ผลของการใช้โปรแกรมการทำงานเป็นทีมเพื่อป้องกันความผิดพลาดต่อประสิทธิผลของงานในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ปิยนุช หัตถปนิตย์ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด โรงพยาบาลอุดรธานี
  • วีกุญญา ลือเลื่อง กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

การใช้โปรแกรมการทำงานเป็นทีม, ป้องกันความผิดพลาด, ประสิทธิผลของงาน

บทคัดย่อ

 

          การวิจัยก่อนทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการทำงานเป็นทีมเพื่อป้องกันความผิดพลาดในห้องผ่าตัดและศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการทำงานเป็นทีมเพื่อป้องกันความผิดพลาดต่อประสิทธิผลของงานห้องผ่าตัด กลุ่มประชากรคือ พยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด โรงพยาบาลอุดรธานี จำนวน 60 คนระหว่างเดือนเมษายน - มิถุนายน พ.ศ. 2562 เครื่องมือที่ใช้วิจัยได้แก่ โปรแกรมการทำงานเป็นทีมเพื่อป้องกันความผิดพลาดในห้องผ่าตัด แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามประสิทธิผลของงานเกี่ยวกับการบรรลุ  ผลงานตามเป้าหมาย แบบบันทึกอุบัติการณ์เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดกับผู้ป่วย แบบสังเกตการณ์การปฏิบัติบทบาทของพยาบาล (หัวหน้าห้องผ่าตัด/พยาบาลผู้ปฏิบัติงาน) และแบบสอบถามความพึงพอใจของบุคลากร ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเชื่อมั่น โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ 0.83 และ 0.86 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบบันทึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบประสิทธิผลของโปรแกรมโดยใช้สถิติอนุมาน คือ paired samples T - test

          ผลการวิจัยพบว่า หลังการใช้โปรแกรมการทำงานเป็นทีมเพื่อป้องกันความผิดพลาดในห้องผ่าตัด พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยประสิทธิผลของงานเกี่ยวกับการบรรลุผลงานตามเป้าหมาย ( = 4.07, SD = 0.60)  สูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรม ( = 3.87, SD = 0.61) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ไม่พบอุบัติการณ์เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดกับผู้ป่วย จากการสังเกตพบว่า ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม พยาบาลแสดงบทบาท การปฏิบัติตามบทบาทของตนเอง (ร้อยละ 100.00 ) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (ร้อยละ 98.60 ) คะแนนเฉลี่ย   ความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานหลังการใช้โปรแกรมการทำงานเป็นทีมเพื่อป้องกันความผิดพลาดในห้องผ่าตัดอยู่ในระดับมาก ( = 4.20, SD = 0.68)

          ผลจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ควรส่งเสริมการทำงานเป็นทีม นำขั้นตอนการทำงานเป็นทีมของห้องผ่าตัดไปใช้ในการฝึกปฏิบัติงานแก่บุคลากรใหม่ เพื่อพัฒนาคุณภาพงานบริการห้องผ่าตัดต่อไป

References

จุฑารัตน์ ภูมูลนา. การพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์อย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน: Smart Medical Services; 2566. ออนไลน์ [2566 มีนาคม 29]. สืบค้นจาก: https://wiki.ocsc.go.th › จุฑารัตน์_ภูมูลนา.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือมาตรฐานระบบบริการสุขภาพ ปี พ.ศ. 2563 (ฉบับส่งเสริมและพัฒนาสถานพยาบาล); 2563. ออนไลน์ [2566 มีนาคม 29]. สืบค้นจาก: https://hss.moph.go.th› fileupload_doc_slider

รุ่งทิวา พิมพ์สักกะ. มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 4 และการกำกับดูแลวิชาชีพด้านการพยาบาล; 2562. ออนไลน์ [2566 มีนาคม 29]. สืบค้นจาก: http://wachira.ppho.go.th› knowledge_file

โรงพยาบาลสตูล. 2P Safety goals SIMPLES; 2562. ออนไลน์ [2566 มีนาคม 29]. สืบค้นจาก: http://rmis.satunhospital.com› form

Association of periOperative Nurses (AORN) 4 Small Changes to Improve Workplace Safety. 2019. (accessed on 19 December 2022). Available online: https://www.aorn.org/article/2019-11-13-Workplace-Safety

World Health Organization. Safe Surgery Saves Lives The Second Global Patient Safety Challenge [Internet]. 2012. [Cited 2020 May 5]. Available from: https://www.who.int/patientsafe-ty/safesurgery/knowledge_base/SSSL_Brochure_ finalJun08.pdf

ศิริพร ประลันย์. ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการทำงานเป็นทีมต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยในห้องผ่าตัดศัลยกรรม โรงพยาบาลนครพนม; 2564. ออนไลน์ [2566 มีนาคม 29]. สืบค้นจาก: https:/ict.nkphospital.go.th› nkph › category

กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. บทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ; 2561. ออนไลน์ [2566 มีนาคม 29]. สืบค้นจาก: http://nurse.npru.ac.th› system

กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยห้องผ่าตัดโรงพยาบาลอุดรธานี. เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลอุดรธานี 2566. อุดรธานี: การประชุมทีมบริหารความเสี่ยงประจำเดือนของห้องผ่าตัด 2566 โรงพยาบาลอุดรธานี. 2566.

Chen, X-P., Donahue, LM., Klimoski, RI. How strong are your Teamwork Competencies In Kinicki, A and Kreitner, R.(eds). Organizational Behavior key concepts, skills & best practice. New York McGraw-Hill; 2004 p 232 -241.

Kwan B, Frankish J, Rootman I. The development and validation of measures of health literacy in different populations. Vancouver: Centre for Population Health Promotion Research. 2006. (accessed on 19 December 2022). Available online: www.ihpr.ubc.ca.

Baker DW, Wolf MS, Feinglass J, Thompson JA, Gazmararian JA, Huang J. Health literacy and mortality among elderly persons. Arch Intern Med. 2007 Jul 23; 167(14): 1503-9.

Kreitner, R. Kinicki, A. Essentials of Organizational Behavior. New Jersey: Pearson Prentice Hall; 2003.

นาฏยา สุวรรณศิลป์. การทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของทีมงาน:กรณีศึกษากลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์; 2561. ออนไลน์ [2566 มีนาคม 29]. สืบค้นจาก:http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/ 123456789/3364

สาหร่าย จันสา. อิทธิพลของการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและการทำงานเป็นทีมต่อการจัดการด้านความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลรัฐบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร.วารสารพยาบาลทหารบก 2560; 18 (ฉบับพิเศษ): 229-307.

ประยูร จำปาปี, วีณา อิศรางกูร ณ อยุธยา, ชนะพล ศรีฤาชา. ประสิทธิผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดเพื่อความปลอดภัยและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดในโรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2566; 20(1). ออนไลน์ [2566 มีนาคม 29]. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/260881

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31