ความชุกและปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์ต่อการประสบอันตรายในการทำงานบนที่สูงของสถานประกอบกิจการติดตั้งหลังคาสำเร็จรูปในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ธนูศิลป์ สลีอ่อน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • กฤตติกา เหล่าวัฒนโรจน์ สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) กรุงเทพมหานคร
  • พฤทธิพงศ์ สามสังข์ สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) กรุงเทพมหานคร
  • สุภารัตน์ คะตา สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) กรุงเทพมหานคร
  • ปัญชลิกา ชันขุนทด สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) กรุงเทพมหานคร
  • ธนวรรณ ฤทธิชัย สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) กรุงเทพมหานคร
  • เปรมยุดา นวลศรี สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

ปัจจัยคัดสรร, การประสบอันตราย, การทำงานบนที่สูง , สถานประกอบกิจการติดตั้งหลังคาสำเร็จรูป

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์ต่อการประสบอันตรายในการทำงานบนที่สูงของสถานประกอบกิจการติดตั้งหลังคาสำเร็จรูปในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือสถานประกอบกิจการติดตั้งหลังคาสำเร็จรูป จำนวน 392 แห่ง ทำการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้นผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหา (Content validity) จากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่า IOC ตั้งแต่ 0.67-1.00 และนำไปทดลองใช้ (try out) ได้ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์ต่อการประสบอันตรายในการทำงานบนที่สูงด้วยสถิติถดถอยโลจิสติกพหุตัวแปร ผลการศึกษา พบว่า 1) ความชุกของการประสบอันตรายเท่ากับร้อยละ 26.30 และ 2) ปัจจัยคัดสรรด้านสถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงานบนที่สูง และการใช้มาตรฐานการทำงานบนที่สูงมีความสัมพันธ์กับการประสบอันตรายในการทำงานบนที่สูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยปัจจัยด้านสถานภาพโสด           มีโอกาสเสี่ยง 2.06 เท่า (ORadj=2.06, 95%CI: 1.06-4.02) ประสบการณ์การทำงานน้อยกว่า 20 ปี และสถานประกอบกิจการไม่ใช้มาตรฐานการทำงานบนที่สูงมีโอกาสเสี่ยง 3.25 เท่า (ORadj =3.25, 95%CI: 1.86-5.67) และ 1.81  เท่า    (ORadj = 1.81, 95%CI: 1.09-3.01) ตามลำดับ และพบว่าปัจจัยป้องกันคือตัวแปรระดับการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงน้อยกว่ากลุ่มประสบอันตราย 0.22 เท่า (ORadj =0.22, 95%CI:  0.11-0.44)  ดังนั้นควรส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีความรู้และพฤติกรรมการทำงานบนที่สูงที่ปลอดภัยและให้สถานประกอบกิจการทุกแห่งใช้มาตรฐานการทำงานบนที่สูง

References

Arifuddin, R., Latief, R. U., & Suraji, A. (2020). An investigation of fall accident in a high-rise buildingproject. In IOP Conference Series: Earth and Environmental Science (Vol. 419, No. 1, p. 012144). IOP Publishing.

Baraza, X., & Cugueró-Escofet, N. (2021). Severity of occupational agricultural accidents in Spain, 2013–2018. Safety science, 143, 105422.

Tummavong, A. (2021). Factors related to behavior Safety, Occupational Health and Working

Environment for Employees Siri Success Supply Co., Ltd., A Theses Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for Master of Science (Environmental Management), National Institute of Development Administration.

Krutharoj, A., Lormphongs, S., Phatrabuddha, N., & Pusapukdepob, J. (2018). Factors Related to Safety Behavior of Working at Height among Electric Railway Workers in Bangkok Metropolis. Journal of Safety and Health, 11 (3), 27-34.

Sonprom, B. (2012). Attitude of construction workers on accidents in construction industry: a case study of SWT technology & construction Co., Ltd. A Dissertation Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for Civil Engineering. Suranaree University of Technology.

Hon, C.K., & Chan, A.P. (2013). Fatalities of repair, maintenance, minor alteration, and addition works in Hong Kong. Saf. Sci., 51, 85–93.

Huang, X., & Hinze, J. (2003). Analysis of construction worker fall accidents. J. Constr. Eng. Manag., 129, 262–271.

Krungsri Research. (2020).Business/Industry Outlook 2021-2023: Construction Materials Business, 2021. Available from: https://www.krungsri.com. (in Thai)

Lipscomb, H.J., Dement, J.M., Nolan, J., Patterson, D., Li, L., Cameron, W. (2003). Falls in residential carpentry and drywall installation: Findings from active injury surveillance with union carpenters. J. Occup. Environ. Med., 45, 881–890.

Maryani, A., Wignjosoebroto, S., & Partiwi, S. G. (2015). A system dynamics approach for modeling construction accidents. Procedia Manufacturing, 4, 392-401.

Mersha, H., Mereta, S. T., & Dube, L. (2017). Prevalence of occupational injuries and associated factors among construction workers in Addis Ababa, Ethiopia. Journal of public health and epidemiology, 9 (1), 1-8.

Neuman, W. L. (1991). Social research methods: Qualitative and quantitative approaches. Boston: Allyn and Bacon.

Rana, S., & Goswami, P. (1996). Hazard Associated with Construction Sites in India and Various Techniques for Preventing Accidents due to Fall from Height. Res. Pract. Fall Inj. Control Workplace, 1, 188–191.

Real Estate Information Center, Government Housing Bank. (2020). Fierce competition in truss roofstructure market 3 companies win share - Easy Trust expands the project. Available from: https://www.reic.or.th/News/RealEstate/439029. (in Thai)

Siripanich, S., Meanpoung, P., & Sangchatip, A. (2016). Trends and characteristics of occupational injuries in Thailand, 2002-2010. OSIR Journal, 7(3), 8-15. (in Thai)

Social Security Office, Ministry of Labour. (2020). Report on situations of danger or illness due to workfor the year 2016-2020. Available from: https://www.sso.go.th. (in Thai)

Wichairum., S. (2009). Risk factors of Construction Worker. Degree of Master of Science, Graduate School, Dhurakij Pundit University.

Thairath Online. (2020). Chonburi looks to sacrifice 3 bodies. A young worker fell from the roof of a warehouse 15 meters high and died on the spot. 7 May 2020. Available from: https://www.thairath.co.th/news/local/east/1838508. (in Thai)

Wibowo, T., Sukaryawan, I. M., & Hamoko, J. U. D. (2020). Identifying Causal Factors of Accidents Related to Working at Height: A Case Study of a Construction Company. In Proceedings of the International Conference on Engineering and Information Technology for Sustainable Industry, 1-7.

Wong, F. K., Chan, A. P., Yam, M. C., Wong, E. Y., Kenny, T. C., Yip, K. K., et al. (2009). Findings from a research study of construction safety in Hong Kong: Accidents related to fall of person from height. Journal of Engineering, Design and Technology, 7 (2), 130-142.

Zerguine, H., Tamrin, S. B. M., & Jalaludin, J. (2018). Prevalence, source and severity of work-related injuries among “foreign” construction workers in a large Malaysian organisation: a cross-sectional study. Industrial health, 56(3), 264-273.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-08 — Updated on 2023-08-08

Versions