การเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับภาวะก่อนเบาหวานในผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวาน และผู้ที่ไม่มีภาวะก่อนเบาหวานในผู้ที่เข้ารับบริการตรวจสุขภาพ ประจำปีที่โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

ผู้แต่ง

  • ธัตรชัย ธารณ์ชัยเตชาวุฒิ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

คำสำคัญ:

ภาวะก่อนเบาหวาน, ความรู้, การเปรียบเทียบ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดและเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับภาวะก่อนเบาหวานระหว่างผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวานกับผู้ที่ไม่มีภาวะก่อนเบาหวานในผู้ที่เข้ารับบริการคลินิกตรวจสุขภาพเชิงรุก โรงพยาบาลสุไหงโกลก วิธีการดำเนินการ: กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้ที่เข้ารับบริการคลินิกตรวจสุขภาพเชิงรุกประจำปีงบประมาณ 2563 โดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวานและผู้ที่ไม่มีภาวะก่อนเบาหวาน กลุ่มละ 55 คน โดยรวมความรู้เกี่ยวกับภาวะก่อนเบาหวานมีคะแนนเฉลี่ย 6.80±2.32 และ 6.16±2.69 คะแนน ตามลำดับ จากคะแนนเต็ม 13 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบคะแนนระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม พบว่า ในหัวข้อนิยามของภาวะก่อนเบาหวาน กลุ่มผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวานได้คะแนนมากกว่ากลุ่มผู้ที่ไม่มีภาวะก่อนเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เพียงหัวข้อเดียว แต่คะแนนโดยรวมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ สรุปผล: ผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวานควรมีความรู้เกี่ยวกับภาวะก่อนเบาหวานมากกว่ากลุ่มคนอื่น เพื่อชะลอการดำเนินไปของการเกิดโรคเบาหวานในอนาคต โดยการเน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะก่อนเบาหวานในผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวานเป็นรายกลุ่มย่อยในคลินิกตรวจสุขภาพเชิงรุก

References

Aekplakorn, W., Puckcharern, H., & Satheannoppakao, W. (2021). Exploring Thai people’s health survey by physical examination 6th in 2019-2020 (Research Report). Bangkok: Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. (in Thai)

Albright, A. L., & Gregg, E. W. (2013). Preventing type 2 diabetes in communities across the US: the national diabetes prevention program. American Journal of Preventive Medicine, 44(4): S346-S351.

American Diabetes Association. (2018). Standard of medical care in diabetes-2018. Diabetes Care 2018, 41(S1): S13-S105.

Centers for Disease Control and Prevention. (2017). National diabetes statistics report, 2017. Atlanta, GA: Centers for disease control and Prevention.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3): 297-334.

Garber, A. J., Abrahamson, M. J., Barzilay, J. I., Blonde, L., Bloomgarden, Z. T., Bush, M. A., ... & Davidson, M. H. (2013). American Association of Clinical Endocrinologists’ comprehensive diabetes management algorithm 2013 consensus statement. Endocrine Practice, 19(S2): 1-48.

Gavin J. R., III, Alberti K. G. M. M., Davidson, M. B., DeFronzo, R. A., Drash, A., Gabbe, S. G., … Stern, M. P. (1997). Report of the expert committee on the diagnosis and classification of diabetes mellitus. Diabetes Care, 20(7): 1183-1197.

Hyder, K. M., Mohan, J., Varma, V., Ponnusankar, S., & Raja, D. (2021). Impact of prediabetes education program on Knowledge, attitude and practice among prediabetic population of south India. Preventive Medicine Reports, 23: 101395.

Khan, T., Wozniak, G. D., & Kirley, K. (2019). An assessment of medical students’ knowledge of prediabetes and diabetes prevention. BMC Medical Education, 19(1): 1-7.

Tanchaitechawut, T., & Pattharachayakul, S. (2022). Prevalence of prediabetes among those receiving health checkups from Sungaikolok Hospital and their knowledge related to such conditions. Thai Journal of Pharmacy Practice, 14(1): 3-15. (in Thai)

Yun, L. S., Hassan, Y., Aziz, N. A., Awaisu, A., & Ghazali, R. (2007). A comparison of knowledge of diabetes mellitus between patients with diabetes and healthy adults: A survey from north Malaysia. Patient Education and Counseling, 69(1-3): 47-54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-25