การพัฒนารูปแบบการสอนในวิชาผดุงครรภ์สำหรับการแพทย์แผนไทยด้วยคู่มือการสอนความสำคัญในการจัดการความปวดเรื่องการประเมินและการจัดการความปวดตามกรอบ Recognize Assess Treatment Model (RAT Model)

ผู้แต่ง

  • เพลินตา อิทธิศานต์ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชเศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

รูปแบบการสอน, คู่มือการประเมินและการจัดการความปวด, กรอบ RAT Model

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้คู่มือการสอนความสำคัญในการจัดการความปวดเรื่องการประเมินและการจัดการความปวดตามกรอบ Recognize Assess Treatment Model  (RAT Model) กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาหลักสูตรแพทย์แผนไทยบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 จำนวน 32 คน และอาจารย์ผู้สอน จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแนวคำถามการสนทนากลุ่มและแบบสอบถาม ผลการศึกษา 1) จากผลการสนทนากลุ่ม พบว่ากลุ่มตัวอย่างต้องการให้มีการจัดการเรียนการสอนด้านการประเมินและการจัดการความปวดตามกรอบ RAT Model และคู่มือการสอนนี้จะมีประโยชน์ต่อการทำงานในอนาคตของนักศึกษา 2) ความรู้ก่อนการใช้รูปแบบการสอนโดยใช้คู่มือมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 12.84 ± 2.14  และหลังการใช้รูปแบบการสอนโดยใช้คู่มือ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 16.78 ± 1.95 โดยนักศึกษามีความรู้หลังได้รับรูปแบบการสอนโดยใช้คู่มือสูงกว่าก่อนการได้รับรูปแบบการสอนโดยใช้คู่มืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)  3) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (= 4.24 ± 0.52) ผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนโดยใช้คู่มือ มีค่า E1/E2 เท่ากับ 80.00/82.00 และค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.)  มีค่าเท่ากับ 0.55  ดังนั้น รูปแบบการสอนโดยใช้คู่มือที่พัฒนาขึ้นนี้ ควรนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนด้านประเมินและจัดการความปวดในวิชาผดุงครรภ์สำหรับแพทย์แผนไทย

References

Basbaum AI. (1999). Spinal mechanisms of acute and persistent pain. Regional Anesthesia and Pain Medicine, 24(1): 59-67.

Eungapithum, N., Parisunyakul, S., & Sansiriphun, N. (2012). Effect of Cold and Heat Compression

on Labour Pain among Primiparous Mothers. Nursing Journal, 39(4): 112-124 (In Thai)

Kanchanabhishek Institute of Medical and Public Health Technology. (2018). The Program of Bachelor of Thai Traditional Medicine. Department of Thai Traditional Medicine. Nonthaburi: Department of Thai Traditional Medicine. (In Thai)

Kanasut, P. (1999). Statistics for Behavioral Science Research. Bangkok : Chulalongkorn University. (In Thai)

Khlaisri, P. (2018). Development of the Instructional Model using Blended Learning and Metacognition for Faculty of Education Students in Rajabhat University in the Northeastern. (A thesis for the Degree of Doctor of Philosophy, College of Educational Sciences). Dhurakij Pundit University. (In Thai)

Kitrakran, P. (2018). Analysis of Media Efficiency Technology. Journal of Educational Measurement Mahasarakham University, 7(11): 44-52. (In Thai)

Jaruwatcharapanichkul, A. (2011). Introduction to Midwifery, Volume 1 (Pregnancy). Chiang Mai: Krong Chang Printing Co., Ltd. (In Thai)

Jones, L.E., Whitbum, L.Y., Davey, Mary-Ann & Small, R. (2015). Assessment of Pain Associated with Childbirth: Women’s Perspectives, Preferences and Solutions. Midwifery, 31(7): 708-712.

Nadoon, W. & Apichutboonchock, S. (2018). Improving Knowledge, Assessment, and Skill Relate to Pain Management in Clinical Practice of Health Promotion Practicum for the 2nd Year Nursing Students. Journal of Health Science Boromarajonani College of Nursing Sanpasithiprasong, 2(2): 64-79. (In Thai)

Praboromarajchanok Institute. (2016). A Guide for Teaching the Course on the Importance of Painmanagement on pain assessment and management according to the RAT Model framework. In Educational Division. Dr. Plernta Ethisan ( Editor). Bangkok: Dan Suttha Printing. (In Thai)

Prasertsri, N., Teeyapan, W., Charenukul, A., Jirubapa, M. (2014). Nursing Students’ Knowledge and Attitudes Regarding Pain Management. Journal of Nursing and Education, 7(2): 111-119. (In Thai)

Pongboriboon, Y. (2010). The Study of Case Study. Journal of Education, Khon Kaen University, 33(4): 42-50. (In Thai)

Tanglakmankhon, K., Chotika, P., Ngamkham, S.& Thaewpir, S. (2016). Labor Pain Assessment and Management by Using RAT Model. Journal of Phrapokklao Nursing College. Year 27, additional edition: 160-169. (In Thai)

Touklang, K & Touklang, R. (2012). Media Development in Educational Innovations to Promote Academic Studying. Bangkok: Yellow Printing. (In Thai)

Worawong, P., Anusornteerakul, S. & Chaisiwamongkol, W. (2011). Pain Intensity among Mothers in the First Stage of Labour after Pain Relieved with Breathing Techniques, Abdominal Effleurage and Sacrum Massage. Journal of Nursing Science & Health, 34 (3): 31-39 (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27