการในการจำกัดการใช้สารเคมีและรณรงค์ลดการใช้สารเคมีจำกัดศัตรูพืชอย่างต่อเนื่องเพื่อสุขภาวะของเกษตรกรและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
References
สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
บุญตา กลิ่นมาลี. (2540). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกับ
ระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดเกษตรกร หมู่บ้านท่าแลง ตำบลท่าแลง อำเภอท่ายาง
จังหวัดเพชรบุรี. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
วิชชาดา สินลา และตั้ม บุญรอด. (2554). พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรในตำบล
แหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 8
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนฐ 146-1479.
วิเชียร ศรีวิชัย. (2541). ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัด
ศัตรูพืชของเกษตรกรอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาส่งเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร. (2561). รายงานข้อมูลการนำเข้า
สารเคมีทางการเกษตร ปี พ.ศ. 2550-2560. เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2561 จาก www.doa.go.th.
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครราชสีมา. (2561). ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) จังหวัด
นครราชสีมา. เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2561 จาก http://www.cddkorat.com/
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข. (2551). ข้อมูลโรคที่
เกิดจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2561 จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/
สิทธิเวช วิจิตร. (2554). ผลของกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการรับรู้และพฤติกรรมการใช้
สารกำจัดศัตรูพืช-สัตว์ของเกษตรกรชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ตำบลบ้านกาศ อำเภอแม่สะเรียง
จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขสาสตมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
ไพศาล รัตนเสถียร และคณะ. (2543). เทคนิคการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช. โรงพิมพ์คุรุสภา
ลาดพร้าว. กรุงเทพฯ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสาธารณสุข