ประสิทธิผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด เพื่อความปลอดภัยและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ในโรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ประยูร จำปาปี -
  • วีณา อิศรางกูร ณ อยุธยา
  • ชนะพล ศรีฤาชา

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, สมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด, ความปลอดภัยจากการผ่าตัด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดเพื่อความปลอดภัยและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดของพยาบาลห้องผ่าตัดโรงพยาบาลมหาสารคาม

รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One group pretest-posttest designs) กลุ่มตัวอย่าง คือพยาบาลวิชาชีพ ห้องผ่าตัดที่ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด ปี 2565 คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 32 คน เครื่องมือการวิจัยมี 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เครื่องมือที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้ การรับรู้ ความคาดหวังในผลลัพธ์ การปฏิบัติการพยาบาล และความพึงพอใจต่อโปรแกรมที่ได้รับ ส่วนที่ 2 เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย
1. โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดเพื่อความปลอดภัยและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ซึ่งผู้วิจัยนำมาจากสมาคมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย 2554 และทฤษฎีการเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตน มีกิจกรรมดังนี้ 1)ส่งเสริมความรู้สัปดาห์ที่ 1-3 , 2. กิจกรรมส่งเสริมการรับรู้และความคาดหวังในผลลัพธ์สัปดาห์ที่4-6 , 3. กิจกรรมส่งเสริมการฝึกทักษะปฏิบัติในการแสดงพฤติกรรมที่ถูกต้องสัปดาห์ที่ 7-9 และ 4. กิจกรรมส่งเสริมกำลังใจและสร้างความมั่นใจ สัปดาห์ที่ 10-12 ใช้ระยะเวลาทั้งหมด 12 สัปดาห์  2) คู่มือการให้ความรู้ เก็บข้อมูลตั้งแต่ 15 กรกฎาคม 2565 ถึง 15 ตุลาคม 2565 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยสถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการศึกษา : พบว่าหลังให้โปรแกรม กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนน การรับรู้ ความคาดหวังในผลลัพธ์ การปฏิบัติ และความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรม สูงกว่าก่อนให้โปแกรมฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001)
ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมนี้ช่วยส่งเสริมพยาบาลให้มีสมรรถนะด้านการพยาบาลห้องผ่าตัดเพื่อความปลอดภัยและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดดีขึ้น จึงควรนำไปใช้ในการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลในสาขาอื่นต่อไป

References

วิไลภรณ์ พุทธรักษา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศูนย์ ภาคตะวันออก. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2560;23(4): 577-588.

บุศรินทร์ จงใจสุรธรรม. การปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลห้องผ่าตัดที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้สูงอายุ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต (การพยาบาล ผู้ใหญ่). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2558.

Recommended Practices for Traffic Patterns in the Perioperative Practice Setting. AORN J. 2006 Mar;83(3):681–6.

สมาคมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย. สมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด: Perioperative Nurse Competencies. กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร, 2554.

งานเวชระเบียน โรงพยาบาลมหาสารคาม. สถิติผู้ป่วยผ่าตัด. มหาสารคาม: โรงพยาบาล. 2565.

สุภิดา สุวรรณพันธ์และคณะ. สมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดและปฏิบัติบริการพยาบาลที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาล โรงพยาบาลร้อยเอ็ด.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2563;38(3):61-71.

AORN. Standards, Recommended practices and guide line Denver: Association of Operating Room Nurses. 2006.

Moskowitz ,M. C.Fire in the operating room during opened heart surgery: A case report. AANA Journal. 2009;77(4):261-264.

บังอร ศรีสงคราม. ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ความรู้สำหรับพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย ที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าด้วยการส่องกล้อง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดโรงพยาบาลขอนแก่น.[วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 2564.

Bandura, A. Self-efficacy: The exercise of control. Page 22. New York: W.H. Freeman, 1997.

ชูชาติ ฝั้นเต็ม. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ของอาสาสมัครสาธารณสุขในการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่ระดับตำบล ของจังหวัดอุตรดิตถ์. [วิทยานิพนธ์]. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 2565.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 1970;30(3):607-610.

Bloom,Benjamin S.,et al. Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company. 1971.

Likert, Rensis. The Method of Constructing and Attitude Scale. Attitude Theory and Measurement. Fishbeic, Martin, Ed. New York: Wiley & Son. 1967.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. 1977. “On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity” Dutch Journal of Educational Research 1977;(2):49-60.

เสาวนีย์ วงษ์พัชรวรากูล. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของพยาบาลวิชาชีพกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2561

ปราณี มีหาญพงษ์, และกรรณิการ์ ฉัตรดอกไม้ไพร.การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัย ทางการ พยาบาล.วารสารพยาบาลทหารบก. 2561;19(1):10-13.

นพวรรณ กฤตยภูษิตพจน์. ผลของการใช้โปรแกรมการสอนงานสำหรับพยาบาลที่ปฏิบัติงานห้อง ผ่าตัดโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี.มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร. 2564;5(1):1-12.

กัญจน์ชยารัตน์ อุดคำมี, พรธิดา ชื่นบาน, ลักษณา จันทราโยธากร. ผลของการใช้เทคนิคการ สอนงานพยาบาลวิชาชีพในการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วย เพื่อความปลอดภัยในการ ผ่าตัด. วารสารโรงพยาบาลแพร่, 2563;28(2): 1-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-24