ผลการใช้ระบบตอบโต้ภาวะฉุกเฉินโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา: ศูนย์ปฎิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • ปรีชา ถิ่นนัยธร โรงพยาบาลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
  • อุษณา โกเอี้ยน โรงพยาบาลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
  • บุบผา รักษานาม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง

คำสำคัญ:

ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข, ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน, การประเมินผล, CIPP Model

บทคัดย่อ

การใช้ระบบตอบโต้ภาวะฉุกเฉินโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  วัตถุประสงค์ 1) ศึกษาผลการดำเนินศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ 2) ประเมินผล ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน คือ 1) วิจัยเชิงปริมาณ 2) วิจัยเชิงคุณภาพ  เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สัมภาษณ์ เชิงปริมาณสุ่มแบบหลายขั้นตอน และเชิงคุณภาพแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่าง 1) คณะกรรมการฯ 2) ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า กลุ่มเป้าหมายคณะกรรมการฯ ผลการใช้ระบบตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ทั้ง 4 ด้านอยู่เกณฑ์มาก 3.83 อยู่เกณฑ์มากทั้ง 4 ด้าน คือ บริบท ผลผลิต กระบวนการ และปัจจัยนำเข้า คือ 3.95, 3.88, 3.85 3.76 ตามลำดับ  กลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยฯ ผลการใช้ระบบตอบโต้ภาวะฉุกเฉินฯ ทั้ง 4 ด้านอยู่เกณฑ์มาก คือ 3.82 อยู่เกณฑ์มากทั้ง 4 ด้าน คือผลผลิต กระบวนการ บริบท และปัจจัยนำเข้า 3.93, 3.85, 3.76, 3.74 ตามลำดับ  ส่วนผลการวิจัยเชิงคุณภาพ นำเสนอจำแนกรายด้าน 1) ด้านบริบท คณะกรรมการฯ ผลการศึกษา พบว่าการตอบโต้ภาววะฉุกเฉินฯ สอดคล้องนโยบายรัฐ สถานการณ์โรค กลุ่มผู้ป่วยฯ ประสานงานรวดเร็ว เข้าถึงบริการง่าย ควบคุมการระบาด 2) ด้านปัจจัยนำเข้า คณะกรรมการฯและผู้ป่วย มีความรู้น้อยช่วงแรก เรียนรู้มากขึ้นตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข งบประมาณภาครัฐเพิ่มขึ้น ประชาชนบริจาค  ระบบเทคโนโลยีทันสมัยมีประสิทธิภาพ การสื่อสารรวดเร็ว 3) ด้านกระบวนการ เตรียมความพร้อมดำเนินตามแผนทั้งเจ้าหน้าที่ และผู้ป่วย มีแนวทางปฎิบัติ ทำงานเป็นทีมภายใต้กลไก 3 หมอ และ 4) ด้านผลผลิต คณะกรรมการฯ บริการแบบ One stop service ผู้ป่วยได้รับบริการทุกมิติ สอดคล้องกับความต้องการ

References

Department of Disease Control. 2020. Public Health Emergencies, Nonthaburi: Ministry

Department of Disease Control. 2021. Public Health Emergencies, Nonthaburi: Ministry

Kanlaya Sriwichian. 2014. Evaluation of the Ministry of Education's High-Level Administrator Program, Class 3.Master of Education Program Department of Development Studies Department of Basic Education graduate school Silpakorn University

Gaysorn, Non Ngio. et al. 2017. Assessment of readiness of public health emergency response systems at the provincial and district levels, Health Region 7, a case study of the Zika virus outbreak, 2016. Journal of Disease Control; 2017

Trang Communicable Disease Committee. 2022 Minutes of the meeting of the Trang Communicable Disease Committee.

Kantang District Health Service Network. 2022. Order of the Public Health Emergency Operation Center on the appointment of the Committee of the Public Health Emergency Operation Center (Emergency Operation Center: EOC) only in the case of the outbreak of Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) Kantang District Health Service Network

Kantang District Health Service Network. 2022. Summary of public health performance for the year 2021, Kantang District Health Service Network, Trang Province.

Cherakit Thongpreecha. 2020. Teaching and learning management. Under the situation of COVID-19 at the secondary level, Wachiratham Sathit School, Phra Khanong District, Bangkok Master of Public Administration Program, Ramkhamhaeng University.

Chaweewan Sridaorueng. et al. 2021. Lessons learned from surveillance operation model prevention of coronavirus disease 2019 (COVID 19) in the community of public health volunteers Northeast Phra Boromrajanok Institute Ministry of Public Health; 2021

Nuttawut Suriya. et al. 2022. Take off the hospital preparation lesson. to support the critical situation of COVID-19 : a case study of Sappasithiprasong Camp Hospital Ubon Ratchathani Province Journal of Nursing, Health and Education

Thanyarat Sakaeo. et al. 2022. Management model of local administrative organizations in helping and preventing the spread of the COVID-19 virus. Case study: Local administrative organizations in Nam Phong District. Khon Kaen Khon Kaen University

Naruemon Anusonphat. et al. 2021. Guidelines for improving the quality of Thai public sector management in the situation of the epidemic of the Coronavirus Disease 2019, Master of Public Administration Program Faculty of Humanities and Social Sciences Phra Nakhon Si Ayutthaya Rajabhat University

Phitsanurak Kantawee. et al. 2020. Evaluation of the project to raise awareness and prepare for communicable and emerging diseases along the Thai border Kingdom of Cambodia Lao People's Democratic Republic Republic of the Union of Myanmar, fiscal year 2015-2017, Public Health System Research Journal.

Phairot Sangjong. 2018. Assessment of health system performance in Pa Bon District. Phatthalung Province Master of Science Degree Program in Health Systems Management Prince of Songkhla University

Waleerat Hiransiriworachot. 2021. Factors of Success in Controlling Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) of Khao Saming Subdistrict Municipality, Trat Province, Master of Public Administration Program, Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University.

Trang Provincial Public Health Office. 2022. Minutes of the EOC Meeting on Coronavirus Disease 2019, Trang Province

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-08