การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 แบบ Home Isolation ด้วย Application
คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย, ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19, การแยกกักตัวที่บ้าน, Applicationบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 แบบ Home Isolation ของโรงพยาบาลสิเกา จังหวัดตรัง กลุ่มเป้าหมาย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มที่ร่วมพัฒนาระบบ คือบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน และ (2) กลุ่มที่ใช้ในการประเมินผลการพัฒนาระบบ ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง และประชาชน จำนวน 395 คน และแบบรายงานข้อมูลการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 3,062 ราย สุ่มตัวอย่างแบบ Systematic sampling ระยะเวลาในการดำเนินการศึกษาตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2564 – มกราคม 2566 เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจากผู้มารับบริการ บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง และเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังในแบบรายงานข้อมูลการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 แบบ Home Isolation เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึก แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน One Sample T-test, Independent-t-test, One-Way ANOVA และ Content analysis
ผลการศึกษาพบว่า ระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 แบบ Home Isolation ด้วย Application โรงพยาบาลสิเกา ที่พัฒนาขึ้นในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก 3S ได้แก่ (1) Service: การใช้ Application: ระบบ LINE Official Account, personal line และ ระบบ DOCTOR A to Z, ระบบติดตามทางโทรศัพท์ (2) Structure: Connection Patient – Hospital, Home based with referral system, Quality and Safety System และ (3) Staff: ทีมสหวิชาชีพที่มีคุณภาพ หลังพัฒนาระบบพบว่า ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ได้รับยาอย่างเหมาะสม 3,062 คน (ร้อยละ 100) ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ได้รับการติดตามอาการ 3,062 คน (ร้อยละ 100) ส่งต่อผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 เข้าโรงพยาบาล 8 คน (ร้อยละ 0.26) ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้รับคำแนะนำการปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม 3,062 คน (ร้อยละ 100) จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่เข้าระบบการรักษา คะแนนประเมินคุณภาพระบบการให้บริการระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 แบบ Home Isolation โดยรวมในกลุ่มผู้ป่วย (4.11±0.56) และกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ (4.25±0.66) อยู่ในระดับสูงมาก ซึ่งหลังพัฒนาระบบ พบว่า ในกลุ่มผู้ป่วยที่มารับบริการ อายุ สถานภาพ ที่แตกต่างกัน คะแนนประเมินคุณภาพการให้บริการระบบฯ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.046, และ 0.007 ตามลำดับ) และพบว่า คะแนนประเมินคุณภาพการบริการโดยรวม ในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 และกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (p=0.261) และสูงกว่าค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p<0.001) ข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 แบบแยกกักตัวที่บ้านด้วย Application ส่งผลให้เกิดประโยชน์กับผู้ป่วยที่มารับบริการและบุคลากรทางการแพทย์อย่างแท้จริง สามารถนำระบบนี้ไปประยุกต์ใช้กับการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อจากโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ ของสถานบริการสุขภาพอื่น ๆ ได้ตามบริบทพื้นที่
References
Arungjit, T. (2022). Effectiveness of nursing care for Coronavirus disease 2019 patients in the Home Isolation System, Wang Chao Hospital, Tak Province. Journal of Public Health, Tak Province. 2(2), 1-14. (in Thai)
Best, J., & John, W. (1977). Research in Education. (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall, Inc.
Department of disease control, (2022). Guidelines for surveillance, prevention and control of Corona virus infection 2019. Nonthaburi: Ministry of Public Health. (in Thai)
Department of Medical Services. (2022). Guidelines for medical personnel for providing patient advice and home isolation services for COVID-19 patients. Nonthaburi: Ministry of Public Health. (in Thai)
Earp, J.A., & Ennett, S.,T. (1991). Conceptual models for health education research and practice. Health Education Research, 6(2), 163–171.
Emergency Operations Center, Department of disease control, (2022). Coronavirus 2019 Disease Situation Report. Department of disease control. Nonthaburi: Ministry of Public Health. (in Thai)
Jarungjit, Th., (2021). Effectiveness of nursing care for coronavirus disease 2019 patients in the Home Isolation System, Wang Chao Hospital, Tak Province. Wang Chao Hospital Wang Chao District, Tak Province. (in Thai)
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Kumprasit, U. (2021). Development of Nursing Model during the COVID-19 Outbreaks: In-Patient Department, Nonthai Hospital. Regional Health Promotion Center 9 Journal, 16(1), 30-44. (in Thai)
Matatratip, C., Pissawongprakan, P., Nonsrirach, T., (2021). Factors Affecting Access to the Health Promotion Service System through LINE Official Account of Regional Health Promotion Center 7 Khon Kaen: Good health is Rewardsed of the People in the Responsible Area. Regional Health Promotion Center 7 Journal Khon Kaen, 14(2), 14-33. (in Thai)
Srina, S. (2021). Development of Care Model for Diabetic Type 2 by Line Application. Journal of Research and Health Innovative Development, 2(1), 123-133. (in Thai)
Sungkasrisombut, K., Machara, A., Promsri, M., Panit N. (2022). Development of Health Education and Health CounselingModelUsingLINE Official AccountApplicationfor Mothers in Caring for Infants with Premature Births. Regional Health Promotion Center 9 Journal. 16(2), 623-641. (in Thai)
Wirifai, S., & Luddangam, P. (2022). Home Isolation: Guidance for Patients with COVID-19 Infection. Regional Health Promotion Center 9 Journal, 16(2), 597-611. (in Thai)
World Health Organization. (2022). Coronavirus disease (COVID-19) questions and answers (general). Geneva, Switzerland. Retrieved 19 May 2022 from https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสาธารณสุข