ผลของการจัดการเรียนรู้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้ เอสเอสซีเอส (SSCS) ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการแก้ไขปัญหาและความพึงพอใจ ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
คำสำคัญ:
การเรียนรู้วิธีแบบเปิด, รูปแบบการเรียน SSCS, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ทักษะในการแก้ปัญหา, คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้วิธีแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้เอสเอสซีเอส (SSCS) ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการแก้ไขปัญหาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 58 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ระยะเวลาในการจัดการเรียนรู้ 16 ชั่วโมง ระหว่างวันที่ 2 - 23 มีนาคม 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้ SSCS แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ไวรัสที่ก่อให้เกิดพยาธิสภาพ แบบประเมินทักษะการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ดำเนินการวิจัยแบบ One group Pretest-Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและการหาค่าคะแนนพัฒนาการ (Gain Score) ด้วยสูตรวัดคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์ (Relative Gain Score) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหา โดยใช้สถิติ Paired t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (ก่อนเรียน x̄ =14.93, S.D.= 2.21 และหลังเรียน x̄ = 21.81, S.D.= 2.80) 2) นักศึกษามีคะแนนพัฒนาการหลังการเรียนรู้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้ SSCS เฉลี่ยเท่ากับ 45.30 มีพัฒนาการอยู่ในระดับปานกลาง 3) นักศึกษามีทักษะในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00 (ก่อนเรียน x̄ =10.83, S.D.=1.42 และหลังเรียน x̄ =14.16, S.D.=1.14) และ 4) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้ SSCS อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.36, S.D.= 0.59)
ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาอื่นทั้งหมวดวิชาวิทยาศาสตร์และวิชาพื้นฐานวิชาชีพเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาพยาบาลศาสตร์ทั้งด้านความรู้ ทักษะปัญญา และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เพื่อเตรียมความพร้อมนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สำหรับการเรียนรู้ในรายวิชาชีพพยาบาลต่อไป
References
Abell, S. K., & Pizzini, E. L. (1992). The effect of a problem solving in-service program on
the classroom behaviors and attitudes of middle school science teachers. Journal of Research in Science Teaching, 29(7), 649–667.
Chin, C. (1997). Promoting higher cognitive learning in science through a problem-solving
approach. REACT, 1, 7-11.
Choengchao, C. (2013). Introduction to educational research. Pattani: Prince of Songkla
University. (In Thai)
Fongsri, P. (2006). Educational research “Concept Theory”. (2nd ed.). Bangkok: Tiemfa
Press. (In Thai)
Kaday, A. & Mopant, N. (2017). Effect of Open Approach with SSCS Problem Solving
Learning Model on science achievement, problem solving ability, and satisfaction with learning organizing of grade 10 students. AL-NUR Journal of Graduate School, 12, 23-36.
Kanchanawasee, S. (2009). Theory of traditional testing. (6th ed.). Bangkok: Chulalongkorn
University. (In Thai)
Nohda, N. (1986). A study of “Open – Approach” method in school mathematics
teaching focusing on mathematical problem solving activities. Tsukuba Journal
of Education Study in Mathematics. 5, 119-131.
Office of the Basic Education Commission. (2010). Assessment criteria of the Office of Academic Affairs and Educational Standards. Bangkok. Ministry of Education. (In Thai)
Panich, V. (2015). Creative learning for students in the 21st century. Walailak Journal of
Learning Innovations, 1(2), 3-14. (In Thai)
Pantaewan, P. (2016). Development of students in the 21st century with active
learning in nursing profession. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 17(3), 17-25. (In Thai)
Laohaphaiboon, P. (2009). Science teaching approach. (8th ed.). Bangkok: Thai Watthana
Panich Press. (In Thai)
Praboromarajchanok Institute of Health Workforce Development. (2018). Learning assessment
measurement guide according to the bachelor's qualification standards nursing science. Nonthaburi: Ministry of Public Health. (In Thai)
Prommaruk, R. (2010). A study of some factors contributed to mathematical reasoning ability
and mathematical problem solving of Mathayomsuksa 4 students in schools under
Nakornpathom education area 1. A dissertation submitted in partial fulfillment of the requirements for the master degree (Research and Educational Statistics), Srinakharinwirot University. (In Thai)
Sadao, Y. (2011). Development of activities for Thai language teaching through the lesson
study process, bringing an open approach (open teaching style). Academic Journal, 15, 24-35.
Srisa-aad, B. (2008). Basic research in education. (5th ed.). Kalasin: Prasaan Press. (In Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสาธารณสุข