ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้และทักษะการปฏิบัติบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลประตูป่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
คำสำคัญ:
ความรู้, ทักษะการปฏิบัติบทบาท , โปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม , อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อน หลัง และระยะติดตามผลหลังเข้าร่วมโปรแกรมมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้และทักษะการปฏิบัติบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในตำบลประตูป่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 30 คน คัดเลือกแบบเจาะจง การเข้าร่วมโปรแกรม ประกอบด้วยการทดสอบและประเมินก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (สัปดาห์ที่ 1) หลังจากนั้นให้กลุ่มตัวอย่าง เข้าร่วมกิจกรรม 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 กิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสะท้อนคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติ บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ครั้งที่ 2 สอนและทดลองปฏิบัติโดยการสาธิตย้อนกลับ ครั้งที่ 3 กิจกรรมสรุปความคิดรวบยอด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการเรียนรู้แบบ มีส่วนร่วม แบบทดสอบความรู้ และแบบประเมินทักษะการปฏิบัติบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน McNemar, Chi - square และ One - way repeated measure ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม (สัปดาห์ที่ 3 และ 8) พบว่า ระดับความรู้ของอาสาสมัครสาธารณสุขก่อนเข้าร่วมโปรแกรม หลังเข้าร่วมโปรแกรม และระยะติดตามผลไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนระดับ ทักษะการปฏิบัติบทบาทระหว่างก่อนเข้าร่วมโปรแกรม กับหลังเข้าร่วมโปรแกรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้และทักษะการปฏิบัติบทบาทของ อาสาสมัครสาธารณสุขก่อนเข้าร่วมโปรแกรม หลังเข้าร่วมโปรแกรม และระยะติดตามผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)
ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการจัดอบรมให้ความรู้และทักษะการปฏิบัติบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขโดยใช้โปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาสร้างศักยภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชนต่อไป
References
Design and Construction Division, Department of Health Service Support, Standard and Design. Guideline Primary Care Unit 2015. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2015. (in Thai)
Yaebkai Y. Wongsawat P. Main role performances of village health volunteers. Journal of Phrapokklao Nursing College 2020;31(2):269-79.
Department of Disease Control. Noncommunicable diseases Report; DM HT and relevant factors A.D. 2019. Bangkok: Aksorn Graphic and Design Publishing Limited Partnership; 2020. (in Thai)
Strategy and Planning Division, Ministry of Ministry of Public Health. Public health statistics A.D. 2020. Nonthaburi: Office of Policy and Strategy, Bureau of Ministry of Public Health; 2021. (in Thai)
Chuengsatiansup K, Suksut P. Health volunteers in the context of changes: potentials and developmental strategies. Nonthaburi: Office of Policy and Strategy, Bureau of Ministry of Public Health; 2009. (in Thai)
Sanprasan P, Wattradul D, Jamsomboon K, Puapairoj V, Techangkul L, Yuyuen Y. Effects of health volunteer’s capacity building based on participating learning program on knowledge and skill of caring patients with cardiovascular disease and a risk group of cardiovascular disease. Thai J Cardio-Thorac Nurs 2015;26(1):119-32. (in Thai)
Wicha P. Effectiveness of implementing participatory learning program of breast self-examination among inmate volunteers in Chiangmai woman correctional institution [Thesis]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2013. (in Thai)
Division of Non-Communicable Disease, Lamphun Provincial Health Office. Number of Non-Communicable Disease, Lamphun province A.D. 2012-2014: NCDs Statistics in Pratupa Sub-District Health Promoting Hospital [Report]. Lamphun: Lamphun Provincial Health Office; 2014. (in Thai)
Lamphun Provincial Health Office. Tuberculosis prevention and control surveillance report, Lamphun province [Report]. Lamphun: Lamphun Provincial Health Office; 2019. (in Thai)
Petmaneechote K, Pongpumma L, Arunkeeree A, Taowalanon P. Effectiveness of participatory learning program on knowledge and practice of village health volunteers for taking care of hypertension patients. Nursing Journal of the Ministry of Public Health 2021;31(3):28-41. (in Thai)
Department of Mental Health. Participatory learning curriculums [Internet]. 2000 [cited 2015 Dec 22]. Available from: http://mhtech.dmh.moph.go.th/techno/techno_other/ index.html. (in Thai)
Department of Health Service Support. Standardized training curriculums for village health volunteers A.D. 2012. Nonthaburi: Primary Health Care Division, Ministry of Public Health; 2012. (in Thai)
Srisatidnarakul B. The methodology in nursing research. 6th ed. Bangkok: U&I Intermedia; 2012. (in Thai)
Jiemjuejun W, Kanjanawetang J, Hoontrakul D, Prachanban P. The Effects of the participatory learning program on knowledge and health behaviors of using NSAIDs among labour. Journal of Nursing and Health Sciences 2011;5(2):34-44. (in Thai)
Department of Mental Health. Participatory learning management guideline. 4th ed. Bangkok: Wongkamol Production; 2001. (in Thai)
Srikhrueadam P, Lapvongwatana P, Chansatitporn N. Effects of capacity building for breast self-examination of female health volunteers in Surin’s communities. J Pub Health Nurs 2013;27(3):71–82. (in Thai)
Khammani T. Education science: knowledge for efficiently learning. 21st ed. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2017. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาบทความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ ในวารสารพยาบาลสภากาชาดไทยนี้ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ หรือสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย