การศึกษาภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการรักษาโรคไข้: กรณีศึกษาหมอจิตร บุญเลื่อง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • นันฑิจพร พวงแก้ว วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง
  • เจษฎา อุดมพิทยาสรรพ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง
  • กมลวรรณ สุกแดง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง
  • พันศร รัตนมา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง
  • นัชมีนย์ หลง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย, หมอพื้นบ้าน, ตำรับยาสมุนไพร, โรคไข้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรคไข้ ของหมอจิตร บุญเลื่อง ทั้งในรูปแบบสมุนไพรเดี่ยวและตำรับยา งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และการสังเกต (Observation) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กล้องบันทึกภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว เครื่องบันทึกเสียง และมีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเชิงพรรณนา

จากการศึกษาพบว่า ในด้านของการศึกษาภูมิปัญญา พบว่าหมอจิตร บุญเลื่อง ได้มีการสืบทอดภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษ ในส่วนของการรักษาโรคไข้ของหมอจิตรนั้น หมอจิตรจะให้ความสำคัญไปกับการซักประวัติอาการของผู้ป่วยเบื้องต้น พร้อมกับการตรวจร่างกายโดยการ ดูลิ้น ดูตา ดูปลายมือ และจับชีพจร จึงจะสามารถวิเคราะห์อาการได้ว่าผู้ป่วยคนนั้นเป็นอะไร โดยสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรคไข้ หากเป็นสมุนไพรเดี่ยว จะมีการใช้ฟ้าทะลายโจรทั้ง 5 ส่วน โดยนำมาต้มกิน 3 ครั้งแล้วเททิ้งห้ามกินเกิน หากเป็นตำรับยาหมอจิตรจะนิยมใช้ตำรับยาห้าราก ซึ่งมีปรากฏอยู่ในคัมภีร์ตักศิลา โดยใช้สิ่งละ 2 บาท และมีการเพิ่มตัวยาสำหรับบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แต่งรสแต่งกลิ่น โดยการใส่เกสรทั้ง 5 สิ่งละ 50 สตางค์ นอกจากนี้ยังมีตำรับยารักษาโรคไข้เป้นตำรับรอง อีกหลายตำรับ อาทิเช่น ยาดับพิษไข้ ยาแก้ไข้ ยาแก้ไข้ออกหัด ยาแก้ไข้มาลาเรีย ยาตัดรากไข้ทั้งปวง เป็นต้น 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-19