การประเมินผลการดำเนินงานโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงด้วย“ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี” จังหวัดสิงห์บุรี โดยใช้ CIPP Model

ผู้แต่ง

  • ก่อศักดิ์ จันทรวิจิตร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรี

คำสำคัญ:

ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี, โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, CIPP Model

บทคัดย่อ

             การวิจัยเชิงประเมินผล ( Evaluation Research) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการและกำหนดแนวทางการพัฒนากระบวนการทำงาน เฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วย“ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี”จังหวัดสิงห์บุรี (Vichai 7 Color Model) ของ ศ.พิเศษ ดร.นพ.วิชัย  เทียนถาวร โดยใช้แบบจำลองซิป (CIPP Model)  กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ระดับจังหวัด อำเภอ  ตำบล  เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และข้อมูลทุติยภูมิจาก Health Data Center, Chronic Link Program วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 – เดือนพฤษภาคม 2566

             ผลการวิจัยพบว่า จังหวัดสิงห์บุรีดำเนินงานโครงการฯและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2555 จนถึงปัจจุบัน จากการสัมภาษณ์ผู้บริหาร และสอบถามความคิดเห็นผู้ปฏิบัติงาน เพื่อประเมินผลการดำเนินงาน ด้านบริบท มีการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ แผนฏิบัติราชการประจำปี จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับหน่วยงานในสังกัด มีระบบติดตามประเมินผล ชัดเจน ด้านปัจจัยนำเข้า เครือข่ายบริการสุขภาพ สนับสนุน บุคลากร  งบประมาณ  วัสดุอุปกรณ์ ให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อย่างเพียงพอ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ด้านกระบวนการ กำหนดเป้าหมายคัดกรองโรคในประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ร้อยละ 90  พัฒนาศักยภาพบุคลากร  พัฒนาระบบบริการโดยคณะกรรมการ Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ เชื่อมโยงกับระบบบริการ 3 หมอ บูรณาการงานกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ด้านผลลัพธ์ อัตราอุบัติการณ์ โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มลดลง อัตราการควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีและควบคุมความดันโลหิตได้ดี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และสัดส่วนการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพิ่มมากขึ้น แนวทางพัฒนากระบวนการทำงาน คือ สร้างและพัฒนาศักยภาพบุคลากรรุ่นใหม่ เพิ่มการรับรู้ให้กับประชาชน  นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการและระบบฐานข้อมูล  สร้างชุมชนต้นแบบและขยายผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น

References

Arsasana,J.,Bouphan,P.,Jutarosaga,M., Prompinij,T. (2023). Administrative Factors and Key Success Factor Affeccting The Performance of Family Care Team in Maung District Udonthani Province. KKU Research Journal (Graduate Studies),23(2),184-197.(In Thai)

Bauriboon,V. (2012). A Guideline of Development for Prevention and Control of Diabetes and Hypertension in Singburi Province. Journal of Preventive Medicine Association of Thailand,6(01),17-28. (In Thai)

Best, J.,& Kahn, J. V. (1993). Research in Education. 7 th ed. Boston: Allyn and Bacon.

Bureau of Policy & Strategy Ministry of Health (2012). Public Health statistic 2012.Nontaburi. WVO officer of Printing Mill. (In Thai)

Chokprasombut,T.(2023). The problems and conditions of health supervisors at the provincial level in Chumphon Provincial Health Office.Journal of Community Public Health,9(02),119-129.(In Thai)

Deming, W. Edwards (1986). Out of the Crisis. MIT Press.

Jamnongrat,N.(2021).Information Technology and Local Public Health. Journal of Human societies,11 (02),17-28.(In Thai)

Jongmeesi,S.,Prasit,N.,Phimha,S.,Senahad,N.,Kongsrima,S.,Thammawongsa,P.,et al.(2023). Administrative Factors and Key Success Factors Affecting Tuberculosis Control Performance of Health Personnel at Sub-District Health Promoting Hospitals in Kalasin Province.Regional Health Promotion Center 9 Journal,7(3),994-1010. (In Thai)

Michalski, A. (2011). The McKinsey 7-S Framework: Invented in the 1980s and Still a Possibility for Success Today. Munich: GRIN.

Pengchan,W. and Thanasukarn,C.(2018).Concepts and principles of well-rounded organizations in health.

Nonthaburi: Department of Health 4.0 Driving Project Office, Department of Health, Ministry of Public Health.(In Thai)

Phuvasunti,S,,Suwannawong,Y.(2021).The Study of Opportunities for Development in Health Information Technology System to Support the Public Health and Medical Operation of Saraburi Province.

Institute for Urban Disease Control and Prevention Journal, 6(01),125-151.(In Thai)

Sadtrakulwatana,V.(2018). The Development of A Chronic Diseases Clinic Model (Diabetes, Hypertension) in Primary Health Care Units, Mueang District, Sing Buri Province. Journal of Preventive Medicine Association of Thailand,8(01),24-36. (In Thai)

Singburi Health Office. (2012). Documents for the 2nd round of government inspection 2012, Sing Buri Province (photocopy) (In Thai)

Sontong,N.,Kunarattanapruk,K. (2011). Effect of Oral Health Promotion by using the Deming Cycle at Child Development Center,Pochai Municipality, Phaom Phrai District,Roiet Province.Mahasakham Hospital Journal,7 (3),18-23.(In Thai)

Srisaat,S. (2010). Preliminary research principles. Bangkok: Suwiriyasas. (In Thai)

Stufflebeam, D.L., et al. (1971) Educational Evaluation and Decision – Making, Illinois : Peacock Publishers., Inc.

Tienthavorn,V.(2013). Surveillance, control and prevention system of DM and HT in Thailand: Policy to action.3th ed.Nonthaburi Province:The Ministry of Public Health (In Thai)

World Health Organization (2020). Global action plan for the prevention and control of non-communicable disease 2013-2020. Geneva: WHO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30