ผลของการฝึก respiratory muscle stretch gymnastic และการฝึกโยคะ ต่อระดับความทนทานต่อการออกกำลังกาย ระดับความเครียดและค่าสมรรถภาพปอด ในผู้หญิงอายุ 18 – 25 ปี

Main Article Content

สุวัฒน์ จิตรดำรงค์
จินตนา ตันหยง
ภาณุวัฒน์ ตั้งพูลเจริญ
ปณัฏฐา อ่านคำเพ็ชร
พริมโรส โชคบุญธิยานนท์
รุ่งรวิน เงินมีศรี

บทคัดย่อ

ที่มาและความสำคัญ: การยืดกล้ามเนื้อรอบทรวงอกด้วยเทคนิค Respiratory Muscle Stretch Gymnastic  (RMSG) และการฝึกโยคะ เป็นการออกกำลังกายที่สามารถเพิ่มสมรรถภาพปอดและช่วยลดความเครียด แต่ยังไม่มีการศึกษาผลของการฝึกโยคะร่วมกับ RMSG ต่อระดับความเครียดและความทนทานในการออกกำลังกาย


วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบระดับความเครียด ความทนทานต่อการออกกำลังกาย และสมรรถภาพปอด หลังการฝึกระยะเวลา 8 สัปดาห์ โดยเปรียบเทียบภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม ในกลุ่มฝึกโยคะ กลุ่มการฝึกการยืดกล้ามเนื้อรอบทรวงอกด้วยเทคนิค RMSG กลุ่มการฝึกร่วมระหว่างโยคะและ RMSG และกลุ่มควบคุม


วิธีการวิจัย: ผู้เข้าร่วมวิจัยเพศหญิง จำนวน 58 คน อายุ 18 ถึง 25 ปี ได้รับการแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มฝึกโยคะ กลุ่มฝึก RMSG กลุ่มฝึกโยคะร่วมกับ RMSG และ กลุ่มควบคุม ผู้เข้าร่วมวิจัยได้รับการประเมิน ระดับความเครียดด้วยแบบประเมินความเครียดสวนปรุง ประเมินสมรรถภาพปอดได้แก่ค่า ปริมาตรของอากาศที่เป่าออกอย่างเร็วแรงจนหมด หลังจากหายใจเข้าเต็มที่ (Forced vital capacity), ปริมาตรของอากาศที่เป่าออกอย่างเร็วแรงในวินาทีที่ 1 (Forced expiratory volume at 1st second), และ อัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุด (Peak expiratory flow rate) และประเมินระดับการใช้ออกซิเจนสูงสุดในช่วงก่อนและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ 8


ผลการวิจัย: ในสัปดาห์ที่ 4 ค่าระดับความเครียดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มฝึกโยคะร่วมกับการฝึก RMSG  เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มการฝึกโยคะ การฝึก RMSG และกลุ่มควบคุม


สรุปผล: การฝึกโยคะร่วมกับการฝึก RMSG สามารถช่วยละระดับความเครียดได้ดีกว่าการฝึกโยคะหรือการฝึก RMSG เพียงอย่างเดียว

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

จินตนา ตันหยง, คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สาขากายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ภาณุวัฒน์ ตั้งพูลเจริญ, คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สาขากายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรนครินทรวิโรฒ

ปณัฏฐา อ่านคำเพ็ชร, คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สาขากายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

พริมโรส โชคบุญธิยานนท์, คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สาขากายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

รุ่งรวิน เงินมีศรี, คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สาขากายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

References

Powell TJ. Free yourself from harmful stress. 1, editor. New York: DK Publisher; 1997.

Shier D. Hole’s human anatomy & physiology. 13, editor. New York; Bangkok: McGraw-Hill; 2013.

Power SK. Exercise physiology: theory and application to fitness and performance. 8th, editor. Howley E.T. New York: McGraw-Hill; 2012.

Yamada M, Shibuya M, Kanamaru A, Tanaga K, SuZuki H, Altose MD, et al. Benefits of Respiratory Muscle Stretch Gymnastic in Chronic Respiratory Disease. Showa Univ J Med Sci. 1996;8(1):63-71.

Ito M, Kakizaki F, Tsuzura Y, Yamada M. Immediate effect of Respiratory Muscle Stretch Gymnastics and Diaphragmatic Breathing on Respiratory Pattern. Intern Med. 1999;38(2):126-32.

Minoguchi H, Shibuya M, Miyagawa T, Kokubu F,Yamada M, Tanaga T, et al. Cross-over comparison Between Respiratory Muscle Stretch Gymnastics and Inspiratory muscle training. Intern Med. 2002;41(10):805-12.

Aida N, Shibuya M, Yoshino K, Komoda M, Inoue T. Respiratory muscle stretch gymnastics in patients with post coronary artery bypass grafting pain: impact on respiratory muscle function, activity, mood and exercise capacity. J Med Dent Sci. 2002;49(4): 157-70.

Christy X, Dhanaraj S. Effect of Yogasana practices on VO2max among school girls. Inter J of Yoga, Physiother. 2017;2(4):68-9.

Poopattayakorn A, Pichairat D. The effects of Basic Yoga on the Physical Fitness and Stress of Student Nurses of Boromrajonnani College of Nursing, Trang. Princess of Naradhiwas Univ J. 2011;3(2):15-28.

Yadav RK, Das S. Effect of Yogic on pulmonary functions in young females. Indian J Physio Pharmaco. 2001;45(4):493-6.

Doijad V, Kamble P, Surdi A. Effect of Yogic Exercises on Aerobic Capacity (VO2max). Int J Physiol. 2013;1(2):47–50.

Karmur K, Joshi V, Padalia M, Sarvaiya J. Effect of ten weeks yoga practice on pulmonary function tests. Int J Biomed Adv Res. 2015; 6(09):682-5.

Godoy DD, Bringhenti RL, Severa A, Gasperi RD, Poli LV. Yoga versus aerobic activity: effects on spirometry results. J Bras Pneumol. 2006; 32(2):130-5.

Dinesh T, Gaur GS, Sharma VK, Madanmohan T, Harichandra KT, Bhavanani AB. Comparative effect of 12 weeks of slow and fast pranayama training on pulmonary function in young, healthy volunteers: A randomized controlled trial. Int J Yoga. 2015 Jan-Jun; 8(1): 22–6.

Mahatnirunkul S, Pumpaisanchai W, Tapanya P. Suanprung stress test. J Suanprung Psychiatr hospital. 1997; 13(3): 1-20.

Agnihotri S, Kant S, Kumar S, Mishra RK, Mishra SK. The assessment of effects of yoga on pulmonary functions in asthmatic patients: A randomized controlled study. J Med Soc. 2016; 30:98-102.

Toyodera M, Masaoka Y, Akai L, Hanaoka K, Ono S, Izumizaki M, et al. Effects of Respiratory Muscle Stretch Gymnastics on Childrenʼs Emotional Responses. Showa Univ J Med Sci. 2013; 25(3):171-9.

Jiwtode MT, Mahajan M. Effect of duration of yoga training on pulmonary function tests and respiratory pressures in sedentary healthy adult population of Nagpur. J Med Sci. 2016; 9(2):79-83.

Ganesh BR, Goud A. Short term effects of respiratory muscle stretch gymnastics versus

hold relax PNF on pulmonary functions and chest expansion in elderly individuals-a randomized clinical trial. Int J Appl Res. 2017; 3(7):1018-22.